การประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันนี้ เป็นการอภิปรายร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ...วงเงิน 2 ล้านล้านบาท หรือ พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท โดยนายเจริญ จรรย์โกมล ประธานในที่ประชุม ได้แจ้งว่า เมื่อวานนี้ใช้เวลาในการอภิปราย 16 ชั่วโมง มี ส.ส.ฝ่ายค้านอภิปราย 28 คน ฝ่ายรัฐบาล 8 คน และคณะรัฐมนตรี 6 คน
โดยนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในหลายโครงการของรัฐบาลจะลำดับความสำคัญผิด และจะส่งผลให้เกิดภาระทางการเงินเพิ่มขึ้นในอนาคต อาทิ โครงการรถไฟความเร็วสูงที่เน้นการก่อสร้างเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ทั้งที่เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย จะได้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ดีกว่า และเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้ด้วย
นอกจากนี้ รัฐบาลควรทำประชามติสอบถามความคิดเห็นของประชาชนก่อน เพราะว่าการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ทำให้เกิดภาระหนี้ 50-60 ปี และเป็นภาระของประชาชนทั้งประเทศไม่ใช่แค่รัฐบาลเท่านั้น
ด้านฝ่ายรัฐบาลชี้แจงว่า การจัดทำเป็น พ.ร.บ.จะช่วยให้เกิดความรอบคอบมากขึ้นในออกกฎหมาย และจะมีการตรวจสอบอย่างเป็นขั้นเป็นตอนจากรัฐสภาถึง ถือเป็นความใจกว้างของรัฐบาลที่ดำเนินการในลักษณะนี้
ส่วนเรื่องของการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงนั้น นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ชี้แจงว่า เหตุผลที่ต้องสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ก่อน เพราะว่าเป็นแผนที่มีรายละเอียดชัดเจน และเอกชนพร้อมที่จะเข้ามาลงทุน ส่วนกรณีเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ยืนยันว่า มีการขยายต่อแน่นอนจากนครราชสีมา แต่ต้องรอให้เอกชนที่มาร่วมทุนมีความมั่นใจก่อน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
โดยนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในหลายโครงการของรัฐบาลจะลำดับความสำคัญผิด และจะส่งผลให้เกิดภาระทางการเงินเพิ่มขึ้นในอนาคต อาทิ โครงการรถไฟความเร็วสูงที่เน้นการก่อสร้างเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ทั้งที่เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย จะได้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ดีกว่า และเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้ด้วย
นอกจากนี้ รัฐบาลควรทำประชามติสอบถามความคิดเห็นของประชาชนก่อน เพราะว่าการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ทำให้เกิดภาระหนี้ 50-60 ปี และเป็นภาระของประชาชนทั้งประเทศไม่ใช่แค่รัฐบาลเท่านั้น
ด้านฝ่ายรัฐบาลชี้แจงว่า การจัดทำเป็น พ.ร.บ.จะช่วยให้เกิดความรอบคอบมากขึ้นในออกกฎหมาย และจะมีการตรวจสอบอย่างเป็นขั้นเป็นตอนจากรัฐสภาถึง ถือเป็นความใจกว้างของรัฐบาลที่ดำเนินการในลักษณะนี้
ส่วนเรื่องของการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงนั้น นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ชี้แจงว่า เหตุผลที่ต้องสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ก่อน เพราะว่าเป็นแผนที่มีรายละเอียดชัดเจน และเอกชนพร้อมที่จะเข้ามาลงทุน ส่วนกรณีเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ยืนยันว่า มีการขยายต่อแน่นอนจากนครราชสีมา แต่ต้องรอให้เอกชนที่มาร่วมทุนมีความมั่นใจก่อน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น