วันนี้ (12 มี.ค.) พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. ระบุถึงการเสนอต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 3 จังหวัดชายแดนใต้ เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ยังไม่ทราบว่าจะมีการนำเข้าที่ประชุมหรือไม่
อย่างไรก็ตาม หากมีการนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีสิทธิ์ที่อนุมัติให้ 5 อำเภอ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ เปลี่ยนไปใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ แทน โดยไม่ต้องรอการพูดคุยกับทางมาเลเซีย หากเห็นว่าเหมาะสม เพราะทางศูนย์อำนวยการบริหารจัดหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. ได้เสนอให้มีการเปรียบเทียบก่อน แต่เบื้องต้นทาง สมช.ได้เสนอให้ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในทุกพื้นที่ เนื่องจากต้องพิจารณาบรรยากาศสถานการณ์ รวมถึงความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ด้วย
ส่วนกรณีที่วันพรุ่งนี้ (13 มี.ค.) เป็นวันครบรอบ 53 ปี การก่อตั้งกลุ่มบีอาร์เอ็นนั้น เชื่อว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้
ทั้งนี้จากที่มีกระแสข่าวว่า กลุ่มบีอาร์เอ็นต้องการให้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ นั้น ขอให้รอความชัดเจนอีกครั้งในวันที่ 28 มีนาคมนี้ และในส่วนของทางการไทยที่จะไปพูดคุยนั้น จะขอให้มีการลดการสร้างสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้
อย่างไรก็ตาม หากหลังการพูดคุยแล้วสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น จะยืนยันที่จะเดินหน้าพูดคุย และเจรจาต่อไป
ทั้งนี้ พล.ท.ภราดร ยืนยันว่า การลงนามร่วมเจรจาสันติภาพกับ นายฮัสซัน ตอยิบนั้น ยืนยันว่าได้รับความเห็นชอบจาก สะแปอิง-มะแซ แล้ว จากนั้นเชื่อมั่นว่า เมื่อมีการพัฒนาการพูดคุยถึงระดับที่การไว้วางใจสูงขึ้น ทั้งสองคนนี้จะออกมาพูดคุยด้วย
อย่างไรก็ตาม คาดว่าวันที่ 28 มีนาคมนี้ อาจจะจะมีกลุ่มอื่นเข้ามาพูดคุยเพิ่มเติม แต่ถ้ายังไม่สามารถมาไม่ได้เชื่อมั่นว่า อีกสักระยะจะสามารถจูงใจให้กลุ่มอื่นๆ เข้ามาพูดคุยได้แต่จะไม่มีการลงนามเจตนารมณ์ใดเพิ่มเติม เพราะมีการลงนามเจรจาความมั่นคงแบบองค์รวมไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม หากมีการนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีสิทธิ์ที่อนุมัติให้ 5 อำเภอ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ เปลี่ยนไปใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ แทน โดยไม่ต้องรอการพูดคุยกับทางมาเลเซีย หากเห็นว่าเหมาะสม เพราะทางศูนย์อำนวยการบริหารจัดหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. ได้เสนอให้มีการเปรียบเทียบก่อน แต่เบื้องต้นทาง สมช.ได้เสนอให้ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในทุกพื้นที่ เนื่องจากต้องพิจารณาบรรยากาศสถานการณ์ รวมถึงความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ด้วย
ส่วนกรณีที่วันพรุ่งนี้ (13 มี.ค.) เป็นวันครบรอบ 53 ปี การก่อตั้งกลุ่มบีอาร์เอ็นนั้น เชื่อว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้
ทั้งนี้จากที่มีกระแสข่าวว่า กลุ่มบีอาร์เอ็นต้องการให้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ นั้น ขอให้รอความชัดเจนอีกครั้งในวันที่ 28 มีนาคมนี้ และในส่วนของทางการไทยที่จะไปพูดคุยนั้น จะขอให้มีการลดการสร้างสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้
อย่างไรก็ตาม หากหลังการพูดคุยแล้วสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น จะยืนยันที่จะเดินหน้าพูดคุย และเจรจาต่อไป
ทั้งนี้ พล.ท.ภราดร ยืนยันว่า การลงนามร่วมเจรจาสันติภาพกับ นายฮัสซัน ตอยิบนั้น ยืนยันว่าได้รับความเห็นชอบจาก สะแปอิง-มะแซ แล้ว จากนั้นเชื่อมั่นว่า เมื่อมีการพัฒนาการพูดคุยถึงระดับที่การไว้วางใจสูงขึ้น ทั้งสองคนนี้จะออกมาพูดคุยด้วย
อย่างไรก็ตาม คาดว่าวันที่ 28 มีนาคมนี้ อาจจะจะมีกลุ่มอื่นเข้ามาพูดคุยเพิ่มเติม แต่ถ้ายังไม่สามารถมาไม่ได้เชื่อมั่นว่า อีกสักระยะจะสามารถจูงใจให้กลุ่มอื่นๆ เข้ามาพูดคุยได้แต่จะไม่มีการลงนามเจตนารมณ์ใดเพิ่มเติม เพราะมีการลงนามเจรจาความมั่นคงแบบองค์รวมไปแล้ว