น.พ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือ สพฉ. เปิดตัวโครงการคน กทม.รอดปลอดภัย เทิดไท้องค์ราชัน 85 พรรษา โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมการขนส่งทางบกจัดขึ้น โดยมีหน่วยกู้ภัยจากมูลนิธิต่างๆ นำรถปฏิบัติการกู้ชีพจำนวนกว่า 100 คัน มารับการตรวจมาตรฐาน และขึ้นทะเบียนรับรองว่าได้มาตรฐาน พร้อมรับมือกับเหตุฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความมั่นใจให้กับประชาชน
รถกู้ชีพที่เข้าตรวจมาตรฐานนั้น ต้องผ่านการตรวจหลักฐานทะเบียนรถ ภาพถ่ายรถ หนังสือรับรองจากต้นสังกัด การตรวจไฟวับวาบ ตรวจสภาพรถ ไฟสัญญาณที่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และอุปกรณ์มาตรฐานรถปฏิบัติการฉุกเฉิน ก่อนที่จะมีการออกหนังสือ พร้อมสติกเกอร์รับรองมาตรฐาน เพื่อนำไปติดให้กับรถ เป็นสัญลักษณ์ว่า ได้ผ่านการตรวจมาตรฐานรถ ปฏิบัติการฉุกเฉินเรียบร้อน
น.พ.ชาตรี กล่าวว่า ปัจจุบันทั่วประเทศ มีรถปฏิบัติการฉุกเฉินกว่า 12,000 คัน เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ มีจำนวน 2,000 คัน โดยการขึ้นทะเบียนในครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกของกรุงเทพมหานคร หลังจากปริมณฑลและต่างประเทศ ได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว และจากสถิติของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติพบว่า ร้อยละ 70-80 ของรถดังกล่าว สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือของประชาชนได้รวดเร็วมากกว่ารถพยาบาล ดังนั้นการขึ้นทะเบียน นอกจากจะช่วยคุ้มครองผู้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว ยังทำให้ประชาชนมั่นใจในระบบการทำงานของผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน รวมทั้งรถ และอุปกรณ์การแพทย์ฉุกเฉินว่า พร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่
โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จะเปิดรับขึ้นทะเบียน รวมทั้งเปิดให้ผู้สนใจรับการอบรมการปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น เป็นระยะเวลา 1 ปี
นอกจากนี้ ยังหารือกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในการอำนวยความสะดวกให้กับรถกู้ชีพ สามารถขึ้นท่าด่วนได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อช่วยเหลือกับผู้ป่วยได้ทันถ้วงที เนื่องจากหลายโรงพยาบาลตั้งอยู่ใกล้กับทางด่วนในหลายจุดด้วยกัน
รถกู้ชีพที่เข้าตรวจมาตรฐานนั้น ต้องผ่านการตรวจหลักฐานทะเบียนรถ ภาพถ่ายรถ หนังสือรับรองจากต้นสังกัด การตรวจไฟวับวาบ ตรวจสภาพรถ ไฟสัญญาณที่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และอุปกรณ์มาตรฐานรถปฏิบัติการฉุกเฉิน ก่อนที่จะมีการออกหนังสือ พร้อมสติกเกอร์รับรองมาตรฐาน เพื่อนำไปติดให้กับรถ เป็นสัญลักษณ์ว่า ได้ผ่านการตรวจมาตรฐานรถ ปฏิบัติการฉุกเฉินเรียบร้อน
น.พ.ชาตรี กล่าวว่า ปัจจุบันทั่วประเทศ มีรถปฏิบัติการฉุกเฉินกว่า 12,000 คัน เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ มีจำนวน 2,000 คัน โดยการขึ้นทะเบียนในครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกของกรุงเทพมหานคร หลังจากปริมณฑลและต่างประเทศ ได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว และจากสถิติของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติพบว่า ร้อยละ 70-80 ของรถดังกล่าว สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือของประชาชนได้รวดเร็วมากกว่ารถพยาบาล ดังนั้นการขึ้นทะเบียน นอกจากจะช่วยคุ้มครองผู้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว ยังทำให้ประชาชนมั่นใจในระบบการทำงานของผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน รวมทั้งรถ และอุปกรณ์การแพทย์ฉุกเฉินว่า พร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่
โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จะเปิดรับขึ้นทะเบียน รวมทั้งเปิดให้ผู้สนใจรับการอบรมการปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น เป็นระยะเวลา 1 ปี
นอกจากนี้ ยังหารือกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในการอำนวยความสะดวกให้กับรถกู้ชีพ สามารถขึ้นท่าด่วนได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อช่วยเหลือกับผู้ป่วยได้ทันถ้วงที เนื่องจากหลายโรงพยาบาลตั้งอยู่ใกล้กับทางด่วนในหลายจุดด้วยกัน