ในการประชุมวุฒิสภา ที่มีนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา เป็นประธาน ได้ดำเนินกระบวนการถอดถอนนพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และนายไกรสร พรสุธี ปลัดกระทรวงไอซีที ออกจากตำแหน่งตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นำโดยนายภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการไต่สวนคดีการอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ (ฉบับที่5) โดยมิชอบ ได้มาแถลงเปิดสำนวนตามรายงานการชี้มูลความผิดและความเห็นในคดีดังกล่าวของ ป.ป.ช .
ขณะที่นายสุรพงษ์ และนายไกรสร ผู้ถูกกล่าวหา ได้คัดค้านการแถลงเปิดสำนวนดังกล่าว โดยนายสุรพงษ์ ได้ชี้แจงว่า ยืนยันว่าไม่ใช่การแก้ไขสัญญาสัมปทานเพื่อลดการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐ แต่กลับทำให้รัฐได้ประโยชน์ จัดเก็บรายได้ได้มากขึ้น หากเทียบกับทุกประเทศทั่วโลก ประเทศไทยถือว่ามีรายได้จากการเก็บค่าสัมปทานเป็นอันดับต้นๆ
อย่างไรก็ตาม ตนขอคัดค้านนายภักดี ที่เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวนฯ ถือว่าไม่ชอบ เนื่องจากคุณสมบัติขัดต่อกฎหมายและระเบียบการเป็นกรรมการ ป.ป.ช. เพราะไม่ได้ลาออกจากกรรมการในบริษัทเอกชน จึงถือว่าท่านไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช.มาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว จึงอยากให้ทางวุฒิสภาส่งเรื่องกลับไปยัง ป.ป.ช.เพราะจะถือว่ากระบวนการถอดถอนไม่ชอบ
จากนั้น ประธานในที่ประชุมได้นัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 23 กันยายน เพื่อให้สมาชิกได้ซักถามคู่กรณี พร้อมทั้งกำหนดการลงมติถอดถอนในช่วงระหว่างวันที่ 30 กันยายน - 1 ตุลาคม โดยขอความร่วมมือ ส.ว.เคลียร์ภารกิจการเดินทางไปต่างประเทศช่วงดังกล่าว เพื่อเข้าร่วมลงมติ ซึ่งจะได้กำหนดวันที่ชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง
ขณะที่นายสุรพงษ์ และนายไกรสร ผู้ถูกกล่าวหา ได้คัดค้านการแถลงเปิดสำนวนดังกล่าว โดยนายสุรพงษ์ ได้ชี้แจงว่า ยืนยันว่าไม่ใช่การแก้ไขสัญญาสัมปทานเพื่อลดการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐ แต่กลับทำให้รัฐได้ประโยชน์ จัดเก็บรายได้ได้มากขึ้น หากเทียบกับทุกประเทศทั่วโลก ประเทศไทยถือว่ามีรายได้จากการเก็บค่าสัมปทานเป็นอันดับต้นๆ
อย่างไรก็ตาม ตนขอคัดค้านนายภักดี ที่เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวนฯ ถือว่าไม่ชอบ เนื่องจากคุณสมบัติขัดต่อกฎหมายและระเบียบการเป็นกรรมการ ป.ป.ช. เพราะไม่ได้ลาออกจากกรรมการในบริษัทเอกชน จึงถือว่าท่านไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช.มาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว จึงอยากให้ทางวุฒิสภาส่งเรื่องกลับไปยัง ป.ป.ช.เพราะจะถือว่ากระบวนการถอดถอนไม่ชอบ
จากนั้น ประธานในที่ประชุมได้นัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 23 กันยายน เพื่อให้สมาชิกได้ซักถามคู่กรณี พร้อมทั้งกำหนดการลงมติถอดถอนในช่วงระหว่างวันที่ 30 กันยายน - 1 ตุลาคม โดยขอความร่วมมือ ส.ว.เคลียร์ภารกิจการเดินทางไปต่างประเทศช่วงดังกล่าว เพื่อเข้าร่วมลงมติ ซึ่งจะได้กำหนดวันที่ชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง