บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปภาวะตลาดเงินรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า เงินบาทกลับไปอ่อนค่าทะลุระดับ 29.00 แตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ใกล้ 29.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยคำเตือนถึงการแข็งค่ามากเกินปัจจัยพื้นฐานของเงินบาทจากธนาคารแห่งประเทศไทยกระตุ้นให้นักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อคืนเงินดอลลาร์สหรัฐอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ในช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่กลุ่มผู้นำเข้ามีความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐเพิ่มมากขึ้นในช่วงปลายเดือนด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ เงินบาทยังถูกกดดันเพิ่มเติมในช่วงปลายสัปดาห์ จากสถานะขายสุทธิในตลาดพันธบัตรของนักลงทุนต่างชาติ อนึ่งเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยมาเคลื่อนไหวอยู่ใกล้ระดับ 29.30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (หลังตลาดการเงินในประเทศปิดทำการแล้ว) ก่อนหน้านี้ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงผลการประชุมเพื่อหารือร่วมกันถึงผลกระทบค่าเงินบาท โดยระบุว่า ยังไม่มีมาตรการใดในขณะนี้ แต่พร้อมจะใช้มาตรการหากจำเป็น
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์หน้า เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 28.90-29.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยคงต้องจับตากระแสการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ สัญญาณการดูแลความเคลื่อนไหวของเงินบาท รวมถึงผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ขณะที่ต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขตลาดแรงงาน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ดัชนี ISM ภาคการผลิต-ภาคบริการเดือนเมษายน ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย ยอดสั่งซื้อของโรงงาน รายได้-รายจ่ายส่วนบุคคล รายจ่ายด้านการก่อสร้างเดือนมีนาคม ดัชนีราคาบ้านเดือนกุมภาพันธ์ และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
นอกจากนี้ เงินบาทยังถูกกดดันเพิ่มเติมในช่วงปลายสัปดาห์ จากสถานะขายสุทธิในตลาดพันธบัตรของนักลงทุนต่างชาติ อนึ่งเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยมาเคลื่อนไหวอยู่ใกล้ระดับ 29.30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (หลังตลาดการเงินในประเทศปิดทำการแล้ว) ก่อนหน้านี้ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงผลการประชุมเพื่อหารือร่วมกันถึงผลกระทบค่าเงินบาท โดยระบุว่า ยังไม่มีมาตรการใดในขณะนี้ แต่พร้อมจะใช้มาตรการหากจำเป็น
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์หน้า เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 28.90-29.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยคงต้องจับตากระแสการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ สัญญาณการดูแลความเคลื่อนไหวของเงินบาท รวมถึงผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ขณะที่ต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขตลาดแรงงาน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ดัชนี ISM ภาคการผลิต-ภาคบริการเดือนเมษายน ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย ยอดสั่งซื้อของโรงงาน รายได้-รายจ่ายส่วนบุคคล รายจ่ายด้านการก่อสร้างเดือนมีนาคม ดัชนีราคาบ้านเดือนกุมภาพันธ์ และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์