คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 68 และมาตรา 237) มีนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี เป็นประธาน ได้มีการประชุม
ทั้งนี้ ก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระ ที่ประชุมได้มอบตำแหน่งรองประธาน รองโฆษก ให้กับกรรมาธิการในซีกพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้วอล์กเอาต์ในการประชุมเมื่อวันที่ 4 เมษายน ที่ผ่านมา แต่ น.พ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่ขอรับตำแหน่งใดๆ โดยจะทำหน้าที่ในส่วนของกรรมาธิการเท่านั้น
นายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ เห็นด้วยในการแก้ไขมาตรา 237 ยกเลิกการยุบพรรคการเมือง แต่ให้ลงโทษหัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรค ที่มีส่วนรู้เห็นในการทุจริตการเลือกตั้ง ส่วนคณะกรรมการบริหารพรรคที่ไม่มีส่วนรู้เห็นกับการกระทำผิด ก็ไม่ต้องรับผิดเหมือนในปัจจุบัน
ส่วนสาเหตุที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรา 68 เพราะอัยการสูงสุด เนื่องจากเป็นอัยการมา 19 ปี จึงเห็นว่าแม้อัยการสูงสุดจะเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ แต่ก็หาผลประโยชน์จากหน่วยงานรัฐ อาทิ เข้าไปเป็นบอร์ด รับโบนัส รับเบี้ยประชุม รับสิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น ค่าเครื่องบิน โดยฝ่ายบริหารถือว่าเป็นเจ้าหนี้ ส่วนอัยการสูงสุดถือว่าเป็นลูกหนี้ ที่ต้องมาใช้บุญคุณ ดังนั้นหากมีเรื่องร้องเรียนมาที่ฝ่ายบริหาร อัยการสูงสุดอาจละเลยไม่ทำงาน และช่วยเหลือรัฐบาล ดังนั้นเห็นว่าควรเปิดสิทธิให้ประชาชนอีกหนึ่งช่องทาง
ทั้งนี้ นายดิเรก ได้นัดประชุมครั้งหน้าในวันที่ 24 เมษายน เวลา 13.00 น. โดยเบื้องต้น กมธ.จะเชิญผู้เกี่ยวข้องมาตรา 68 และ 237 มาหารือตามช่วงจังหวะเวลา อาทิ ผู้ร้องและผู้ถูกร้อง เช่น นายโภคิน พลกุล ตัวแทนผู้ถูกร้อง และนายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตัวแทนผู้ร้องตัวแทนอัยการสูงสุด ตัวแทนเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ ตัวแทนสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ปี 2540 และ ส.ส.ร.ปี 2550 นักวิชาการ รวมถึงพล.อ.สนธิ บุญยรัตนกลิน อดีตประธาน คมช. เป็นต้น
ทั้งนี้ ก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระ ที่ประชุมได้มอบตำแหน่งรองประธาน รองโฆษก ให้กับกรรมาธิการในซีกพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้วอล์กเอาต์ในการประชุมเมื่อวันที่ 4 เมษายน ที่ผ่านมา แต่ น.พ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่ขอรับตำแหน่งใดๆ โดยจะทำหน้าที่ในส่วนของกรรมาธิการเท่านั้น
นายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ เห็นด้วยในการแก้ไขมาตรา 237 ยกเลิกการยุบพรรคการเมือง แต่ให้ลงโทษหัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรค ที่มีส่วนรู้เห็นในการทุจริตการเลือกตั้ง ส่วนคณะกรรมการบริหารพรรคที่ไม่มีส่วนรู้เห็นกับการกระทำผิด ก็ไม่ต้องรับผิดเหมือนในปัจจุบัน
ส่วนสาเหตุที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรา 68 เพราะอัยการสูงสุด เนื่องจากเป็นอัยการมา 19 ปี จึงเห็นว่าแม้อัยการสูงสุดจะเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ แต่ก็หาผลประโยชน์จากหน่วยงานรัฐ อาทิ เข้าไปเป็นบอร์ด รับโบนัส รับเบี้ยประชุม รับสิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น ค่าเครื่องบิน โดยฝ่ายบริหารถือว่าเป็นเจ้าหนี้ ส่วนอัยการสูงสุดถือว่าเป็นลูกหนี้ ที่ต้องมาใช้บุญคุณ ดังนั้นหากมีเรื่องร้องเรียนมาที่ฝ่ายบริหาร อัยการสูงสุดอาจละเลยไม่ทำงาน และช่วยเหลือรัฐบาล ดังนั้นเห็นว่าควรเปิดสิทธิให้ประชาชนอีกหนึ่งช่องทาง
ทั้งนี้ นายดิเรก ได้นัดประชุมครั้งหน้าในวันที่ 24 เมษายน เวลา 13.00 น. โดยเบื้องต้น กมธ.จะเชิญผู้เกี่ยวข้องมาตรา 68 และ 237 มาหารือตามช่วงจังหวะเวลา อาทิ ผู้ร้องและผู้ถูกร้อง เช่น นายโภคิน พลกุล ตัวแทนผู้ถูกร้อง และนายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตัวแทนผู้ร้องตัวแทนอัยการสูงสุด ตัวแทนเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ ตัวแทนสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ปี 2540 และ ส.ส.ร.ปี 2550 นักวิชาการ รวมถึงพล.อ.สนธิ บุญยรัตนกลิน อดีตประธาน คมช. เป็นต้น