น.พ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งวิถีชีวิตของประชาชน ผลการศึกษาในหลายประเทศพบว่า โรคนี้มีโอกาสเกิดในช่วงชีวิตหนึ่งของคนระหว่างร้อยละ 0.9-13
ปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าประมาณ 1.5 ล้านคน เป็นหญิงมากกว่าชาย 2 เท่าตัว พบในกรุงเทพมหานคร มากที่สุด อัตราป่วยร้อยละ 5 ขณะที่ต่างจังหวัดมีประมาณร้อยละ 2.3-2.7 ทำให้คนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร จากการฆ่าตัวตาย มีอัตราการเข้าถึงบริการน้อยเพียงร้อยละ 29 ของผู้ป่วย เหตุเพราะประชาชนไม่ตระหนักว่าป่วย และยังมีอคติไม่อยากพบจิตแพทย์ เพราะกลัวคนรอบข้างว่าเป็นบ้า เผยโรคนี้ไม่ใช่โรคที่น่าอับอาย มียารักษาหาย
ทั้งนี้ ในปี 2556 กระทรวงสาธารณสุข ขยายการรักษาครอบคลุมถึงโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง และมีระบบตรวจคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า เพื่อดูแลเป็นพิเศษ ตั้งเป้าจะให้ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการให้ได้ทุกคน และเปิดสายด่วน 1323 บริการ 24 ชั่วโมง
ปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าประมาณ 1.5 ล้านคน เป็นหญิงมากกว่าชาย 2 เท่าตัว พบในกรุงเทพมหานคร มากที่สุด อัตราป่วยร้อยละ 5 ขณะที่ต่างจังหวัดมีประมาณร้อยละ 2.3-2.7 ทำให้คนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร จากการฆ่าตัวตาย มีอัตราการเข้าถึงบริการน้อยเพียงร้อยละ 29 ของผู้ป่วย เหตุเพราะประชาชนไม่ตระหนักว่าป่วย และยังมีอคติไม่อยากพบจิตแพทย์ เพราะกลัวคนรอบข้างว่าเป็นบ้า เผยโรคนี้ไม่ใช่โรคที่น่าอับอาย มียารักษาหาย
ทั้งนี้ ในปี 2556 กระทรวงสาธารณสุข ขยายการรักษาครอบคลุมถึงโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง และมีระบบตรวจคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า เพื่อดูแลเป็นพิเศษ ตั้งเป้าจะให้ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการให้ได้ทุกคน และเปิดสายด่วน 1323 บริการ 24 ชั่วโมง