บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปภาวะตลาดเงินรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (23-26 ก.ค.) เงินบาทเคลื่อนไหวอย่างผันผวน โดยเงินบาทขยับแข็งค่าในช่วงต้นสัปดาห์ตามการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ และแรงเทขายเงินดอลลาร์ฯ ลังข้อมูลยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐฯ ร่วงลงมากเกินคาดในเดือนมิถุนายน (ซึ่งเพิ่มความไม่แน่นอนต่อจังหวะเวลาการเริ่มลดขนาดการเข้าซื้อพันธบัตรภายใต้มาตรการ QE ของธนาคารกลางสหรัฐฯ)
อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับไปอ่อนค่าในช่วงปลายสัปดาห์ หลังข้อมูล PMI เบื้องต้นของจีนในเดือนกรกฎาคม ออกมาน่าผิดหวัง สวนทางยอดขายบ้านใหม่เดือนมิถุนายน ของสหรัฐฯ ที่พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดรอบ 5 ปี
ในวันศุกร์ (26 ก.ค.) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 31.12 เทียบกับระดับ 31.07 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (19 ก.ค.)
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ถัดไป (29 ก.ค.-2 ส.ค.) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 30.90-31.50 บาทต่อดอลลาร์ โดยคงต้องจับตากระแสการเคลื่อนย้ายเงินทุนรับผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (30-31 ก.ค.) ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ สำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ข้อมูลตลาดแรงงาน ดัชนี ISM ภาคการผลิต ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเขตชิคาโกเดือนกรกฎาคม ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย รายจ่ายด้านการก่อสร้าง ยอดสั่งซื้อของโรงงาน รายได้-รายจ่ายส่วนบุคคลเดือนมิถุนายน ดัชนีราคาบ้านเดือนพฤษภาคท รายงานจีดีพีประจำไตรมาส 2/2556 (ครั้งที่ 1) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับไปอ่อนค่าในช่วงปลายสัปดาห์ หลังข้อมูล PMI เบื้องต้นของจีนในเดือนกรกฎาคม ออกมาน่าผิดหวัง สวนทางยอดขายบ้านใหม่เดือนมิถุนายน ของสหรัฐฯ ที่พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดรอบ 5 ปี
ในวันศุกร์ (26 ก.ค.) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 31.12 เทียบกับระดับ 31.07 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (19 ก.ค.)
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ถัดไป (29 ก.ค.-2 ส.ค.) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 30.90-31.50 บาทต่อดอลลาร์ โดยคงต้องจับตากระแสการเคลื่อนย้ายเงินทุนรับผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (30-31 ก.ค.) ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ สำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ข้อมูลตลาดแรงงาน ดัชนี ISM ภาคการผลิต ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเขตชิคาโกเดือนกรกฎาคม ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย รายจ่ายด้านการก่อสร้าง ยอดสั่งซื้อของโรงงาน รายได้-รายจ่ายส่วนบุคคลเดือนมิถุนายน ดัชนีราคาบ้านเดือนพฤษภาคท รายงานจีดีพีประจำไตรมาส 2/2556 (ครั้งที่ 1) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์