นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค.ปรับลดประมาณการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย หรือ จีดีพี ปีนี้ลง จากเป้าหมายเดิมที่คาดว่าจะเติบโตได้ร้อยละ 4.5 เหลือร้อยละ 3.7 หรืออยู่ในกรอบร้อยละ 3.5-4.0 หากต้องการผลักดันให้เติบโตสูงกว่าร้อยละ 4 ต้องอาศัยหลายปัจจัย เช่น การส่งออก การลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายภาครัฐ ซึ่งต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายของภาครัฐในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปีนี้ ซึ่งเป็นช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 ให้เป็นไปตามแผนและมาตรการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ แม้ว่าร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 จะล่าช้าก็ตาม
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกชะลอลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน มีแนวโน้มชะลอตัวลงหลังจากที่เร่งขึ้นมากในช่วงก่อนหน้า โดยคาดการณ์ว่าการบริโภคภาคเอกชนปีนี้จะอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ส่วนการลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ขณะที่การลงทุนภาครัฐคาดว่าจะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปีนี้ โดยคาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 12.3 ตามการใช้จ่ายในงบประมาณของรัฐบาลส่วนกลางและการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่ยังเบิกจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง
สำหรับการส่งออกคาดว่าจะเติบโตในอัตราที่เร่งขึ้น เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากการส่งออกด้านบริการที่จะขยายตัวตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเกือบทุกภูมิภาค โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกทั้งปีจะอยู่ที่ร้อยละ 1.8 หรือคิดเป็นมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้น สศค.ประเมินการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 5.1 หรืออยู่ในกรอบร้อยละ 4.6-5.6 โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักมาจากการใช้จ่ายภาคเอกชนที่มีแนวโน้มเร่งขึ้น การส่งออกที่ฟื้นตัว และแรงกระตุ้นจากการลงทุนภาครัฐที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามการเบิกจ่ายเม็ดเงินลงทุนในโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ที่คาดว่าจะเริ่มเบิกจ่ายได้ในปี 2557 รวมทั้งเศรษฐกิจกลุ่มประเทศคู่ค้าที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งจะเป็นผลดีต่อภาคส่งออกและบริการของไทย ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำจะช่วยสนับสนุนให้การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้
ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลต่อการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปีหน้า ยังคงมาจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ที่ส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนผันผวนของไทย ภัยธรรมชาติ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในบางอุตสาหกรรม รวมทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ ที่จะเป็นไปตามเป้าหมายมากน้อยแค่ไหน
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกชะลอลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน มีแนวโน้มชะลอตัวลงหลังจากที่เร่งขึ้นมากในช่วงก่อนหน้า โดยคาดการณ์ว่าการบริโภคภาคเอกชนปีนี้จะอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ส่วนการลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ขณะที่การลงทุนภาครัฐคาดว่าจะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปีนี้ โดยคาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 12.3 ตามการใช้จ่ายในงบประมาณของรัฐบาลส่วนกลางและการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่ยังเบิกจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง
สำหรับการส่งออกคาดว่าจะเติบโตในอัตราที่เร่งขึ้น เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากการส่งออกด้านบริการที่จะขยายตัวตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเกือบทุกภูมิภาค โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกทั้งปีจะอยู่ที่ร้อยละ 1.8 หรือคิดเป็นมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้น สศค.ประเมินการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 5.1 หรืออยู่ในกรอบร้อยละ 4.6-5.6 โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักมาจากการใช้จ่ายภาคเอกชนที่มีแนวโน้มเร่งขึ้น การส่งออกที่ฟื้นตัว และแรงกระตุ้นจากการลงทุนภาครัฐที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามการเบิกจ่ายเม็ดเงินลงทุนในโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ที่คาดว่าจะเริ่มเบิกจ่ายได้ในปี 2557 รวมทั้งเศรษฐกิจกลุ่มประเทศคู่ค้าที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งจะเป็นผลดีต่อภาคส่งออกและบริการของไทย ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำจะช่วยสนับสนุนให้การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้
ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลต่อการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปีหน้า ยังคงมาจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ที่ส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนผันผวนของไทย ภัยธรรมชาติ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในบางอุตสาหกรรม รวมทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ ที่จะเป็นไปตามเป้าหมายมากน้อยแค่ไหน