ค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 19 เมษายน ยังคงแข็งค่าต่อเนื่อง โดยวิ่งขึ้นลงอยู่ในช่วง 28.67-28.72 บาทต่อเหรียญสหรัฐ แข็งค่าขึ้นมา 6.73% ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยอมรับว่า เงินบาทเริ่มแข็งค่าเกินจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยไปบ้างแล้ว
อย่างไรก็ตาม การหารือกับนายกรัฐมนตรี และทีมเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 18 เมษายน ที่่ผ่านมา ไม่ได้หารือเรื่องค่าเงินบาท เน้นเกี่ยวกับราคาทองคำและตัวเลขการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์
ขณะที่นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า จะประชุมร่วมกับคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.) ในวันที่ 26 เมษายนนี้ เรื่องผลกระทบการส่งออกจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เพื่อรับฟังความต้องการของเอกชนที่อยากให้รัฐช่วยเหลือ เพื่อจะได้ทำงานร่วมกันสะดวกขึ้น
กระทรวงพาณิชย์ยังคงเป้าหมายการส่งออกไว้ที่ 8-9% โดยนายกฯ สั่งการให้ปรับแผนการทำงานใหม่ เพื่อกระตุ้นการส่งออกในครึ่งหลังของปีให้มากขึ้น
ด้านสถานการณ์ต่างประเทศ การประชุมธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐฯ ซึ่งเปิดม่านขึ้นเมื่อวานนี้ ได้แสดงความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังอยู่ในภาวะเปราะบางอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ เริ่มมีกระแสเรียกร้องจากประเทศสมาชิก ให้ลดการใช้มาตรการอัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศที่เกิดวิกฤต เพราะมีความเสี่ยงที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อของโลกสูงขึ้น
นางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟ แสดงความวิตกว่า เศรษฐกิจโลกกำลังเกิดความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงระหว่างยุโรปและญี่ปุ่นที่อยู่ในภาวะชะงักงัน ส่วนสหรัฐซบเซา แต่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่กลับร้อนแรงเกินไป
อย่างไรก็ตาม การหารือกับนายกรัฐมนตรี และทีมเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 18 เมษายน ที่่ผ่านมา ไม่ได้หารือเรื่องค่าเงินบาท เน้นเกี่ยวกับราคาทองคำและตัวเลขการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์
ขณะที่นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า จะประชุมร่วมกับคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.) ในวันที่ 26 เมษายนนี้ เรื่องผลกระทบการส่งออกจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เพื่อรับฟังความต้องการของเอกชนที่อยากให้รัฐช่วยเหลือ เพื่อจะได้ทำงานร่วมกันสะดวกขึ้น
กระทรวงพาณิชย์ยังคงเป้าหมายการส่งออกไว้ที่ 8-9% โดยนายกฯ สั่งการให้ปรับแผนการทำงานใหม่ เพื่อกระตุ้นการส่งออกในครึ่งหลังของปีให้มากขึ้น
ด้านสถานการณ์ต่างประเทศ การประชุมธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐฯ ซึ่งเปิดม่านขึ้นเมื่อวานนี้ ได้แสดงความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังอยู่ในภาวะเปราะบางอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ เริ่มมีกระแสเรียกร้องจากประเทศสมาชิก ให้ลดการใช้มาตรการอัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศที่เกิดวิกฤต เพราะมีความเสี่ยงที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อของโลกสูงขึ้น
นางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟ แสดงความวิตกว่า เศรษฐกิจโลกกำลังเกิดความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงระหว่างยุโรปและญี่ปุ่นที่อยู่ในภาวะชะงักงัน ส่วนสหรัฐซบเซา แต่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่กลับร้อนแรงเกินไป