เภสัชกรหญิง วิมล สุวรรณเกษาวงษ์ นักวิชาการจากกองแผนงานและวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. เปิดเผยในงานเสวนาเรื่อง "ยาสามัญมั่นใจได้" ในงานประชุมวิชาการสาธารณสุขประจำปีว่า ที่ผ่านมาผู้ป่วยร้องเรียนปัญหาการใช้ยา ทำให้ อย. สามารถติดตามตรวจสอบ และแจ้งเตือนประชาชนได้ แต่การจัดระบบเฝ้าระวังยังไม่ดีพอ ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากการกินยาอยู่
โดยแต่ละปีจะพบว่ามียามาตรฐานร้อยละ 10 ต่อปี ที่ใช้แบบผิดมาตรฐาน จึงมีการเสนอให้มีการปรับระบบใหม่ในการตรวจสอบยา เช่น การตรวจสอบกลุ่มยาอื่นที่ไม่ใช่ยาในกลุ่มบัญชียาหลัก และเป็นที่นิยม ตรวจสอบยาชนิดอื่นเพิ่มจากโรงพยาบาลที่มีการนำเสนอ
เบื้องต้นได้มีการจัดทำข้อมูลยาผ่านระบบออนไลน์ บรรจุอยู่ไว้ในเว็บไซต์ของ อย. เพื่อให้โรงพยาบาลและประชาชนได้มีการตรวจสอบข้อมูล ข้อควรระวังในการใช้ยา ก่อนจะมีการสั่งซื้อหรือบริโภค
นอกจากนี้ นักเภสัชพันธุศาสตร์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เสนอให้นำพันธุกรรมของมนุษย์มาใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบการใช้ยาก่อนบริโภค เนื่องจากผลการศึกษาตรวจพบยีนของมนุษย์ได้ก่อน จะช่วยลดโอกาสการเกิดผลกระทบ และอาการข้างเคียงจากการใช้ยาเพื่อรักษาโรค เช่น ภาวะข้างเคียงจากผิวหนังขั้นรุนแรง ถ้ารู้โครงสร้างทางพันธุกรรมได้ก่อน ก็จะจัดยาได้ถูกกับโรค และลดการแพ้ยา และภาวะแพ้ยาขั้นรุนแรง
โดยแต่ละปีจะพบว่ามียามาตรฐานร้อยละ 10 ต่อปี ที่ใช้แบบผิดมาตรฐาน จึงมีการเสนอให้มีการปรับระบบใหม่ในการตรวจสอบยา เช่น การตรวจสอบกลุ่มยาอื่นที่ไม่ใช่ยาในกลุ่มบัญชียาหลัก และเป็นที่นิยม ตรวจสอบยาชนิดอื่นเพิ่มจากโรงพยาบาลที่มีการนำเสนอ
เบื้องต้นได้มีการจัดทำข้อมูลยาผ่านระบบออนไลน์ บรรจุอยู่ไว้ในเว็บไซต์ของ อย. เพื่อให้โรงพยาบาลและประชาชนได้มีการตรวจสอบข้อมูล ข้อควรระวังในการใช้ยา ก่อนจะมีการสั่งซื้อหรือบริโภค
นอกจากนี้ นักเภสัชพันธุศาสตร์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เสนอให้นำพันธุกรรมของมนุษย์มาใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบการใช้ยาก่อนบริโภค เนื่องจากผลการศึกษาตรวจพบยีนของมนุษย์ได้ก่อน จะช่วยลดโอกาสการเกิดผลกระทบ และอาการข้างเคียงจากการใช้ยาเพื่อรักษาโรค เช่น ภาวะข้างเคียงจากผิวหนังขั้นรุนแรง ถ้ารู้โครงสร้างทางพันธุกรรมได้ก่อน ก็จะจัดยาได้ถูกกับโรค และลดการแพ้ยา และภาวะแพ้ยาขั้นรุนแรง