นายกิตติ ตันเจริญ ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ ว่า มีปริมาณน้ำในอ่างฯ ทุกแห่งรวม 35,667 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 58 ของความจุ ณ วันที่ 21 สิงหาคมนี้ โดยเพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนกรกฎาคม 2,742 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่เขื่อนใหญ่ของ กฟผ. 4 แห่ง ในภาคเหนือและภาคตะวันตก ได้แก่ เขื่อนภูมิพล รองลงมา คือ เขื่อนวชิราลงกรณ เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนศรีนครินทร์ ยังคงมีปริมาณน้ำน้อยกว่าปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกัน ส่วนเขื่อนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีน้ำในอ่างฯ ดีขึ้น สำหรับเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ได้รับน้ำเพิ่มจากอิทธิพลทางอ้อมของพายุที่เคลื่อนขึ้นฝั่งที่ประเทศเวียดนามและจีน ทั้งสามลูกเพียงเล็กน้อย การบริหารจัดการน้ำยังต้องควบคุมให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัด โดยคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ กำหนดให้มีการระบายน้ำจากเขื่อนทั้งสองแห่งเท่าที่จำเป็น
ปัจจุบันเขื่อนภูมิพลระบายน้ำวันละ 3 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนสิริกิติ์ระบายน้ำวันละ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามแผนการประหยัดน้ำ เนื่องจากเขื่อนทั้งสองยังมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยมากถึงร้อยละ 50 สำหรับเขื่อนภูมิพล และร้อยละ 18 สำหรับเขื่อนสิริกิติ์ โดยเฉพาะเขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำในอ่างฯ เพียงร้อยละ 34 ของความจุ ส่วนเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ ร้อยละ 46 ของความจุ
ปัจจุบันเขื่อนภูมิพลระบายน้ำวันละ 3 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนสิริกิติ์ระบายน้ำวันละ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามแผนการประหยัดน้ำ เนื่องจากเขื่อนทั้งสองยังมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยมากถึงร้อยละ 50 สำหรับเขื่อนภูมิพล และร้อยละ 18 สำหรับเขื่อนสิริกิติ์ โดยเฉพาะเขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำในอ่างฯ เพียงร้อยละ 34 ของความจุ ส่วนเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ ร้อยละ 46 ของความจุ