น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ อาทิ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงห์แก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ สหพันธรัฐมาเลเซีย เพื่อเข้าร่วมประชุมหารือประจำปีระหว่างไทย-มาเลเซีย (Annual Consultation) ครั้งที่ 5 โดยมีตัวแทนทั้งฝ่ายไทยและมาเลเซียให้การต้อนรับ
จากนั้น คณะของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เดินทางมายังทำเนียบนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย โดยมี นายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ใหัการต้อนรับด้วยตนเอง ก่อนเข้าร่วมหารือทวิภาคีในประเด็นความร่วมมือต่างๆ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ ส่งเสริมความร่วมมือด้านต่าง ๆ อาทิ การแก้ไขสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ เร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ด้วยการก่อสร้างเศรษฐกิจพิเศษด่านสะเดา บูกิต กายูฮีดัม รวมทั้งโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำดกลกสองแห่งเชื่อมโยงตากใบกับเบิงกาลันกุโบและสุไหงโกลกกับลันเตาปันยังให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ การสานต่อความร่วมมือด้านการศึกษา การจ้างงาน และการประกอบธุรกิจการค้าการลงทุนระหว่างภาคเอกชนในพื้นที่ชายแดนสองประเทศ รวมไปถึงส่งเสริมความร่วมมือแรงงานไทยในร้านอาหารต้มยำกุ้งในประเทศมาเลเซียให้ทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และจะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย
ทั้งนี้ จะมีการเร่งรัดการดำเนินงานความร่วมมืออีก 8 ด้าน อาทิ การตรวจคนเข้าเมือง และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับบุคลสองสัญชาติ ความร่วมมือด้านอาชญากรรมข้ามชาติ การโอนตัวนักโทษ การทบทวนสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ความร่วมมือด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ และการขนส่งสินค้าตามแนวชายแดน
ภายหลังการหารือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และนายนาจิบ ได้ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามความตกลง และบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) อาทิ ความตกลงว่าด้วยการเดินทางข้ามแดน ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการข้มแดนระหว่างประชาชนในพื้นที่และตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านเยาวชนและกีฬา ซึงจะช่วยส่งเสริมมิตรภาพและเจตนารมณ์อันดีระหว่างสองประเทศในการเตรียมเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 และเห็นพ้องที่จะจัดการประชุมหารือประจำปีครั้งต่อไปซึ่งนับเป็นครั้งที่ 6 ที่ประเทศไทยด้วย
โดยในระหว่างแถลงข่าวร่วมกัน นายราจิบได้กล่าวตอนหนึ่งว่า มีความยินดีที่จะอำนวยความสะดวกในการหารือแนวทางการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ของไทยกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง และมีความยินดีที่มีการลงนามร่วมกันระหว่าง พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาฯ สมช.ของไทย กับตัวแทนกลุ่มบีอาร์เอ็น โดยต่อไปนี้จะเห็นการพูดคุยและเจรจาเพื่อแก้ปัญหาภาคใต้ของไทย ซึ่งตนหวังว่าจะได้ผลที่น่ายินดีกับประชาชนในพื้นที่ภาคใต้
ทั้งนี้เห็นว่าการเริ่มหารือในครั้งนี้ต้องชื่นชม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ผลักดันให้เกิดการเจรจาดังกล่าว หลังจากนี้เชื่อว่าจะมีการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนเพื่อนำไปสู่สันติภาพ โดยเปลี่ยนพื้นที่รุนแรงเป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนา และย้ำว่ามาเลเซียยินดีให้ความร่วมมือในฐานะผู้อำนวยความสะดวกและเป็นผู้หารือกับคณะทำงานร่วมกันระหว่างไทยกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียและสนับสนุนคณะทำงานให้เกิดผลโดยคาดว่าอีกสองสัปดาห์จะมีการตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ไทยกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
นอกจากนี้ ในระหว่างการตอบคำถามสื่อมวลชน นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ยังยอมรับด้วยว่า การเจรจาระหว่างเลขาฯ สมช.และกลุ่มบีอาร์เอ็นที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการผลักดันของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ในอนาคตมาเลเซียพร้อมที่จะเป็นคนกลางและเปิดเวทีในการพูดคุย เพื่อเดินหน้ากระบวนการสันติภาพให้เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ของไทยด้วย
