จีน ไทย มาเลเซีย รวมถึงอินโดนีเซีย เรียกร้องอเมริกาและพันธมิตรให้ความกระจ่าง หลังมีรายงานว่า สถานเอกอัครราชทูตของสหรัฐฯและของออสเตรเลียในเอเชีย ถูกใช้เป็นศูนย์สอดแนมดักฟังการติดต่อสื่อสารระบบอิเล็กทรอนิกส์
ความวัวยังไม่ทันหาย ความควายเข้ามาเล่นงานแดนอินทรี เพราะนอกจากยังแก้ตัวไม่ขึ้นเรื่องดักฟังโทรศัพท์ของผู้นำชาติต่างๆ รวม 35 ชาติแล้ว นิตยสารแดร์ ชปีเกล ของเยอรมนี ยังแฉซ้ำด้วยการเสนอรายงานข่าวในวันอังคาร (29 ต.ค.) ซึ่งอ้างอิงเอกสารลับที่ เอดเวิร์ด สโนว์เดน นำออกมาเปิดโปง พูดถึงโปรแกรมสอดแนมที่ใช้ชื่อรหัสว่า “สเตทรูม” (STATEROOM) โดยมีการใช้สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลของสหรัฐฯทั่วโลกเป็นสถานที่ในการปฏิบัติการใช้โปรแกรมดักจับสัญญาณวิทยุ, โทรคมนาคม, และอินเทอร์เน็ตนี้ ไม่เพียงเท่านั้น สถานเอกอัครราชทูตและสำนักงานการทูตของอีก 4 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย, อังกฤษ, แคนาดา, นิวซีแลนด์ ซึ่งจับมือเป็นพันธมิตรทางด้านข่าวกรองกับสหรัฐฯ โดยขนานนามว่า “ไฟฟ์ อายส์” (Five Eyes) ก็มีการปฏิบัติการดักฟังด้วยโปรแกรมนี้เช่นกัน
ภายหลังรายงานข่าวเหล่านี้แพร่ออกไป หลายชาติเอเชียก็ได้ออกมาแสดงความไม่พอใจ มาร์ตี นาตาเลกาวา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย ออกคำแถลงในวันพุธ (30 ต.ค.) ระบุว่า อินโดนีเซียรับไม่ได้และคัดค้านอย่างรุนแรงต่อการติดตั้งอุปกรณ์ดักฟังในสถานเอกอัครราชทูตอเมริกันประจำจาการ์ตา ซึ่งหากเป็นจริง จะถือเป็นการละเมิดความมั่นคง บรรทัดฐานและจรรยาบรรณทางการทูต รวมทั้งจิตวิญญาณของมิตรภาพระหว่างประเทศ
ขณะที่ หวา ชุนอิง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนแถลงในวันพฤหัสบดี (31 ต.ค.) ว่า ปักกิ่งกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับรายงานนี้ และเรียกร้องให้ประเทศที่มีรายชื่อในข่าวชี้แจงข้อเท็จจริง
ทางด้าน อาหมัด ซาฮิด ฮามิดี รัฐมนตรีมหาดไทยมาเลเซียกล่าวว่า รัฐบาลกังวลอย่างมากกับรายงานนี้ และจะสอบสวนว่า สถานเอกอัครราชทูตอเมริกันในกัวลาลัมเปอร์ถูกใช้เป็นศูนย์จารกรรมจริงหรือไม่ ขณะที่ฝ่ายค้านแดนเสือเหลืองเรียกร้องให้รัฐบาลยื่นเอกสารประท้วงต่อสถานทูตอเมริกันและออสเตรเลีย
สำหรับไทย พลโทภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงระบุว่า รัฐบาลไทยแจ้งกับอเมริกาว่า การสอดแนมเข้าข่ายผิดกฎหมายของไทย และไทยจะไม่ให้ความร่วมมือหากได้รับการร้องขอให้ช่วยในการดักฟัง
