นายธนรัชต์ ภุมมะกสิกร ผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า หลังรับแจ้งว่าพม่าหยุดจ่ายก๊าซในช่วงวันที่ 5 ถึง 13 เมษายน 2556 ซึ่งมีผลกระทบต่อการเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า และความเสี่ยงที่อาจมีไฟฟ้าดับ หรือไฟตกในพื้นที่ภาคใต้และกรุงเทพมหานคร และผลต่อระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าของประเทศไทยโดยตรง ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้เตรียมแผนรองรับแก้ไขปัญหาดังกล่าว ให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
สำหรับเขื่อนสิริกิติ์เป็นเขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุด สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 500,000 กิโลวัตต์ ช่วยเสริมระบบไฟฟ้าของประเทศให้มั่นคงยิ่งขึ้น แต่การผลิตกระแสไฟฟ้าของเขื่อนสิริกิติ์ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่ปล่อยออก เพื่อการชลประทานจะผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และเข้าสู่กระบวนการจ่ายกระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตไปยังการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ
นายธนวัชต์ กล่าวต่อไปว่า แต่ด้วยปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนสิริกิติ์ปัจจุบันเฉลี่ยวันละ 2 ล้านลูกบาศก์เมตร เหตุจากฝนที่ทิ้งช่วง ทำให้ระดับน้ำที่สามารถใช้งานได้อยู่ที่ 1,646 ล้าน ลูกบาศก์เมตร หรือ ร้อยละ 24.70 เป็นปริมาณน้ำที่ต่ำกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึง 11 เมตร หรือ 5,030 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยปีที่ผ่านมาเขื่อนสิริกิติ์เก็บกักน้ำได้มากถึง 6,678 ล้าน ลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 70.23 เมื่อการพร่องน้ำของเขื่อนขึ้นอยู่กับความต้องการใช้น้ำของกรมชลประทาน และมติที่ประชุมของคณะอนุกรรมการติดตาม และวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ช่วงภัยแล้งนี้มีการระบายน้ำเฉลี่ยวันละ 25 ล้าน ลูกบาศก์เมตร
ทั้งนี้ทุกปีที่ผ่านมา เมื่อเข้าสู่เดือนเมษายนจะพร่องน้ำลดลงประมาณ 15-20 ล้านลูกบาศก์เมตร สวนทางกับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชนที่สูงสุด แต่ปีนี้ด้วยผลกระทบจากพม่าหยุดจ่ายก๊าซ อาจมีการปรับแผนทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกรมชลประทาน แต่ต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำต้นทุนที่เก็บกักไว้ด้วย
อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาที่ดี และทำได้ง่ายที่สุดคือ การประหยัดการใช้ไฟฟ้า การรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงการขาดแคลนพลังงานไม่เฉพาะไฟฟ้ารวมไปถึงทรัพยากรธรรมชาติที่มีวันหมด ยิ่งต้องพึ่งพาต่างประเทศยิ่งต้องให้ความสำคัญ และต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เฉพาะเหตุวิกฤตเท่านั้น
สำหรับเขื่อนสิริกิติ์เป็นเขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุด สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 500,000 กิโลวัตต์ ช่วยเสริมระบบไฟฟ้าของประเทศให้มั่นคงยิ่งขึ้น แต่การผลิตกระแสไฟฟ้าของเขื่อนสิริกิติ์ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่ปล่อยออก เพื่อการชลประทานจะผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และเข้าสู่กระบวนการจ่ายกระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตไปยังการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ
นายธนวัชต์ กล่าวต่อไปว่า แต่ด้วยปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนสิริกิติ์ปัจจุบันเฉลี่ยวันละ 2 ล้านลูกบาศก์เมตร เหตุจากฝนที่ทิ้งช่วง ทำให้ระดับน้ำที่สามารถใช้งานได้อยู่ที่ 1,646 ล้าน ลูกบาศก์เมตร หรือ ร้อยละ 24.70 เป็นปริมาณน้ำที่ต่ำกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึง 11 เมตร หรือ 5,030 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยปีที่ผ่านมาเขื่อนสิริกิติ์เก็บกักน้ำได้มากถึง 6,678 ล้าน ลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 70.23 เมื่อการพร่องน้ำของเขื่อนขึ้นอยู่กับความต้องการใช้น้ำของกรมชลประทาน และมติที่ประชุมของคณะอนุกรรมการติดตาม และวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ช่วงภัยแล้งนี้มีการระบายน้ำเฉลี่ยวันละ 25 ล้าน ลูกบาศก์เมตร
ทั้งนี้ทุกปีที่ผ่านมา เมื่อเข้าสู่เดือนเมษายนจะพร่องน้ำลดลงประมาณ 15-20 ล้านลูกบาศก์เมตร สวนทางกับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชนที่สูงสุด แต่ปีนี้ด้วยผลกระทบจากพม่าหยุดจ่ายก๊าซ อาจมีการปรับแผนทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกรมชลประทาน แต่ต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำต้นทุนที่เก็บกักไว้ด้วย
อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาที่ดี และทำได้ง่ายที่สุดคือ การประหยัดการใช้ไฟฟ้า การรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงการขาดแคลนพลังงานไม่เฉพาะไฟฟ้ารวมไปถึงทรัพยากรธรรมชาติที่มีวันหมด ยิ่งต้องพึ่งพาต่างประเทศยิ่งต้องให้ความสำคัญ และต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เฉพาะเหตุวิกฤตเท่านั้น