นายโอฬาร ไชยประวัติ ประธานผู้แทนการค้าไทยและที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนา AEC & FTAs : Thailand Opportunity and Challenges เรื่องยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทยฝ่ากระแสเศรษฐกิจโลก ว่า ยุทธศาสตร์สำคัญของรัฐบาลคือ ดำเนินการเจรจาการค้าเสรี (เอฟทีเอ) เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการค้าของทั้งไทยและประเทศคู่ค้า และนโยบายลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ทั้ง 2 ยุทธศาสตร์จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยใน 5-10 ปีข้างหน้า
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ไทยมีการทำเอฟทีเอสินค้าเกษตรกับประเทศจีน อาทิ ข้าวหอมมะลิ แม้จะจำหน่ายราคาประมาณ 375 บาทต่อถุง 5 กิโลกรัม ขณะที่ไทยจำหน่ายอยู่ที่ราคาประมาณ 170 บาทต่อถุง 5 กิโลกรัม แต่คนจีนยังให้ความสนใจซื้อจำนวนมาก โดยราคาสูงขึ้นร้อยละ 50-60 เป็นต้นทุนค่าขนส่ง ดังนั้นไทยต้องเร่งพัฒนาระบบขนส่งทางถนน เพื่อให้การขนส่งสินค้าเกษตรไปยังจีนตอนใต้สะดวก ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งให้ลดลง
อย่างไรก็ตาม มองว่าสภาฯ ควรเร่งพิจารณาผ่านร่าง พ.ร.บ.ลงทุน 2 ล้านล้านบาทให้ผ่านโดยเร็ว เพื่อให้การดำเนินการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเดินหน้าได้ ขณะที่ภาคเอกชนจะต้องปรับตัวและวางแผนด้านการขนส่งสินค้า เพราะในอนาคตไทยจะมีการขนส่งสินค้าไปจำหน่ายยังประเทศจีน และอินเดียในปริมาณสูงขึ้น
นายโอฬาร กล่าวถึงการแก้ไขปัญหายางพาราว่า วันพรุ่งนี้ (6 ก.ย.) นายกรัฐมนตรีและคณะเตรียมเดินทางไปเจรจากับรัฐบาลจีนให้รับซื้อยางพาราของไทยกว่า 1 ล้านตัน รวมถึงการเจรจาดึงนักลงทุนจีนเข้ามาตั้งโรงงานผลิตสินค้าผลิตภัณฑ์จากยางพารา เพื่อให้มีการรับซื้อยางพาราเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้า จะทำให้เพิ่มความต้องการใช้ยางพาราในประเทศให้สูงขึ้น
นายโอฬาร กล่าวต่อไปว่า กรณีธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เตรียมประชุมเกี่ยวกับการลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) วันที่ 17-18 กันยายนนี้ หากมีการลดเงินอัดฉีดเข้าสู่ระบบจริง อาจส่งผลให้ดัชนีราคาหุ้นไทยปรับลดลงจากการเทขายของชาวต่างชาติ จึงเป็นโอกาสดีต่อนักลงทุนไทยกลับเข้ามาซื้อหุ้นราคาถูก และยังส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่า ส่งผลดีต่อภาคการส่งออกในช่วงปลายปี แต่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะต้องดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ เพื่อรักษาสมดุลในการนำเข้าและส่งออกของไทย
ด้านนายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งออกทางเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สภาผู้ส่งออกทางเรือฯ คาดว่า การส่งออกทั้งปีขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 3 โดยต้องส่งออกให้ได้ประมาณ 21,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน และควรเร่งผลักดันการส่งออกมาในแถบกลุ่มอาเซียน และการค้าตามแนวชายแดน เพราะยังมีกำลังซื้อทดแทน จีน และญี่ปุ่น ขณะที่ตลาดสหรัฐฯ เริ่มดีขึ้นบ้างแล้ว แต่ขอให้ค่าเงินเคลื่อนไหวประมาณ 32 บาทต่อดอลาร์สหรัฐ
