นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า จากการที่หอมแดงซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญสำหรับเกษตรกรภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กำลังจะถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว และมีผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงเดือนธันวาคมถึงมีนาคม จึงเห็นความจำเป็นที่ต้องดูแลเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงให้ได้รับความเป็นธรรมด้านราคา
นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า จากการติดตามข้อมูลการนำเข้าหอมแดงตั้งแต่ต้นปี 2556 ถึงปัจจุบันมีปริมาณมากกว่า 15,000 ตัน และพบว่าส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าหอมหัวใหญ่แดง ซึ่งควรนำเข้าภายใต้พิกัดของหอมหัวใหญ่ที่จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 142 จึงจำเป็นจะต้องกำกับดูแลป้องกันไม่ให้หอมหัวใหญ่แดงนำเข้ามีต้นทุนต่ำกว่าความเป็นจริง และเข้ามาแทนที่หรือแข่งขันกับหอมแดงของไทยในราคาที่ต่ำกว่าได้
ส่วนการดูแลเกษตรกรนั้น จะมีการกำหนดมาตรการจัดระเบียบการนำเข้า โดยให้ผู้นำเข้ายื่นแผนการนำเข้าประกอบการยื่นขอหนังสือรับรองการนำเข้าจากกรมการค้าต่างประเทศก่อนการนำเข้า เพื่อใช้แสดงต่อกรมศุลกากรประกอบการนำเข้า รวมถึงดูแลกำหนดให้การนำเข้าหอมแดง เพื่อการบริโภคไม่สามารถนำมาขยายพันธุ์ต่อได้ เนื่องจากจะมีผลกระทบต่อผลผลิตของประเทศในเชิงปริมาณ
ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศจะเร่งดำเนินการให้มาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้โดยเร็วที่สุด และอาจมีการดำเนินมาตรการลักษณะเดียวกันกับสินค้ากระเทียมด้วย โดยในปี 2556 ไทยมีพื้นที่เพาะปลูกหอมแดงรวมทั้งประเทศ 102,060 ไร่ เนื้อที่ เก็บเกี่ยว 100,861 ไร่ ผลผลิตรวม 215,033 ตัน และผลผลิตต่อไร่ 2,107 กิโลกรัม โดยมีแหล่งผลิตหอมแดงที่สำคัญ ได้แก่ จ.ศรีสะเกษ เชียงใหม่ ลำพูน และเพชรบูรณ์
นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า จากการติดตามข้อมูลการนำเข้าหอมแดงตั้งแต่ต้นปี 2556 ถึงปัจจุบันมีปริมาณมากกว่า 15,000 ตัน และพบว่าส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าหอมหัวใหญ่แดง ซึ่งควรนำเข้าภายใต้พิกัดของหอมหัวใหญ่ที่จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 142 จึงจำเป็นจะต้องกำกับดูแลป้องกันไม่ให้หอมหัวใหญ่แดงนำเข้ามีต้นทุนต่ำกว่าความเป็นจริง และเข้ามาแทนที่หรือแข่งขันกับหอมแดงของไทยในราคาที่ต่ำกว่าได้
ส่วนการดูแลเกษตรกรนั้น จะมีการกำหนดมาตรการจัดระเบียบการนำเข้า โดยให้ผู้นำเข้ายื่นแผนการนำเข้าประกอบการยื่นขอหนังสือรับรองการนำเข้าจากกรมการค้าต่างประเทศก่อนการนำเข้า เพื่อใช้แสดงต่อกรมศุลกากรประกอบการนำเข้า รวมถึงดูแลกำหนดให้การนำเข้าหอมแดง เพื่อการบริโภคไม่สามารถนำมาขยายพันธุ์ต่อได้ เนื่องจากจะมีผลกระทบต่อผลผลิตของประเทศในเชิงปริมาณ
ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศจะเร่งดำเนินการให้มาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้โดยเร็วที่สุด และอาจมีการดำเนินมาตรการลักษณะเดียวกันกับสินค้ากระเทียมด้วย โดยในปี 2556 ไทยมีพื้นที่เพาะปลูกหอมแดงรวมทั้งประเทศ 102,060 ไร่ เนื้อที่ เก็บเกี่ยว 100,861 ไร่ ผลผลิตรวม 215,033 ตัน และผลผลิตต่อไร่ 2,107 กิโลกรัม โดยมีแหล่งผลิตหอมแดงที่สำคัญ ได้แก่ จ.ศรีสะเกษ เชียงใหม่ ลำพูน และเพชรบูรณ์