(8 พ.ย.) ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้เผยแพร่เอกสารผลการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 รับคำร้องของ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ยื่นเรื่องผ่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตามมาตรา 68 ว่า นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา นายนิคม ไวยรัชพาณิช รองประธานรัฐสภา และรัฐสภา ที่กระทำการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมรัฐสภา
นอกจากนี้ ยังมีการแก้ไขเนื้อหาในรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรคสอง มีความมุ่งหมายที่จะจำกัดอำนาจของรัฐสภา ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบการทำหนังสือสัญญาของฝ่ายบริหารให้ลดน้อยลง รวมทั้งเป็นการเพิ่มอำนาจให้ฝ่ายบริหารในการทำหนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาให้มากกว่าเดิม จึงถือว่าเป็นการกระทำเพื่อซึ่งอำนาจในการปกครองโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามรัฐธรารมนูญ
ทั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่ากรณีมีมูลเป็นการกระทำเพื่อซึ่งอำนาจในการปกครองโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคหนึ่ง จึงมีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณา ส่วนคำขอคุ้มครองชั่วคราวเป็นกรณีฉุกเฉินให้ยกคำร้อง
ขณะที่ตุลาการเสียงข้างน้อย คือ นายบุญส่ง กุลบุปผา เห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี เห็นว่า กรณีนี้ยังไม่มีมูลการกระทำฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคหนึ่ง และนายชัช ชลวร เห็นว่ารัฐธรรมนูญมุ่งประสงค์ให้เฉพาะอัยการสูงสุดเท่านั้น เป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรงตามมาตรา 68
นอกจากนี้ ยังมีการแก้ไขเนื้อหาในรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรคสอง มีความมุ่งหมายที่จะจำกัดอำนาจของรัฐสภา ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบการทำหนังสือสัญญาของฝ่ายบริหารให้ลดน้อยลง รวมทั้งเป็นการเพิ่มอำนาจให้ฝ่ายบริหารในการทำหนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาให้มากกว่าเดิม จึงถือว่าเป็นการกระทำเพื่อซึ่งอำนาจในการปกครองโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามรัฐธรารมนูญ
ทั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่ากรณีมีมูลเป็นการกระทำเพื่อซึ่งอำนาจในการปกครองโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคหนึ่ง จึงมีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณา ส่วนคำขอคุ้มครองชั่วคราวเป็นกรณีฉุกเฉินให้ยกคำร้อง
ขณะที่ตุลาการเสียงข้างน้อย คือ นายบุญส่ง กุลบุปผา เห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี เห็นว่า กรณีนี้ยังไม่มีมูลการกระทำฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคหนึ่ง และนายชัช ชลวร เห็นว่ารัฐธรรมนูญมุ่งประสงค์ให้เฉพาะอัยการสูงสุดเท่านั้น เป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรงตามมาตรา 68