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า การส่งออกไตรมาส 3 ยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดี แต่จะชะลอลงในช่วงปลายปี และปัจจัยเสี่ยงหลายด้านยังมีโอกาสให้เป้าหมายหลุดกรอบลงได้ ทั้งเหตุการณ์ในซีเรีย และเศรษฐกิจโลกที่เปราะบาง หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ออกมาส่งสัญญาณให้สหรัฐชะลอลดมาตรการคิวอี แบบเฉียบพลัน เพื่อไม่ให้กระทบเศรษฐกิจโลกมากเกินไป
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ไทยมีการทำเอฟทีเอสินค้าเกษตรกับประเทศจีน อาทิ ข้าวหอมมะลิ แม้จะจำหน่ายราคาประมาณ 375 บาทต่อถุง 5 กิโลกรัม ขณะที่ไทยจำหน่ายอยู่ที่ราคาประมาณ 170 บาทต่อถุง 5 กิโลกรัม แต่คนจีนยังให้ความสนใจซื้อจำนวนมาก โดยราคาสูงขึ้นร้อยละ 50-60 เป็นต้นทุนค่าขนส่ง ดังนั้นไทยต้องเร่งพัฒนาระบบขนส่งทางถนน เพื่อให้การขนส่งสินค้าเกษตรไปยังจีนตอนใต้สะดวก ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งให้ลดลง
อย่างไรก็ตาม มองว่าสภาฯ ควรเร่งพิจารณาผ่านร่าง พ.ร.บ.ลงทุน 2 ล้านล้านบาทให้ผ่านโดยเร็ว เพื่อให้การดำเนินการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเดินหน้าได้ ขณะที่ภาคเอกชนจะต้องปรับตัวและวางแผนด้านการขนส่งสินค้า เพราะในอนาคตไทยจะมีการขนส่งสินค้าไปจำหน่ายยังประเทศจีน และอินเดียในปริมาณสูงขึ้น
นายโอฬาร กล่าวถึงการแก้ไขปัญหายางพาราว่า วันพรุ่งนี้ (6 ก.ย.) นายกรัฐมนตรีและคณะเตรียมเดินทางไปเจรจากับรัฐบาลจีนให้รับซื้อยางพาราของไทยกว่า 1 ล้านตัน รวมถึงการเจรจาดึงนักลงทุนจีนเข้ามาตั้งโรงงานผลิตสินค้าผลิตภัณฑ์จากยางพารา เพื่อให้มีการรับซื้อยางพาราเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้า จะทำให้เพิ่มความต้องการใช้ยางพาราในประเทศให้สูงขึ้น
นายโอฬาร กล่าวต่อไปว่า กรณีธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เตรียมประชุมเกี่ยวกับการลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) วันที่ 17-18 กันยายนนี้ หากมีการลดเงินอัดฉีดเข้าสู่ระบบจริง อาจส่งผลให้ดัชนีราคาหุ้นไทยปรับลดลงจากการเทขายของชาวต่างชาติ จึงเป็นโอกาสดีต่อนักลงทุนไทยกลับเข้ามาซื้อหุ้นราคาถูก และยังส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่า ส่งผลดีต่อภาคการส่งออกในช่วงปลายปี แต่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะต้องดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ เพื่อรักษาสมดุลในการนำเข้าและส่งออกของไทย
ด้านนายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งออกทางเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สภาผู้ส่งออกทางเรือฯ คาดว่า การส่งออกทั้งปีขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 3 โดยต้องส่งออกให้ได้ประมาณ 21,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน และควรเร่งผลักดันการส่งออกมาในแถบกลุ่มอาเซียน และการค้าตามแนวชายแดน เพราะยังมีกำลังซื้อทดแทน จีน และญี่ปุ่น ขณะที่ตลาดสหรัฐฯ เริ่มดีขึ้นบ้างแล้ว แต่ขอให้ค่าเงินเคลื่อนไหวประมาณ 32 บาทต่อดอลาร์สหรัฐ
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า การส่งออกไตรมาส 3 ยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดี แต่จะชะลอลงในช่วงปลายปี และปัจจัยเสี่ยงหลายด้านยังมีโอกาสให้เป้าหมายหลุดกรอบลงได้ ทั้งเหตุการณ์ในซีเรีย และเศรษฐกิจโลกที่เปราะบาง หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ออกมาส่งสัญญาณให้สหรัฐชะลอลดมาตรการคิวอี แบบเฉียบพลัน เพื่อไม่ให้กระทบเศรษฐกิจโลกมากเกินไป