จากนั้น คณะของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เดินทางมายังทำเนียบนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย โดยมี นายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ใหัการต้อนรับด้วยตนเอง ก่อนเข้าร่วมหารือทวิภาคีในประเด็นความร่วมมือต่างๆ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ ส่งเสริมความร่วมมือด้านต่าง ๆ อาทิ การแก้ไขสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ เร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ด้วยการก่อสร้างเศรษฐกิจพิเศษด่านสะเดา บูกิต กายูฮีดัม รวมทั้งโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำดกลกสองแห่งเชื่อมโยงตากใบกับเบิงกาลันกุโบและสุไหงโกลกกับลันเตาปันยังให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ การสานต่อความร่วมมือด้านการศึกษา การจ้างงาน และการประกอบธุรกิจการค้าการลงทุนระหว่างภาคเอกชนในพื้นที่ชายแดนสองประเทศ รวมไปถึงส่งเสริมความร่วมมือแรงงานไทยในร้านอาหารต้มยำกุ้งในประเทศมาเลเซียให้ทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และจะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย
ทั้งนี้ จะมีการเร่งรัดการดำเนินงานความร่วมมืออีก 8 ด้าน อาทิ การตรวจคนเข้าเมือง และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับบุคลสองสัญชาติ ความร่วมมือด้านอาชญากรรมข้ามชาติ การโอนตัวนักโทษ การทบทวนสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ความร่วมมือด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ และการขนส่งสินค้าตามแนวชายแดน
ภายหลังการหารือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และนายนาจิบ ได้ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามความตกลง และบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) อาทิ ความตกลงว่าด้วยการเดินทางข้ามแดน ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการข้มแดนระหว่างประชาชนในพื้นที่และตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านเยาวชนและกีฬา ซึงจะช่วยส่งเสริมมิตรภาพและเจตนารมณ์อันดีระหว่างสองประเทศในการเตรียมเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 และเห็นพ้องที่จะจัดการประชุมหารือประจำปีครั้งต่อไปซึ่งนับเป็นครั้งที่ 6 ที่ประเทศไทยด้วย
โดยในระหว่างแถลงข่าวร่วมกัน นายราจิบได้กล่าวตอนหนึ่งว่า มีความยินดีที่จะอำนวยความสะดวกในการหารือแนวทางการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ของไทยกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง และมีความยินดีที่มีการลงนามร่วมกันระหว่าง พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาฯ สมช.ของไทย กับตัวแทนกลุ่มบีอาร์เอ็น โดยต่อไปนี้จะเห็นการพูดคุยและเจรจาเพื่อแก้ปัญหาภาคใต้ของไทย ซึ่งตนหวังว่าจะได้ผลที่น่ายินดีกับประชาชนในพื้นที่ภาคใต้
ทั้งนี้เห็นว่าการเริ่มหารือในครั้งนี้ต้องชื่นชม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ผลักดันให้เกิดการเจรจาดังกล่าว หลังจากนี้เชื่อว่าจะมีการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนเพื่อนำไปสู่สันติภาพ โดยเปลี่ยนพื้นที่รุนแรงเป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนา และย้ำว่ามาเลเซียยินดีให้ความร่วมมือในฐานะผู้อำนวยความสะดวกและเป็นผู้หารือกับคณะทำงานร่วมกันระหว่างไทยกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียและสนับสนุนคณะทำงานให้เกิดผลโดยคาดว่าอีกสองสัปดาห์จะมีการตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ไทยกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
นอกจากนี้ ในระหว่างการตอบคำถามสื่อมวลชน นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ยังยอมรับด้วยว่า การเจรจาระหว่างเลขาฯ สมช.และกลุ่มบีอาร์เอ็นที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการผลักดันของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ในอนาคตมาเลเซียพร้อมที่จะเป็นคนกลางและเปิดเวทีในการพูดคุย เพื่อเดินหน้ากระบวนการสันติภาพให้เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ของไทยด้วย