น.พ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายพัฒนาระบบบริการทุกระดับทั้งเขตเมืองและชนบทให้เพียงพอ ทั้งด้านจำนวนสถานที่ บุคลากร และเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ ที่จำเป็น เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพมากขึ้น โดยจัดทำแผนการจัดระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) ระยะเวลา 5 ปี ระหว่างปีงบประมาณ 2555-2559 เน้นพัฒนา 3 ระดับคือ ระดับพื้นฐาน หรือปฐมภูมิในชุมชนเมือง ชุมชนหนาแน่น ระดับความเชี่ยวชาญระดับสูง และระดับเครือข่ายบริการร่วมกัน โดยนำระบบการบริหารแบบเขตสุขภาพมาใช้ รวมทั้งหมด 12 เขตทั่วประเทศ จะทำให้ประชาชนได้รับบริการใกล้บ้านมาตรฐานเดียวกันทุกพื้นที่
น.พ.ณรงค์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับระดับบริการปฐมภูมิจัดว่า มีความสำคัญต่อระบบการสาธารณสุขมาก งานจะเน้นหนัก การสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ลดการเจ็บป่วยประชาชน ทุกกลุ่มวัย และตรวจรักษาผู้เจ็บป่วยทั่วไปที่อาการไม่รุนแรง ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาลใหญ่ ซึ่งจะสามารถลดความแออัด ลดรายจ่ายค่าเดินทางไปโรงพยาบาลของประชาชนลงได้ปีละประมาณ 16,000 ล้านบาท ตั้งเป้าพัฒนาสถานบริการระดับนี้ 10,174 แห่ง กระจาย 3 พื้นที่คือ ชุมชนเมือง ชุมชนหนาแน่นในเขตอำเภอเมือง ได้ตั้งศูนย์สุขภาพชุมชน 226 แห่ง ในเขตชนบทมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 9,750 แห่ง ในพื้นที่สูง ป่าเขา ทุรกันดาร มีศูนย์สาธารณสุขชุมชน 198 แห่ง ให้บริการใกล้บ้าน ใกล้ใจ เป็นการเพิ่มจุดตรวจรักษาผู้ป่วยทั่วไป และผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีอาการไม่รุนแรง มีบุคลากรทางการแพทย์อาทิ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล แพทย์แผนไทย ทันตาภิบาล ทั้งอยู่ประจำและหมุนเวียนออกไปให้บริการ มีอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็น และใช้ระบบไอทีเชื่อมโยงการรักษากับโรงพยาบาลใหญ่
น.พ.ณรงค์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับระดับบริการปฐมภูมิจัดว่า มีความสำคัญต่อระบบการสาธารณสุขมาก งานจะเน้นหนัก การสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ลดการเจ็บป่วยประชาชน ทุกกลุ่มวัย และตรวจรักษาผู้เจ็บป่วยทั่วไปที่อาการไม่รุนแรง ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาลใหญ่ ซึ่งจะสามารถลดความแออัด ลดรายจ่ายค่าเดินทางไปโรงพยาบาลของประชาชนลงได้ปีละประมาณ 16,000 ล้านบาท ตั้งเป้าพัฒนาสถานบริการระดับนี้ 10,174 แห่ง กระจาย 3 พื้นที่คือ ชุมชนเมือง ชุมชนหนาแน่นในเขตอำเภอเมือง ได้ตั้งศูนย์สุขภาพชุมชน 226 แห่ง ในเขตชนบทมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 9,750 แห่ง ในพื้นที่สูง ป่าเขา ทุรกันดาร มีศูนย์สาธารณสุขชุมชน 198 แห่ง ให้บริการใกล้บ้าน ใกล้ใจ เป็นการเพิ่มจุดตรวจรักษาผู้ป่วยทั่วไป และผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีอาการไม่รุนแรง มีบุคลากรทางการแพทย์อาทิ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล แพทย์แผนไทย ทันตาภิบาล ทั้งอยู่ประจำและหมุนเวียนออกไปให้บริการ มีอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็น และใช้ระบบไอทีเชื่อมโยงการรักษากับโรงพยาบาลใหญ่