อย่างไรก็ดี พลโทภราดรไม่เชื่อว่า สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียมีความสามารถในการดำเนินการสอดแนมที่ต้องใช้เทคโนโลยีซับซ้อนได้
ความวัวยังไม่ทันหาย ความควายเข้ามาเล่นงานแดนอินทรี เพราะนอกจากยังแก้ตัวไม่ขึ้นเรื่องดักฟังโทรศัพท์ของผู้นำชาติต่างๆ รวม 35 ชาติแล้ว นิตยสารแดร์ ชปีเกล ของเยอรมนี ยังแฉซ้ำด้วยการเสนอรายงานข่าวในวันอังคาร (29 ต.ค.) ซึ่งอ้างอิงเอกสารลับที่ เอดเวิร์ด สโนว์เดน นำออกมาเปิดโปง พูดถึงโปรแกรมสอดแนมที่ใช้ชื่อรหัสว่า “สเตทรูม” (STATEROOM) โดยมีการใช้สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลของสหรัฐฯทั่วโลกเป็นสถานที่ในการปฏิบัติการใช้โปรแกรมดักจับสัญญาณวิทยุ, โทรคมนาคม, และอินเทอร์เน็ตนี้ ไม่เพียงเท่านั้น สถานเอกอัครราชทูตและสำนักงานการทูตของอีก 4 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย, อังกฤษ, แคนาดา, นิวซีแลนด์ ซึ่งจับมือเป็นพันธมิตรทางด้านข่าวกรองกับสหรัฐฯ โดยขนานนามว่า “ไฟฟ์ อายส์” (Five Eyes) ก็มีการปฏิบัติการดักฟังด้วยโปรแกรมนี้เช่นกัน
ภายหลังรายงานข่าวเหล่านี้แพร่ออกไป หลายชาติเอเชียก็ได้ออกมาแสดงความไม่พอใจ มาร์ตี นาตาเลกาวา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย ออกคำแถลงในวันพุธ (30 ต.ค.) ระบุว่า อินโดนีเซียรับไม่ได้และคัดค้านอย่างรุนแรงต่อการติดตั้งอุปกรณ์ดักฟังในสถานเอกอัครราชทูตอเมริกันประจำจาการ์ตา ซึ่งหากเป็นจริง จะถือเป็นการละเมิดความมั่นคง บรรทัดฐานและจรรยาบรรณทางการทูต รวมทั้งจิตวิญญาณของมิตรภาพระหว่างประเทศ
ขณะที่ หวา ชุนอิง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนแถลงในวันพฤหัสบดี (31 ต.ค.) ว่า ปักกิ่งกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับรายงานนี้ และเรียกร้องให้ประเทศที่มีรายชื่อในข่าวชี้แจงข้อเท็จจริง
ทางด้าน อาหมัด ซาฮิด ฮามิดี รัฐมนตรีมหาดไทยมาเลเซียกล่าวว่า รัฐบาลกังวลอย่างมากกับรายงานนี้ และจะสอบสวนว่า สถานเอกอัครราชทูตอเมริกันในกัวลาลัมเปอร์ถูกใช้เป็นศูนย์จารกรรมจริงหรือไม่ ขณะที่ฝ่ายค้านแดนเสือเหลืองเรียกร้องให้รัฐบาลยื่นเอกสารประท้วงต่อสถานทูตอเมริกันและออสเตรเลีย
สำหรับไทย พลโทภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงระบุว่า รัฐบาลไทยแจ้งกับอเมริกาว่า การสอดแนมเข้าข่ายผิดกฎหมายของไทย และไทยจะไม่ให้ความร่วมมือหากได้รับการร้องขอให้ช่วยในการดักฟัง
อย่างไรก็ดี พลโทภราดรไม่เชื่อว่า สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียมีความสามารถในการดำเนินการสอดแนมที่ต้องใช้เทคโนโลยีซับซ้อนได้