โรงงานหลายร้อยแห่งในแถบศูนย์กลางอุตสาหกรรมสิ่งทอของบังกลาเทศ ต้องปิดกิจการอย่างไม่มีกำหนดวานนี้(13) หลังเกิดความไม่สงบซึ่งจุดชนวนมาจากความขุ่นเคืองของคนงานต่อเหตุอาคารพังถล่มที่กรุงธากาเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งคร่าชีวิตเพื่อนแรงงานไปกว่า 1,100 คนและล่าสุดเจ้าหน้าที่ตัดสินใจยุติปฏิบัติการค้นหาแล้ว
ขณะที่เจ้าหน้าที่ยุติปฏิบัติการค้นหาศพผู้เสียชีวิตจากเหตุอาคาร 9 ชั้น "รานา พลาซา" รอบนอกกรุงธากา พังถล่มลงมาเมื่อเดือนที่แล้ว ทางองค์กรหลักของภาคอุตสาหกรรมสิ่งขอบังกลาเทศ เผยว่าได้สั่งระงับปฏิบัติการทั้งหมด ณ เขตอุตสาหกรรมอาชูเลีย ที่อยู่ใกล้กัน โดยไม่มีกำหนดจนกว่าจะมีการแจ้งให้ทราบเพิ่มเติม
ชาไฮดุลเลาะห์ อาซิม จากสมาคมผู้ผลิตและส่งออกเสื้อผ้าของบังกลาเทศเผยว่าที่ต้องตัดสินใจดังกล่าวก็เพื่อรับประกันความปลอดภัยแก่โรงงานต่างๆ หลังจากผู้บังคับการตำรวจท้องถิ่นเผยว่ามีแรงงานจากโรงงานต่างๆราวร้อยละ 80 ได้ชุมนุมประท้วงในวันจันทร์(13) เพื่อเรียกร้องขอขึ้นเงินเดือนและประหารชีวิตเจ้าของตึกรานา พลาซา
ผู้บัญชาการตำรวจรายนี้เสริมว่าโรงงานเสื้อผ้าชั้นนำของบังกลาเทศ ส่วนใหญ่แล้วจะตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมอาชูเลีย และโรงงานต่างๆในนั้นได้มีการหยุดปฏิบัติการมาตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน หรือวันที่เกิดเหตุโศกนาฏกรรมตึกรานา พลาซา พังถล่มแล้ว
ขณะที่เจ้าหน้าที่ยุติปฏิบัติการค้นหาศพผู้เสียชีวิตจากเหตุอาคาร 9 ชั้น "รานา พลาซา" รอบนอกกรุงธากา พังถล่มลงมาเมื่อเดือนที่แล้ว ทางองค์กรหลักของภาคอุตสาหกรรมสิ่งขอบังกลาเทศ เผยว่าได้สั่งระงับปฏิบัติการทั้งหมด ณ เขตอุตสาหกรรมอาชูเลีย ที่อยู่ใกล้กัน โดยไม่มีกำหนดจนกว่าจะมีการแจ้งให้ทราบเพิ่มเติม
ชาไฮดุลเลาะห์ อาซิม จากสมาคมผู้ผลิตและส่งออกเสื้อผ้าของบังกลาเทศเผยว่าที่ต้องตัดสินใจดังกล่าวก็เพื่อรับประกันความปลอดภัยแก่โรงงานต่างๆ หลังจากผู้บังคับการตำรวจท้องถิ่นเผยว่ามีแรงงานจากโรงงานต่างๆราวร้อยละ 80 ได้ชุมนุมประท้วงในวันจันทร์(13) เพื่อเรียกร้องขอขึ้นเงินเดือนและประหารชีวิตเจ้าของตึกรานา พลาซา
ผู้บัญชาการตำรวจรายนี้เสริมว่าโรงงานเสื้อผ้าชั้นนำของบังกลาเทศ ส่วนใหญ่แล้วจะตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมอาชูเลีย และโรงงานต่างๆในนั้นได้มีการหยุดปฏิบัติการมาตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน หรือวันที่เกิดเหตุโศกนาฏกรรมตึกรานา พลาซา พังถล่มแล้ว