สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ (เอ็นเอสเอ) หน่วยงานรับผิดชอบเรื่องการสอดแนมอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาลอเมริกัน ได้แอบปฏิบัติการดักจับสัญญาณจากศูนย์ข้อมูลต่างๆ ในทั่วโลกของ กูเกิล และยาฮู ทั้งนี้ตามรายงานของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์เมื่อวันพุธ (30 ต.ค.)
วอชิงตันโพสต์ซึ่งอ้างเอกสารลับที่นำออกมาเปิดโปงโดย “จอมแฉ” เอดเวิร์ด สโนว์เดน บวกกับการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่หลายๆ ราย รายงานว่า เอ็นเอสเอร่วมกับ จีซีเอชคิว ที่เป็นหน่วยงานความมั่นคงของอังกฤษ ได้แอบแฮกศูนย์ข้อมูลทั่วโลกของยาฮูและกูเกิล ภายใต้โปรแกรมที่ใช้ชื่อว่า “มัสคูลาร์” (MUSCULAR) ซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลจากเครือข่ายใยแก้วนำแสงที่บริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ของอเมริกา 2 รายนี้ใช้อยู่ได้โดยตรง
รายงานยังระบุว่า โปรแกรมมัสคูลาร์นี้ต่างจาก “ปริซึม” (PRISM) ซึ่งเป็นโปรแกรมสอดแนมระบบอิเล็กทรอนิกส์ของเอ็นเอสเอที่สโนว์เดนเคยเปิดโปงไว้ตั้งแต่เมื่อหลายเดือนที่แล้ว ตรงที่ปรึซึมต้องอาศัยคำสั่งศาลเพื่อเข้าถึงข้อมูลของบริษัทไฮเทค
ทั้งนี้จากเอกสารที่วอชิงตันโพสต์นำมาอ้างอิงบ่งบอกให้เห็นว่า การสอดแนมตามโปรแกรมมัสคูลาร์ เป็นการปฏิบัติการนอกสหรัฐฯ โดยที่มีผู้ให้บริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมซึ่งไม่มีการระบุนามรายหนึ่งเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ เนื่องจากเป็นการแอบดักฟังนอกอเมริกา เอ็นเอสอีจึงไม่ต้องร้องขอคำสั่งศาลก่อน
หลังจากข่าวนี้แพร่ออกมา สองยักษ์ใหญ่อินเทอร์เน็ตต่างแสดงความไม่พอใจ โดยที่ เดวิด ดรัมมอนด์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของกูเกิลบอกว่า บริษัทไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมเช่นนี้ และนี่เป็นเหตุผลที่ทำให้กูเกิลใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อเข้ารหัสบริการและลิงก์ต่างๆ ของกูเกิลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกันนี้ข่าวนี้ก็ยิ่งตอกย้ำความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการปฏิรูปปฏิบัติการข่าวกรองของรัฐบาล
ส่วนยาฮูออกคำแถลงว่า บริษัทได้พยายามใช้มาตรการควบคุมอันเข้มงวดมาปกป้องความปลอดภัยของศูนย์ข้อมูลของตน และไม่ได้ยินยอมให้เอ็นเอสเอหรือหน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ เข้าถึงศูนย์ข้อมูลเหล่านี้
วอชิงตันโพสต์ซึ่งอ้างเอกสารลับที่นำออกมาเปิดโปงโดย “จอมแฉ” เอดเวิร์ด สโนว์เดน บวกกับการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่หลายๆ ราย รายงานว่า เอ็นเอสเอร่วมกับ จีซีเอชคิว ที่เป็นหน่วยงานความมั่นคงของอังกฤษ ได้แอบแฮกศูนย์ข้อมูลทั่วโลกของยาฮูและกูเกิล ภายใต้โปรแกรมที่ใช้ชื่อว่า “มัสคูลาร์” (MUSCULAR) ซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลจากเครือข่ายใยแก้วนำแสงที่บริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ของอเมริกา 2 รายนี้ใช้อยู่ได้โดยตรง
รายงานยังระบุว่า โปรแกรมมัสคูลาร์นี้ต่างจาก “ปริซึม” (PRISM) ซึ่งเป็นโปรแกรมสอดแนมระบบอิเล็กทรอนิกส์ของเอ็นเอสเอที่สโนว์เดนเคยเปิดโปงไว้ตั้งแต่เมื่อหลายเดือนที่แล้ว ตรงที่ปรึซึมต้องอาศัยคำสั่งศาลเพื่อเข้าถึงข้อมูลของบริษัทไฮเทค
ทั้งนี้จากเอกสารที่วอชิงตันโพสต์นำมาอ้างอิงบ่งบอกให้เห็นว่า การสอดแนมตามโปรแกรมมัสคูลาร์ เป็นการปฏิบัติการนอกสหรัฐฯ โดยที่มีผู้ให้บริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมซึ่งไม่มีการระบุนามรายหนึ่งเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ เนื่องจากเป็นการแอบดักฟังนอกอเมริกา เอ็นเอสอีจึงไม่ต้องร้องขอคำสั่งศาลก่อน
หลังจากข่าวนี้แพร่ออกมา สองยักษ์ใหญ่อินเทอร์เน็ตต่างแสดงความไม่พอใจ โดยที่ เดวิด ดรัมมอนด์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของกูเกิลบอกว่า บริษัทไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมเช่นนี้ และนี่เป็นเหตุผลที่ทำให้กูเกิลใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อเข้ารหัสบริการและลิงก์ต่างๆ ของกูเกิลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกันนี้ข่าวนี้ก็ยิ่งตอกย้ำความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการปฏิรูปปฏิบัติการข่าวกรองของรัฐบาล
ส่วนยาฮูออกคำแถลงว่า บริษัทได้พยายามใช้มาตรการควบคุมอันเข้มงวดมาปกป้องความปลอดภัยของศูนย์ข้อมูลของตน และไม่ได้ยินยอมให้เอ็นเอสเอหรือหน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ เข้าถึงศูนย์ข้อมูลเหล่านี้