ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ความดีที่จะทำ ความชั่วที่จะละ และจิตใจที่บริสุทธิ์ของคนไทยในวันมาฆบูชา กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา นครปฐม สมุทรปราการ อุตรดิตถ์ ลำปาง เชียงราย มุกดาหาร หนองคาย สกลนคร ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ เลย ยะลา นราธิวาส และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 1,839 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 18 - 23 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน ช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบว่าประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.1 ทราบว่า วันมาฆบูชาที่จะถึงนี้คือวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556
อย่างไรก็ตาม ที่น่าห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.6 ไม่ทราบถึงหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงในวันมาฆบูชา มีเพียงร้อยละ 18.4 ที่ระบุทราบและตอบได้คือ โอวาทปาติโมกข์ยิ่งไปกว่านั้นในกลุ่มคนที่ตอบได้ถูกต้องว่าคือ โอวาทปาติโมกข์นั้นมีเพียงร้อยละ 38.9 ที่ตอบได้ว่าเนื้อหาสาระคือ ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.1 ตอบไม่ได้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระธรรมของโอวาทปาติโมกข์
อย่างไรก็ตาม ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 88.8 ตอบได้ว่า ความดีที่ตั้งใจจะทำในวันมาฆบูชาอันดับแรกคือ การทำบุญตักบาตร รองลงมาคือ ร้อยละ 88.1 ดูแลเอาใจใส่คนในครอบครัว ร้อยละ 73.9 ระบุมีความเมตตา กรุณา มีน้ำใจ ให้อภัยผู้อื่น ในขณะที่ร้อยละ 61.9 ระบุไปเวียนเทียน ร้อยละ 45.1 ระบุถวายสังฆทาน ร้อยละ 40.2 ระบุฟังธรรมเทศนา ร้อยละ 39.0 ระบุทำความสะอาดบ้าน ร้อยละ 26.7 ระบุช่วยทำประโยชน์ต่อสังคม เช่น ปลูกต้นไม้ ทำความสะอาดที่สาธารณะ และร้อยละ 16.3 ระบุอื่นๆ เช่น ช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก ทำทานสงเคราะห์ผู้อื่น เป็นต้นที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึงความชั่วที่จะละเว้น และจะชักชวนคนอื่นให้ละเว้นในวันมาฆบูชา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.4 ระบุ ไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้าย ไม่ใส่ร้ายผู้อื่น รองลงมาคือ ร้อยละ 72.6 ไม่โกรธ ไม่โมโห ร้อยละ 68.1 ไม่พูดโกหก ไม่ทุจริตคดโกง ร้อยละ 59.8 ไม่เล่นการพนัน ร้อยละ 59.5 ไม่ทะเลาะวิวาทผู้อื่น ร้อยละ 56.3 ไม่ลักขโมย ร้อยละ 52.9 เลิกแบ่งสี เลิกแตกแยกกันในหมู่ประชาชน ร้อยละ 48.9 ไม่ดื่มเหล้า ร้อยละ 47.7 ไม่นอกใจคู่รัก ร้อยละ 32.8 เลิกสูบบุหรี่ และร้อยละ 20.5 ระบุอื่นๆ เช่น ไม่นินทาว่าร้าย ไม่รังแกสัตว์ ไม่กลั่นแกล้งผู้อื่น เป็นต้นที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงวิธีที่แสดงออกถึงความมีจิตใจที่บริสุทธิ์ของคนคืออะไรบ้าง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.5 ระบุ รอยยิ้ม รองลงมาคือร้อยละ 65.9 ระบุแววตา ร้อยละ 60.7 ระบุสีหน้า ใบหน้า ร้อยละ 58.2 ระบุกิริยาท่าทาง ร้อยละ 51.4 ระบุสำเนียง การพูด และร้อยละ 9.2 ระบุอื่นๆ เช่น การกระพริบตา การมีสมาธิ ปัญญา สติ เป็นต้น และผลสำรวจยังพบด้วยว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.7 เห็นว่ารัฐบาลควรดำเนินการส่งเสริมงานด้านพระพุทธศาสนาให้มากขึ้นกว่านี้
ดร.นพดล กล่าวต่อไปว่า ถึงแม้คนไทยส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงเนื้อหาสาระธรรมของโอวาทปาติโมกข์ แต่คนไทยส่วนใหญ่มีความตั้งใจจะทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ อันแสดงให้เห็นว่าคนไทยพร้อม และตั้งใจปฏิบัติตามเนื้อหาสาระธรรมของหลักธรรมในวันมาฆบูชานี้ และสิ่งที่น่าพิจารณาต่อไปคือ รัฐบาลพร้อมกับกลไกของรัฐและประชาชนคนไทยทั้งประเทศต้องช่วยกันรณรงค์เสริมสร้างบรรยากาศแห่งการทำความดีนี้มีอยู่ตลอดไปในสังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง ความกตัญญูรู้คุณแผ่นดิน เพื่อจะรวมทุกคนในชาติเป็นหนึ่งเดียวกันโดยรักษาไว้ด้วยความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติที่ทุกคนเห็นบนผืนธงไตรรงค์ของชาติ ทั้งสีแดงของสถาบันชาติ สีขาวของสถาบันศาสนา และสีน้ำเงินอันหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.4 เป็นชาย ร้อยละ 52.6 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 4.7 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 20.8 อายุระหว่าง 20–29 ปี ร้อยละ 20.3 อายุระหว่าง 30–39 ปี ร้อยละ 19.2 อายุระหว่าง 40–49 ปี และ ร้อยละ 35.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 74.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 22.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในขณะที่ร้อยละ 3.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 33.5 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 31.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 8.7 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 8.6 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.4 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 7.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 3.2 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
