สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ (TDRI) ประมวลสำรวจการสำรวจเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันของหลายสถาบัน พบว่านักลงทุนชาวต่างชาติกังวลปัญหาทุจริตคอร์รัปชันของไทยมากที่สุด โดยการสำรวจของเวิลด์อีโคโนมิกฟอรัม (World Economic Forum : WEF) ปี 2556 พบว่า ดัชนีชี้วัดปัญหาคอร์รัปชันไทยอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก ซึ่งมาตรฐานจริยธรรมของนักการเมืองเป็นปัญหามากที่สุดของไทย โดยอยู่ในลำดับที่ 127 จาก 148 ประเทศ รองลงมา เป็นปัญหาความน่าเชื่อถือ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ประสิทธิภาพการใช้จ่ายภาครัฐ และงบประมาณภาครัฐ ไปตกอยู่ที่กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ขณะที่โดยภาพรวม อันดับคอร์รัปชันไทย ยังคงอยู่ในอันดับที่ 37
ปัญหาคอร์รัปชัน ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ประเมินว่า สร้างความเสียหายให้กับประเทศประมาณปีละ 100,000 ล้านบาท และช่วงระหว่างปี 2550-2555 ประเทศไทย ต้องสูญเสียเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ 6,000 ล้านบาท
ขณะที่ในวันพรุ่งนี้ (1 พ.ย.) องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน จะยื่นแถลงการณ์ให้กับสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เพื่อให้สังคมนานาชาติรับรู้ว่า สมาชิกภาคธุรกิจ การเงิน และการลงทุน รวมทั้งภาคประชาชนของไทย ให้ความสนใจอย่างมากต่อการต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชันในประเทศ พร้อมทั้งเป็นการแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ในประเด็นการนิรโทษกรรมคดีคอร์รัปชัน เนื่องจากมีคดีทุจริตหลายคดีที่มีโอกาสได้รับการนิรโทษกรรมด้วย อาทิ คดีปล่อยกู้ธนาคารกรุงไทย และคดีจัดซื้อรถและเรือดับเพลิง
ปัญหาคอร์รัปชัน ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ประเมินว่า สร้างความเสียหายให้กับประเทศประมาณปีละ 100,000 ล้านบาท และช่วงระหว่างปี 2550-2555 ประเทศไทย ต้องสูญเสียเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ 6,000 ล้านบาท
ขณะที่ในวันพรุ่งนี้ (1 พ.ย.) องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน จะยื่นแถลงการณ์ให้กับสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เพื่อให้สังคมนานาชาติรับรู้ว่า สมาชิกภาคธุรกิจ การเงิน และการลงทุน รวมทั้งภาคประชาชนของไทย ให้ความสนใจอย่างมากต่อการต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชันในประเทศ พร้อมทั้งเป็นการแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ในประเด็นการนิรโทษกรรมคดีคอร์รัปชัน เนื่องจากมีคดีทุจริตหลายคดีที่มีโอกาสได้รับการนิรโทษกรรมด้วย อาทิ คดีปล่อยกู้ธนาคารกรุงไทย และคดีจัดซื้อรถและเรือดับเพลิง