สธ.สั่งสถานพยาบาลในสังกัด ทั้ง กทม.และภาคใต้ สำรองพลังงานไฟฟ้า เงิน และน้ำมันใช้กับเครื่องปั่นไฟ รับมือกรณีซ่อมท่อส่งก๊าซในพม่าช่วง เม.ย.นี้ พร้อมใช้นโยบายประหยัดพลังงาน
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงมาตรการเตรียมรับมือปัญหาพลังงานไฟฟ้า จากกรณีท่อส่งก๊าซในพม่าชำรุด และจะดำเนินการซ่อมแซมในวันที่ 5-12 เม.ย.นี้ ว่า สธ.ได้เตรียมสั่งการให้โรงพยาบาลในสังกัด โดยเฉพาะในพื้นที่ของ กทม.และภาคใต้ รับมือแล้ว เนื่องจากกระทรวงพลังงาน ระบุว่าอาจได้รับผลกระทบ เพราะใช้ไฟฟ้าในโซนตะวันตก ด้วยการสำรองเงินสดเพื่อใช้ในการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะใช้กับเครื่องปั่นไฟฟ้า เพื่อสำรองไฟกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน และให้มีการประหยัดการใช้ไฟฟ้าในส่วนของอาคารสำนักงานที่ไม่เกี่ยวกับการรักษา เช่น หอพัก ทางเดิน ส่วนการรักษาพยาบาลก็ยังดำเนินการตามปกติ พร้อมให้มีการวางแผนเรื่องของการรับผู้ป่วย เช่น ใน รพ.ชุมชน จากเดิมกระจายอยู่ในแต่ละตึก ให้รวมกันในตึกเดียวจนเต็ม ก่อนค่อยกระจาย เพื่อประหยัดไฟฟ้า และพลังคนในดูแลคนให้ทั่วถึงมากขึ้น รวมการส่งต่อผู้ป่วยที่ต้องมีการวางแผนให้ดี นอกจากนี้ จะเจรจากับการไฟฟ้าให้จัดลำดับความสำคัญของหน่วยงาน สธ.ไว้ในลำดับต้นๆ ของการจ่ายกระแสไฟฟ้า โดยเฉพาะโรงพยาบาลซึ่งต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย
นพ.อนันต์ เสรฐภักดี รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เกือบทุกโรงพยาบาลมีมาตรการประหยัดพลังงานอยู่แล้วตามมาตรฐาน HA สิ่งแวดล้อม และเน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ซึ่งการประหยัดที่โรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ปฏิบัติ มีทั้งการปรับอุณหภูมิเหลือ 25 องศาเซลเซียส ล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ใส่เสื้อผ้าหนาหรือแขนยาวจนเกินไป เพื่อประหยัดพลังงาน เปลี่ยนหลอดไฟฟ้า ไปใช้หลอดไฟแบบประหยัดพลังงาน ปิดไฟฟ้าในอาคารสำนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล หรือในช่วงพักกลางวัน
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงมาตรการเตรียมรับมือปัญหาพลังงานไฟฟ้า จากกรณีท่อส่งก๊าซในพม่าชำรุด และจะดำเนินการซ่อมแซมในวันที่ 5-12 เม.ย.นี้ ว่า สธ.ได้เตรียมสั่งการให้โรงพยาบาลในสังกัด โดยเฉพาะในพื้นที่ของ กทม.และภาคใต้ รับมือแล้ว เนื่องจากกระทรวงพลังงาน ระบุว่าอาจได้รับผลกระทบ เพราะใช้ไฟฟ้าในโซนตะวันตก ด้วยการสำรองเงินสดเพื่อใช้ในการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะใช้กับเครื่องปั่นไฟฟ้า เพื่อสำรองไฟกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน และให้มีการประหยัดการใช้ไฟฟ้าในส่วนของอาคารสำนักงานที่ไม่เกี่ยวกับการรักษา เช่น หอพัก ทางเดิน ส่วนการรักษาพยาบาลก็ยังดำเนินการตามปกติ พร้อมให้มีการวางแผนเรื่องของการรับผู้ป่วย เช่น ใน รพ.ชุมชน จากเดิมกระจายอยู่ในแต่ละตึก ให้รวมกันในตึกเดียวจนเต็ม ก่อนค่อยกระจาย เพื่อประหยัดไฟฟ้า และพลังคนในดูแลคนให้ทั่วถึงมากขึ้น รวมการส่งต่อผู้ป่วยที่ต้องมีการวางแผนให้ดี นอกจากนี้ จะเจรจากับการไฟฟ้าให้จัดลำดับความสำคัญของหน่วยงาน สธ.ไว้ในลำดับต้นๆ ของการจ่ายกระแสไฟฟ้า โดยเฉพาะโรงพยาบาลซึ่งต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย
นพ.อนันต์ เสรฐภักดี รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เกือบทุกโรงพยาบาลมีมาตรการประหยัดพลังงานอยู่แล้วตามมาตรฐาน HA สิ่งแวดล้อม และเน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ซึ่งการประหยัดที่โรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ปฏิบัติ มีทั้งการปรับอุณหภูมิเหลือ 25 องศาเซลเซียส ล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ใส่เสื้อผ้าหนาหรือแขนยาวจนเกินไป เพื่อประหยัดพลังงาน เปลี่ยนหลอดไฟฟ้า ไปใช้หลอดไฟแบบประหยัดพลังงาน ปิดไฟฟ้าในอาคารสำนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล หรือในช่วงพักกลางวัน