ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ระบุเศรษฐกิจอเมริกายังต้องการมาตรการกระตุ้น พร้อมเตือนสมาชิกรัฐสภาอเมริกันหาทางหลีกเลี่ยงไม่ให้ต้องดำเนินมาตรการลดงบประมาณรายจ่ายแบบเหมารวมโดยอัตโนมัติครั้งมโหฬารซึ่งกำลังจะจะมีผลในวันศุกร์ (1มี.ค.)นี้ เนื่องจากจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่อยู่ในอาการไม่คงเส้นคงวาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
ระหว่างการแถลงให้ปากคำรอบครึ่งปีต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารของวุฒิสภาในวันอังคาร (26) ที่ผ่านมา เบน เบอร์นันกี ประธานเฟดย้ำว่า อัตราว่างงานที่สูงลิบยังคงเป็นความท้าทายสำคัญต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ดังนั้น โครงการซื้อพันธบัตรเพิ่มเติมเดือนละ 85,000 ล้านดอลลาร์ หรือที่เรียกขานกันว่ามาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบที่ 3 (QE3) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อดึงอัตราดอกเบี้ยระยะยาวให้ต่ำลง จะได้ส่งเสริมเอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จึงยังคงสมควรดำเนินการต่อไป เขาระบุด้วยว่าเท่าที่ผ่านมานโยบายนี้ได้ช่วยกระตุ้นตลาดที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรมการผลิต และยอดจำหน่ายรถยนต์รวมทั้งสินค้าคงทนอื่นๆ อีกทั้งยังส่งเสริมตลาดแรงงาน
แต่ในอีกด้านหนึ่ง เบอร์นันกีเตือนว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯที่อัตราการเติบโตยังไม่คงเส้นคงวา อาจได้รับผลกระทบกระเทือนจากมาตรการตัดลดงบประมาณแบบเหมารวมอย่างอัตโนมัติครั้งมโหฬาร ซึ่งเรียกขานกันว่า Sequester ที่จะเริ่มมีผลตั้งแต่วันศุกร์(1 มี.ค.) นี้ ถ้าหากพวกนักการเมืองในคณะรัฐบาลและรัฐสภาของสหรัฐฯยังไม่สามารถประนีประนอมกันเพื่อออกมาตรการอื่นๆ มาบังคับใช้แทนได้สำเร็จ
ประธานเฟดแนะนำว่า รัฐสภาและคณะรัฐบาลควรพิจารณาใช้นโยบายที่จะลดยอดขาดดุลงบประมาณแบบค่อยเป็นค่อยไป แทนการตัดลดงบประมาณรายจ่ายก้อนใหญ่ในทันที ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานงบประมาณรัฐสภาระบุว่า หากบังคับใช้มาตรการลดรายจ่ายแบบเหมารวมโดยอัตโนมัติ ในช่วงตลอด 7 เดือนที่เหลือของปีงบประมาณปัจจุบัน (มี.ค.-ก.ย.2013) จะทำให้อัตราเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯหดหายไป 0.6% ซึ่งมีนัยสำคัญมากต่อเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่สม่ำเสมอ ทั้งนี้ เป็นที่คาดหมายกันว่า หากไม่ถูกกระทบด้วยมาตรการ sequester เศรษฐกิจสหรัฐฯน่าจะขยายตัวได้ราว 2% ขึ้นไปในปีนี้
ระหว่างการแถลงให้ปากคำรอบครึ่งปีต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารของวุฒิสภาในวันอังคาร (26) ที่ผ่านมา เบน เบอร์นันกี ประธานเฟดย้ำว่า อัตราว่างงานที่สูงลิบยังคงเป็นความท้าทายสำคัญต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ดังนั้น โครงการซื้อพันธบัตรเพิ่มเติมเดือนละ 85,000 ล้านดอลลาร์ หรือที่เรียกขานกันว่ามาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบที่ 3 (QE3) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อดึงอัตราดอกเบี้ยระยะยาวให้ต่ำลง จะได้ส่งเสริมเอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จึงยังคงสมควรดำเนินการต่อไป เขาระบุด้วยว่าเท่าที่ผ่านมานโยบายนี้ได้ช่วยกระตุ้นตลาดที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรมการผลิต และยอดจำหน่ายรถยนต์รวมทั้งสินค้าคงทนอื่นๆ อีกทั้งยังส่งเสริมตลาดแรงงาน
แต่ในอีกด้านหนึ่ง เบอร์นันกีเตือนว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯที่อัตราการเติบโตยังไม่คงเส้นคงวา อาจได้รับผลกระทบกระเทือนจากมาตรการตัดลดงบประมาณแบบเหมารวมอย่างอัตโนมัติครั้งมโหฬาร ซึ่งเรียกขานกันว่า Sequester ที่จะเริ่มมีผลตั้งแต่วันศุกร์(1 มี.ค.) นี้ ถ้าหากพวกนักการเมืองในคณะรัฐบาลและรัฐสภาของสหรัฐฯยังไม่สามารถประนีประนอมกันเพื่อออกมาตรการอื่นๆ มาบังคับใช้แทนได้สำเร็จ
ประธานเฟดแนะนำว่า รัฐสภาและคณะรัฐบาลควรพิจารณาใช้นโยบายที่จะลดยอดขาดดุลงบประมาณแบบค่อยเป็นค่อยไป แทนการตัดลดงบประมาณรายจ่ายก้อนใหญ่ในทันที ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานงบประมาณรัฐสภาระบุว่า หากบังคับใช้มาตรการลดรายจ่ายแบบเหมารวมโดยอัตโนมัติ ในช่วงตลอด 7 เดือนที่เหลือของปีงบประมาณปัจจุบัน (มี.ค.-ก.ย.2013) จะทำให้อัตราเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯหดหายไป 0.6% ซึ่งมีนัยสำคัญมากต่อเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่สม่ำเสมอ ทั้งนี้ เป็นที่คาดหมายกันว่า หากไม่ถูกกระทบด้วยมาตรการ sequester เศรษฐกิจสหรัฐฯน่าจะขยายตัวได้ราว 2% ขึ้นไปในปีนี้