xs
xsm
sm
md
lg

สื่อนอกระบุผู้เชี่ยวชาญไม่คิดว่าชายแดนใต้จะสงบ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

“สื่อนอก” พากันสอบถามความเห็นผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยและเทศ เรื่องการลงนามเพื่อเปิดการเจรจากันระหว่าง “บีอาร์เอ็น” กับทางการไทย โดยที่มีรัฐบาลมาเลเซียเป็นคนกลาง ปรากฏว่าขณะที่หลายคนมองแง่บวกถือเป็นความคืบหน้าก้าวใหญ่ แต่ก็เตือนว่ายังไม่ได้หมายความว่าปัญหาการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะสงบลงแล้ว นอกจากนั้นผู้สันทัดกรณีหลายรายยังกังขาว่า ผู้ที่ไทยจะเจรจาด้วยเป็นตัวแทนที่สามารถควบคุมนักรบถืออาวุธในภาคสนามได้จริงหรือเปล่า ตลอดจนกลุ่มกบฎอื่นๆ นอกจากบีอาร์เอ็นจะเข้าร่วมหรือไม่

หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ รายงานความเห็นของ สุนัย ผาสุก ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการก่อความไม่สงบในภาคใต้ขององค์การฮิวแมนไรต์วอตช์ ในประเทศไทย ซึ่งกล่าวย้ำว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในคราวนี้ “เป็นเพียงการพูดจากันเพื่อที่จะได้ดำเนินการเจรจากันเท่านั้น” แต่กระนั้น “มันก็เป็นการให้คำมั่นสัญญาต่อสาธารณชนครั้งสำคัญมากครั้งหนึ่ง มันเป็นการตัดสินใจที่กล้าหาญ”

ขณะที่ รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช อดีตนักวิเคราะห์ของ อินเตอร์เนชั่นแนล ไครซิส กรุ๊ป บอกกับนิวยอร์กไทมส์ว่า การลงนามกันครั้งนี้ถือว่า “หลักหมายที่สำคัญ” แต่ก็เตือนว่า กระทั่งว่าการเจรจาจะประสบความสำเร็จในท้ายที่สุด กระบวนการในการเจรจากก็ยังจะต้องใช้เวลาเป็นปีๆ อยู่นั่นเอง โดยเธอยกตัวอย่างของกระบวนการสันติภาพระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์กับแนวร่วมปลดแอกโมโร ในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี 1996 และกว่าที่ฝ่ายต่างๆ จะบรรลุข้อตกลงกันได้ก็เพียงเมื่อปีที่แล้วนี้เอง

ทางด้าน โจนาธาน เฮด ซึ่งกลับมาทำหน้าที่ผู้สื่อข่าวประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของวิทยุและโทรทัศน์บีบีซี ระบุว่า ในอดีตได้เคยมีความพยายามกันอยู่หลายครั้งเพื่อเริ่มการเจรจากันระหว่างรัฐบาลไทยกับพวกผู้ก่อความไม่สงบมุสลิมที่สู้รบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ก็ประสบความล้มเหลวไปทุกครั้ง

ทว่าสิ่งที่คราวนี้แตกต่างไปจากคราวก่อนๆ ก็คือ ทั้งสองฝ่ายได้มีการลงนามกันในข้อตกลงที่จะเริ่มการเจรจากัน โดยที่นายกรัฐมนตรีของไทยและของมาเลเซียได้ร่วมในการประโคมข่าวเรื่องนี้ด้วย สิ่งนี้จึงเป็นการผูกมัดทั้งสองฝ่ายให้ยึดมั่นอยู่กับกระบวนการเจรจา

เฮด ชี้ด้วยว่า ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่รัฐไทยยอมรับพวกผู้ก่อความไม่สงบ ตลอดจนพร้อมที่จะรับฟังและหารือข้อเสนอต่างๆ ของพวกเขา เรื่องนี้ถือเป็นการผ่าทางตันหลังจากที่พวกผู้ก่อความไม่สงบกลุ่มใหญ่ประสบความล้มเหลวในการเข้าตีฐานของทหารไทยแห่งหนึ่งเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งทำให้พวกเขาถูกสังหารไป 16 คน ทั้งนี้เหตุการณ์ดังกล่าวดูเหมือนจะสั่นสะเทือนทำให้รัฐบาลไทยหันมาทำความตกลงกับพวกผู้ก่อความไม่สงบ แทนที่จะตอบโต้แก้เผ็ดการเข้าโจมตีด้วยกำลัง

อย่างไรก็ดี ผู้สื่อข่าวบีบีซีผู้นี้บอกว่า ตอนนี้กระบวนการเจรจาเพิ่งจะเริ่มต้นขึ้น กระบวนการนี้ยังไม่ได้ผ่านการทดสอบและยังอาจจะสะดุดติดขัดได้จากประเด็นปัญหาต่างๆ จำนวนมาd
กำลังโหลดความคิดเห็น