นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ยืนยันว่านโยบายการปรับโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ภาคครัวเรือนจาก 18.13 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 24.84 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริง ภายในปี 2556 จะไม่ทำให้ครัวเรือนได้รับผลกระทบ เพราะครัวเรือนส่วนหนึ่งจะได้รับการอุดหนุนเนื่องจากมีรายได้น้อยราว 8.4 ล้านครัวเรือน อีกส่วนจะมีภาระการจ่ายแอลพีจีเพิ่มเพียง 20 บาทต่อเดือน ขณะที่ร้านอาหารรายใหญ่ที่รัฐบาลไม่เข้าไปอุดหนุนจะมีต้นทุนแอลพีจีกระทบข้าวแกงไม่เกิน 35 สตางค์ต่อจาน ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่ร้านอาหารจะปรับราคาสินค้าจากนโยบายการปรับขึ้นราคาแอลพีจี
นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องเร่งดำเนินการปรับโครงสร้างราคาแอลพีจี เพราะนอกจากจะยกเลิกโครงการประชานิยมแล้ว ยังแก้ปัญหาการลักลอบการนำแอลพีจีออกไปจำหน่ายในประเทศเพื่อนบ้านที่ปัจจุบันมีสัดส่วนสูงเพิ่มอย่างต่อเนื่อง เพราะราคาในประเทศเวียดนามอยู่ที่ 59 บาทต่อกิโลกรัม ลาว 49 บาทต่อกิโลกรัม กัมพูชา 45 บาทต่อกิโลกรัม พม่า 34 บาทต่อกิโลกรัม มาเลเซีย 20 บาทต่อกิโลกรัม และอินโดนีเซีย 23 บาทต่อกิโลกรัม
นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า ในปี 2555 ที่ผ่านมากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ชดเชยการนำเข้าแอลพีจีสูงถึง 32,000 ล้านบาท เมื่อรวมตั้งแต่ปี 2551-2555 กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต้องอุดหนุนราคาแอลพีจีรวมกับการชดเชยการนำเข้ามูลค่า 95,400 ล้านบาท คาดว่าในปี 2556 ไทยจะต้องนำเข้าอีกไม่น้อยกว่า 1.3 ล้านตัน
นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องเร่งดำเนินการปรับโครงสร้างราคาแอลพีจี เพราะนอกจากจะยกเลิกโครงการประชานิยมแล้ว ยังแก้ปัญหาการลักลอบการนำแอลพีจีออกไปจำหน่ายในประเทศเพื่อนบ้านที่ปัจจุบันมีสัดส่วนสูงเพิ่มอย่างต่อเนื่อง เพราะราคาในประเทศเวียดนามอยู่ที่ 59 บาทต่อกิโลกรัม ลาว 49 บาทต่อกิโลกรัม กัมพูชา 45 บาทต่อกิโลกรัม พม่า 34 บาทต่อกิโลกรัม มาเลเซีย 20 บาทต่อกิโลกรัม และอินโดนีเซีย 23 บาทต่อกิโลกรัม
นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า ในปี 2555 ที่ผ่านมากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ชดเชยการนำเข้าแอลพีจีสูงถึง 32,000 ล้านบาท เมื่อรวมตั้งแต่ปี 2551-2555 กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต้องอุดหนุนราคาแอลพีจีรวมกับการชดเชยการนำเข้ามูลค่า 95,400 ล้านบาท คาดว่าในปี 2556 ไทยจะต้องนำเข้าอีกไม่น้อยกว่า 1.3 ล้านตัน