อย่างไรก็ตาม ที่น่าห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.6 ไม่ทราบถึงหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงในวันมาฆบูชา มีเพียงร้อยละ 18.4 ที่ระบุทราบและตอบได้คือ โอวาทปาติโมกข์ยิ่งไปกว่านั้นในกลุ่มคนที่ตอบได้ถูกต้องว่าคือ โอวาทปาติโมกข์นั้นมีเพียงร้อยละ 38.9 ที่ตอบได้ว่าเนื้อหาสาระคือ ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.1 ตอบไม่ได้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระธรรมของโอวาทปาติโมกข์
อย่างไรก็ตาม ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 88.8 ตอบได้ว่า ความดีที่ตั้งใจจะทำในวันมาฆบูชาอันดับแรกคือ การทำบุญตักบาตร รองลงมาคือ ร้อยละ 88.1 ดูแลเอาใจใส่คนในครอบครัว ร้อยละ 73.9 ระบุมีความเมตตา กรุณา มีน้ำใจ ให้อภัยผู้อื่น ในขณะที่ร้อยละ 61.9 ระบุไปเวียนเทียน ร้อยละ 45.1 ระบุถวายสังฆทาน ร้อยละ 40.2 ระบุฟังธรรมเทศนา ร้อยละ 39.0 ระบุทำความสะอาดบ้าน ร้อยละ 26.7 ระบุช่วยทำประโยชน์ต่อสังคม เช่น ปลูกต้นไม้ ทำความสะอาดที่สาธารณะ และร้อยละ 16.3 ระบุอื่นๆ เช่น ช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก ทำทานสงเคราะห์ผู้อื่น เป็นต้นที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึงความชั่วที่จะละเว้น และจะชักชวนคนอื่นให้ละเว้นในวันมาฆบูชา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.4 ระบุ ไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้าย ไม่ใส่ร้ายผู้อื่น รองลงมาคือ ร้อยละ 72.6 ไม่โกรธ ไม่โมโห ร้อยละ 68.1 ไม่พูดโกหก ไม่ทุจริตคดโกง ร้อยละ 59.8 ไม่เล่นการพนัน ร้อยละ 59.5 ไม่ทะเลาะวิวาทผู้อื่น ร้อยละ 56.3 ไม่ลักขโมย ร้อยละ 52.9 เลิกแบ่งสี เลิกแตกแยกกันในหมู่ประชาชน ร้อยละ 48.9 ไม่ดื่มเหล้า ร้อยละ 47.7 ไม่นอกใจคู่รัก ร้อยละ 32.8 เลิกสูบบุหรี่ และร้อยละ 20.5 ระบุอื่นๆ เช่น ไม่นินทาว่าร้าย ไม่รังแกสัตว์ ไม่กลั่นแกล้งผู้อื่น เป็นต้นที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงวิธีที่แสดงออกถึงความมีจิตใจที่บริสุทธิ์ของคนคืออะไรบ้าง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.5 ระบุ รอยยิ้ม รองลงมาคือร้อยละ 65.9 ระบุแววตา ร้อยละ 60.7 ระบุสีหน้า ใบหน้า ร้อยละ 58.2 ระบุกิริยาท่าทาง ร้อยละ 51.4 ระบุสำเนียง การพูด และร้อยละ 9.2 ระบุอื่นๆ เช่น การกระพริบตา การมีสมาธิ ปัญญา สติ เป็นต้น และผลสำรวจยังพบด้วยว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.7 เห็นว่ารัฐบาลควรดำเนินการส่งเสริมงานด้านพระพุทธศาสนาให้มากขึ้นกว่านี้
ดร.นพดล กล่าวต่อไปว่า ถึงแม้คนไทยส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงเนื้อหาสาระธรรมของโอวาทปาติโมกข์ แต่คนไทยส่วนใหญ่มีความตั้งใจจะทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ อันแสดงให้เห็นว่าคนไทยพร้อม และตั้งใจปฏิบัติตามเนื้อหาสาระธรรมของหลักธรรมในวันมาฆบูชานี้ และสิ่งที่น่าพิจารณาต่อไปคือ รัฐบาลพร้อมกับกลไกของรัฐและประชาชนคนไทยทั้งประเทศต้องช่วยกันรณรงค์เสริมสร้างบรรยากาศแห่งการทำความดีนี้มีอยู่ตลอดไปในสังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง ความกตัญญูรู้คุณแผ่นดิน เพื่อจะรวมทุกคนในชาติเป็นหนึ่งเดียวกันโดยรักษาไว้ด้วยความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติที่ทุกคนเห็นบนผืนธงไตรรงค์ของชาติ ทั้งสีแดงของสถาบันชาติ สีขาวของสถาบันศาสนา และสีน้ำเงินอันหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.4 เป็นชาย ร้อยละ 52.6 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 4.7 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 20.8 อายุระหว่าง 20–29 ปี ร้อยละ 20.3 อายุระหว่าง 30–39 ปี ร้อยละ 19.2 อายุระหว่าง 40–49 ปี และ ร้อยละ 35.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 74.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 22.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในขณะที่ร้อยละ 3.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 33.5 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 31.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 8.7 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 8.6 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.4 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 7.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 3.2 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