ผลสำรวจเอแบคโพลล์ ความคิดเห็นประชาชนและผู้ให้บริการต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปี 55 พบประชาชนให้คะแนนพึงพอใจ 8.29 และผู้ให้บริการพึงพอใจ 7.08 จากคะแนนเต็มสิบ ประชาชนให้ความสำคัญต่อคุณภาพการรักษาพยาบาลของแพทย์ ขณะที่ผู้ให้บริการตระหนักถึงประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีต่อประชาชน แต่ยังกังวลเรื่องงบประมาณ
นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ ประธานคณะอนุกรรมการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ดำเนินโครงการสำรวจวิจัยเรื่อง ความคิดเห็นของประชาชน และผู้ให้บริการต่อโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (พ.ศ. 2555) โดยสำรวจประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วน จำนวน 2,767 ตัวอย่าง และกลุ่มผู้ให้บริการได้แก่ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล และผอ.รพ.หัวหน้าสถานีอนามัย/ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข/ตัวแทน) จำนวนทั้งสิ้น 1,364 ตัวอย่าง ทั้งนี้ ผลการสำรวจกลุ่มประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการได้รับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยให้คะแนนความพึงพอใจ (จาก 1-10 คะแนน) เฉลี่ยเท่ากับ 8.29 คะแนน ซึ่งคนที่ “เคยใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะมีความพึงพอใจสูงมากกว่าคนทั่วไป” โดยพบว่าผู้ที่เคยใช้สิทธิบัตรหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในการรักษาพยาบาลในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา มีค่าคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 8.63 คะแนน ผลสำรวจยังพบว่า ประชาชนให้ความสำคัญต่อ “คุณภาพการรักษาพยาบาลของแพทย์” มากที่สุด รองลงมาคือ คุณภาพด้านยา และคุณภาพด้านเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ตามลำดับ และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 94.8 มีความตั้งใจที่จะไปใช้บริการต่อไป
นพ.จรัล กล่าวต่อว่า ข้อสังเกตจากการศึกษากลุ่มประชาชนพบว่า ความพึงพอใจมีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มประชากร กลุ่มคนอายุมาก กลุ่มเป็นหม้าย/หย่า/แยกกันอยู่ กลุ่มคนที่มีการศึกษาต่ำ กลุ่มเกษตรกร/ประมง/รับจ้างทั่วไป กลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำ จะมีความพึงพอใจสูงมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ขณะที่กลุ่มประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความพึงพอใจสูงสุด (8.66 คะแนน) รองลงมาคือ ภาคเหนือ (8.28 คะแนน) ภาคกลาง (8.19 คะแนน) กรุงเทพ (7.90 คะแนน) และภาคใต้ (7.82 คะแนน)
นพ.จรัล กล่าวถึงผลการสำรวจกลุ่มผู้ให้บริการว่า ผู้ให้บริการมีความพึงพอใจต่อโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 7.08 คะแนน (จาก 1-10 คะแนน) ซึ่งผู้ให้บริการเล็งเห็นประโยชน์ความพอใจในผลที่เกิดกับประชาชนมากกว่าผลที่เกิดกับตนเอง และความพึงพอใจปี 2555 ดีกว่าความพึงพอใจปี 2554 ที่ได้คะแนน 6.99 ขณะที่ ผลสำรวจการให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงาน ให้ความสำคัญกับความคาดหวังของผู้ป่วยมากที่สุด 8.63 คะแนน รองลงมาคือ ความเพียงพอของงบประมาณดำเนินการ และความถูกต้องของการจ่ายชดเชยให้สถานพยาบาลตามลำดับ มีความคิดเห็นต่อระดับความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในการปฏิบัติว่าความเพียงพอของงบประมาณรุนแรงที่สุด รองลงมาคือ ความคาดหวังต่อผู้ป่วย และความเพียงของผู้ให้บริการตามลำดับ
นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ ประธานคณะอนุกรรมการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ดำเนินโครงการสำรวจวิจัยเรื่อง ความคิดเห็นของประชาชน และผู้ให้บริการต่อโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (พ.ศ. 2555) โดยสำรวจประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วน จำนวน 2,767 ตัวอย่าง และกลุ่มผู้ให้บริการได้แก่ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล และผอ.รพ.หัวหน้าสถานีอนามัย/ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข/ตัวแทน) จำนวนทั้งสิ้น 1,364 ตัวอย่าง ทั้งนี้ ผลการสำรวจกลุ่มประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการได้รับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยให้คะแนนความพึงพอใจ (จาก 1-10 คะแนน) เฉลี่ยเท่ากับ 8.29 คะแนน ซึ่งคนที่ “เคยใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะมีความพึงพอใจสูงมากกว่าคนทั่วไป” โดยพบว่าผู้ที่เคยใช้สิทธิบัตรหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในการรักษาพยาบาลในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา มีค่าคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 8.63 คะแนน ผลสำรวจยังพบว่า ประชาชนให้ความสำคัญต่อ “คุณภาพการรักษาพยาบาลของแพทย์” มากที่สุด รองลงมาคือ คุณภาพด้านยา และคุณภาพด้านเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ตามลำดับ และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 94.8 มีความตั้งใจที่จะไปใช้บริการต่อไป
นพ.จรัล กล่าวต่อว่า ข้อสังเกตจากการศึกษากลุ่มประชาชนพบว่า ความพึงพอใจมีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มประชากร กลุ่มคนอายุมาก กลุ่มเป็นหม้าย/หย่า/แยกกันอยู่ กลุ่มคนที่มีการศึกษาต่ำ กลุ่มเกษตรกร/ประมง/รับจ้างทั่วไป กลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำ จะมีความพึงพอใจสูงมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ขณะที่กลุ่มประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความพึงพอใจสูงสุด (8.66 คะแนน) รองลงมาคือ ภาคเหนือ (8.28 คะแนน) ภาคกลาง (8.19 คะแนน) กรุงเทพ (7.90 คะแนน) และภาคใต้ (7.82 คะแนน)
นพ.จรัล กล่าวถึงผลการสำรวจกลุ่มผู้ให้บริการว่า ผู้ให้บริการมีความพึงพอใจต่อโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 7.08 คะแนน (จาก 1-10 คะแนน) ซึ่งผู้ให้บริการเล็งเห็นประโยชน์ความพอใจในผลที่เกิดกับประชาชนมากกว่าผลที่เกิดกับตนเอง และความพึงพอใจปี 2555 ดีกว่าความพึงพอใจปี 2554 ที่ได้คะแนน 6.99 ขณะที่ ผลสำรวจการให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงาน ให้ความสำคัญกับความคาดหวังของผู้ป่วยมากที่สุด 8.63 คะแนน รองลงมาคือ ความเพียงพอของงบประมาณดำเนินการ และความถูกต้องของการจ่ายชดเชยให้สถานพยาบาลตามลำดับ มีความคิดเห็นต่อระดับความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในการปฏิบัติว่าความเพียงพอของงบประมาณรุนแรงที่สุด รองลงมาคือ ความคาดหวังต่อผู้ป่วย และความเพียงของผู้ให้บริการตามลำดับ