นายสมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ กล่าวในงานซีพีเสวนา "บาทแข็ง : ผลกระทบ-ทางออก" ว่า สถานการณ์ค่าเงินบาทในขณะนี้มีความคล้ายคลึงกับปี 2540 ที่ตลาดหุ้นไทยมีความร้อนแรง ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยขยายตัวดี ประกอบกับนักลงทุนมองเห็นโอกาสของไทย ในการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่มีการเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ทำให้มีเงินทุนไหลเข้าไทยอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับผู้ส่งออกเทขายเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าสูงสุดในรอบ 28 เดือน ที่ 29.51 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และมีโอกาสแข็งค่าต่อเนื่อง จนอาจจะกลับไปอยู่ที่ 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ก่อนเกิดวิกฤตปี 2540 แต่ก็ยังไม่ใช่ระยะใกล้นี้ ซึ่งผู้ส่งออกกำลังเผชิญผลกระทบจากค่าแรง 300 บาท และค่าเงินบาทแข็งค่าต้องปรับตัว เน้นการขายในประเทศมากขึ้น
ขณะที่นายสุเมธ เหล่าโมราพร ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ซีพี ยอมรับว่า กลุ่มผู้ส่งออกข้าวกำลังถูกผลกระทบ 2 ด้าน ทั้งจากราคารับจำนำข้าวที่สูงขึ้น และค่าเงินบาทที่แข็งค่า กระทบขีดความสามารถในการแข่งขัน และหากค่าเงินแข็งค่ามากกว่า 29.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 27-28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดจำเป็นจะต้องทบทวนแผนการค้าใหม่ เพราะว่าราคาสินค้าเกษตรของไทยแข็งขันกับประเทศคู่แข่งไม่ได้
อย่างไรก็ตาม เห็นว่าปริมาณการส่งออกข้าวในปีนี้จะดีกว่าปีก่อน และกลับขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 2 ของโลกรองจากอินเดีย ซึ่งรัฐบาลควรปรับปรุงนโยบายการรับจำนำใน 3 ด้าน ทั้งการบริหารจัดการต้องอุดจุดรั่วไหล และควรมีระบบบริหารจัดการที่ดี ดูแลคุณภาพข้าวที่รับจำนำใหม่ด้วยการแบ่งชั้นของข้าวให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้กระทบต่อภาพลักษณ์ของข้าวหอมมะลิไทย และต้องระบายข้าวในสต๊อกอย่างโปร่งใสด้วย
ขณะที่นายสุเมธ เหล่าโมราพร ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ซีพี ยอมรับว่า กลุ่มผู้ส่งออกข้าวกำลังถูกผลกระทบ 2 ด้าน ทั้งจากราคารับจำนำข้าวที่สูงขึ้น และค่าเงินบาทที่แข็งค่า กระทบขีดความสามารถในการแข่งขัน และหากค่าเงินแข็งค่ามากกว่า 29.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 27-28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดจำเป็นจะต้องทบทวนแผนการค้าใหม่ เพราะว่าราคาสินค้าเกษตรของไทยแข็งขันกับประเทศคู่แข่งไม่ได้
อย่างไรก็ตาม เห็นว่าปริมาณการส่งออกข้าวในปีนี้จะดีกว่าปีก่อน และกลับขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 2 ของโลกรองจากอินเดีย ซึ่งรัฐบาลควรปรับปรุงนโยบายการรับจำนำใน 3 ด้าน ทั้งการบริหารจัดการต้องอุดจุดรั่วไหล และควรมีระบบบริหารจัดการที่ดี ดูแลคุณภาพข้าวที่รับจำนำใหม่ด้วยการแบ่งชั้นของข้าวให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้กระทบต่อภาพลักษณ์ของข้าวหอมมะลิไทย และต้องระบายข้าวในสต๊อกอย่างโปร่งใสด้วย