น.พ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ในช่วงฤดูฝน สภาพอากาศชื้น เย็น เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส ที่น่าห่วง คือ โรคไข้หวัดนกสายพันธุ์เอช5เอ็น1 (H5N1) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นในสัตว์ปีก และสามารถติดต่อมาสู่คนได้ โดย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า แม้ไทยจะไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อไข้หวัดนก ตั้งแต่ พ.ศ.2549 เป็นต้นมา แต่จากการประเมินความเสี่ยงของไทยต่อการระบาดของโรคไข้วัดนก สายพันธุ์เอช5เอ็น1 พบว่า อาจจะมีความเป็นไปได้ที่โรคอาจจะแพร่ระบาดเข้ามาในประเทศไทย เนื่องจากที่ประเทศกัมพูชายังพบผู้ป่วยต่อเนื่อง โดยเฉพาะตามแนวชายแดน ผ่านทางการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก โดยเฉพาะไก่ชน เนื่องจากเป็นสัตว์ปีกที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนที่สุด รวมทั้งการเดินทางไปมาของประชาชนนอกจากนี้ ยังอาจติดต่อผ่านทางนกธรรมชาติได้อีกด้วย
ทั้งนี้ ได้ให้กรมควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เน้นหนักจังหวัดที่เคยพบสัตว์ปีกหรือคนติดเชื้อไข้หวัดนก รวมทั้งจังหวัดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ได้แก่ ตราด สระแก้ว จันทบุรี บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ และอุบลราชธานี คงมาตรการเฝ้าระวังอย่างเข้มข้น ร่วมกับ สำนักงานปศุสัตว์ ทั้งในคนและสัตว์ปีก ครอบคลุมระดับหมู่บ้าน และโรงพยาบาล เพื่อตรวจจับโรคที่รวดเร็วนอกเหนือจากมาตรการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคที่ดำเนินการตามปกติ
ทางด้าน น.พ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า องค์การอนามัยโลก รายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดนกสายพันธุ์เอช5เอ็น1 ในปี 2556 ยังพบมีการติดเชื้อต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคม–19 กรกฎาคม 2556 ทั่วโลกมีรายงานพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไข้หวัดนกใน 6 ประเทศ ทั้งหมดอยู่ในเอเชีย ได้แก่ อียิปต์ บังกลาเทศ จีน กัมพูชา เวียดนาม และอินโดนีเซีย มีผู้ป่วย 24 ราย เสียชีวิต 17 ราย ล่าสุด มีรายงานที่กัมพูชา เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2556 รวมสถานการณ์ในปีนี้ พบผู้ป่วยมากที่สุดที่กัมพูชา จำนวน 14 ราย เสียชีวิต 9 ราย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า แม้ไทยจะไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อไข้หวัดนก ตั้งแต่ พ.ศ.2549 เป็นต้นมา แต่จากการประเมินความเสี่ยงของไทยต่อการระบาดของโรคไข้วัดนก สายพันธุ์เอช5เอ็น1 พบว่า อาจจะมีความเป็นไปได้ที่โรคอาจจะแพร่ระบาดเข้ามาในประเทศไทย เนื่องจากที่ประเทศกัมพูชายังพบผู้ป่วยต่อเนื่อง โดยเฉพาะตามแนวชายแดน ผ่านทางการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก โดยเฉพาะไก่ชน เนื่องจากเป็นสัตว์ปีกที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนที่สุด รวมทั้งการเดินทางไปมาของประชาชนนอกจากนี้ ยังอาจติดต่อผ่านทางนกธรรมชาติได้อีกด้วย
ทั้งนี้ ได้ให้กรมควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เน้นหนักจังหวัดที่เคยพบสัตว์ปีกหรือคนติดเชื้อไข้หวัดนก รวมทั้งจังหวัดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ได้แก่ ตราด สระแก้ว จันทบุรี บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ และอุบลราชธานี คงมาตรการเฝ้าระวังอย่างเข้มข้น ร่วมกับ สำนักงานปศุสัตว์ ทั้งในคนและสัตว์ปีก ครอบคลุมระดับหมู่บ้าน และโรงพยาบาล เพื่อตรวจจับโรคที่รวดเร็วนอกเหนือจากมาตรการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคที่ดำเนินการตามปกติ
ทางด้าน น.พ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า องค์การอนามัยโลก รายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดนกสายพันธุ์เอช5เอ็น1 ในปี 2556 ยังพบมีการติดเชื้อต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคม–19 กรกฎาคม 2556 ทั่วโลกมีรายงานพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไข้หวัดนกใน 6 ประเทศ ทั้งหมดอยู่ในเอเชีย ได้แก่ อียิปต์ บังกลาเทศ จีน กัมพูชา เวียดนาม และอินโดนีเซีย มีผู้ป่วย 24 ราย เสียชีวิต 17 ราย ล่าสุด มีรายงานที่กัมพูชา เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2556 รวมสถานการณ์ในปีนี้ พบผู้ป่วยมากที่สุดที่กัมพูชา จำนวน 14 ราย เสียชีวิต 9 ราย