นายอนันต์ ไชยกุล หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย (ปภ.) จ.ชัยนาท เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี จะเป็นช่วงเวลาของการสิ้นสุดฤดูร้อนและเปลี่ยนผ่านสู่ฤดูฝน ซึ่งสภาพอากาศในช่วงนี้จะมีการแปรปรวนสูง ทำให้เกิดพายุหมุนรุนแรงสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนทุกปี
ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่เคยเกิดพายุหมุนซึ่งจัดเป็นพื้นที่เสี่ยง เช่น ต.หาดอาษา ต.เขาแก้ว ต.โพนางดำตก ต.โพนางดำออก และ ต.ตลุก ของ อ.สรรพยา และ ต.เนินขาม ต.สุขเดือนห้า ต.กะบกเตี้ย ของ อ.เนินขาม ต.วังตะเคียน ต.กุดจอก ของ อ.หนองมะโมง ทั้ง 10 ตำบล ใน 3 อำเภอนี้เป็นพื้นที่ ที่จะต้องมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพราะเกิดพายุหมุนรุนแรงทุกปี
โดยการเตรียมการรับมือขอให้ประชาชนในพื้นที่ ทั้ง 10 ตำบล ได้ตรวจสอบความแข็งแรงของบ้านเรือน อาคาร ให้มีความมั่นคงเพียงพอ หลังคาบ้านเรือนและโรงปศุสัตว์ควรทำการอุดซ่อมรอยรั่วเพื่อไม่ให้น้ำฝนรั่วเข้าตัวอาคารสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินและผลิตผลการเกษตรได้ หากพบโรงเรือนที่ไม่มีความมั่นคงแข็งแรงควรรีบทำการซ่อมบำรุง หรือหากไม่ได้ใช้งานควรรื้อลงกองไว้ป้องกันไม่ให้ลมพายุพัดพาไปตกทำลายทรัพย์สินใกล้เคียงได้ และต้นไม้ที่มีกิ่งไม้ผุ หรือยืนต้นตายควรตัดโค่นลง ก่อนที่จะเกิดพายุซึ่งจะทำให้ต้นไม้ใหญ่ล้มทับบ้านเรือนเสียหายและผู้พักอาศัยเกิดอันตรายได้ และยารักษาโรค ยาสามัญประจำบ้านควรมีการเตรียมให้พร้อมล่วงหน้า
ทั้งนี้ ระหว่างที่พายุหมุนรุนแรง ไม่ควรออกนอกตัวอาคารบ้านเรือน เพราะสิ่งที่ปลิวตามแรงลม และต้นไม้หักโค่นเป็นอันตรายอย่างมาก อีกทั้งฝนตกฟ้าคะนอง ภัยจากฟ้าผ่าก็เป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการหลบใต้ต้นไม้ใหญ่ และที่โล่งแจ้ง และควรเตรียมอาหารแห้ง และพลังงานสำรองประเภท แก๊สหุงต้ม ไฟฉายและแบตเตอรี่ รวมทั้งเครื่องปั่นไฟ เพราะเมื่อมีเหตุพายุหมุนเสาไฟฟ้าและสายไฟฟ้ามักได้รับความเสียหายซึ่งพลังงานไฟฟ้าจำเป็นต้องตัดไฟฟ้าเพื่อซ่อมแซมอาจจะกินเวลาหลายชั่วโมง พลังงานสำรองจึงมีความสำคัญมากอีกทั้งเครื่องมือสื่อสารต่างๆ เช่น วิทยุสื่อสาร โทรศัพท์มือถือ พร้อม จดเบอร์โทร.ฉุกเฉินต่างๆ ไว้ในจุดที่มองเห็นชัดเจน เช่น เบอร์โทรศัพท์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งเทศบาล อบต.ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการสำรวจความเสียหายและช่วยเหลือบรรเทาสาธารณภัย ตาม พ.ร.บ.ปภ. พ.ศ. 2550 รวมทั้งเบอร์โทรศัพท์ของหน่วยงานสนับสนุนเช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน สถานีดับเพลิง ที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจ และ ปภ. เพื่อที่จะได้แจ้งขอความช่วยเหลือได้ทันท่วงที
ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่เคยเกิดพายุหมุนซึ่งจัดเป็นพื้นที่เสี่ยง เช่น ต.หาดอาษา ต.เขาแก้ว ต.โพนางดำตก ต.โพนางดำออก และ ต.ตลุก ของ อ.สรรพยา และ ต.เนินขาม ต.สุขเดือนห้า ต.กะบกเตี้ย ของ อ.เนินขาม ต.วังตะเคียน ต.กุดจอก ของ อ.หนองมะโมง ทั้ง 10 ตำบล ใน 3 อำเภอนี้เป็นพื้นที่ ที่จะต้องมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพราะเกิดพายุหมุนรุนแรงทุกปี
โดยการเตรียมการรับมือขอให้ประชาชนในพื้นที่ ทั้ง 10 ตำบล ได้ตรวจสอบความแข็งแรงของบ้านเรือน อาคาร ให้มีความมั่นคงเพียงพอ หลังคาบ้านเรือนและโรงปศุสัตว์ควรทำการอุดซ่อมรอยรั่วเพื่อไม่ให้น้ำฝนรั่วเข้าตัวอาคารสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินและผลิตผลการเกษตรได้ หากพบโรงเรือนที่ไม่มีความมั่นคงแข็งแรงควรรีบทำการซ่อมบำรุง หรือหากไม่ได้ใช้งานควรรื้อลงกองไว้ป้องกันไม่ให้ลมพายุพัดพาไปตกทำลายทรัพย์สินใกล้เคียงได้ และต้นไม้ที่มีกิ่งไม้ผุ หรือยืนต้นตายควรตัดโค่นลง ก่อนที่จะเกิดพายุซึ่งจะทำให้ต้นไม้ใหญ่ล้มทับบ้านเรือนเสียหายและผู้พักอาศัยเกิดอันตรายได้ และยารักษาโรค ยาสามัญประจำบ้านควรมีการเตรียมให้พร้อมล่วงหน้า
ทั้งนี้ ระหว่างที่พายุหมุนรุนแรง ไม่ควรออกนอกตัวอาคารบ้านเรือน เพราะสิ่งที่ปลิวตามแรงลม และต้นไม้หักโค่นเป็นอันตรายอย่างมาก อีกทั้งฝนตกฟ้าคะนอง ภัยจากฟ้าผ่าก็เป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการหลบใต้ต้นไม้ใหญ่ และที่โล่งแจ้ง และควรเตรียมอาหารแห้ง และพลังงานสำรองประเภท แก๊สหุงต้ม ไฟฉายและแบตเตอรี่ รวมทั้งเครื่องปั่นไฟ เพราะเมื่อมีเหตุพายุหมุนเสาไฟฟ้าและสายไฟฟ้ามักได้รับความเสียหายซึ่งพลังงานไฟฟ้าจำเป็นต้องตัดไฟฟ้าเพื่อซ่อมแซมอาจจะกินเวลาหลายชั่วโมง พลังงานสำรองจึงมีความสำคัญมากอีกทั้งเครื่องมือสื่อสารต่างๆ เช่น วิทยุสื่อสาร โทรศัพท์มือถือ พร้อม จดเบอร์โทร.ฉุกเฉินต่างๆ ไว้ในจุดที่มองเห็นชัดเจน เช่น เบอร์โทรศัพท์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งเทศบาล อบต.ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการสำรวจความเสียหายและช่วยเหลือบรรเทาสาธารณภัย ตาม พ.ร.บ.ปภ. พ.ศ. 2550 รวมทั้งเบอร์โทรศัพท์ของหน่วยงานสนับสนุนเช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน สถานีดับเพลิง ที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจ และ ปภ. เพื่อที่จะได้แจ้งขอความช่วยเหลือได้ทันท่วงที