นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลการวิเคราะห์ทิศทางการส่งออกของไทยในปี 2556 โดยคาดการณ์ว่าการส่งออกของไทยยังไม่ดีนัก ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวอยู่ในกรอบร้อยละ 3.1-7.2 หรือคิดเป็นมูลค่า 238,175-246,685 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับปัจจัยเสี่ยงยังเป็นความผันผวนจากเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทยยังมีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่อง โดยคาดว่าการส่งออกของไทยไปตลาดหลักจะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.5 โดยสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.1 แต่ตลาดสหภาพยุโรป หรือ อียู จะลดลงร้อยละ 3.6
เช่นเดียวกับตลาดญี่ปุ่นที่ลดลงร้อยละ 3.1 และปัจจัยจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ทำให้ภาระต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาลดลง รวมทั้งแนวโน้มราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกลดลง และอัตราแลกเปลี่ยนมีทิศทางแข็งค่าขึ้น โดยมองว่าสินค้าที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดยังเป็นข้าวที่ราคาสูงกว่าคู่แข่ง ประกอบกับประเทศคู่แข่งอย่างพม่า กัมพูชา เพิ่มเป้าหมายการส่งออก และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ขาดแคลนแรงงาน และต้นทุนแรงงานสูงขึ้น รวมทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมกุ้งแช่เย็นและแช่แข็ง
ทั้งนี้ กรอบการส่งออกประเมินไว้ที่ร้อยละ 3.1-7.2 โดยตลาดสำคัญที่จะผลักดันการส่งออกยังเป็นตลาดอาเซียนและเอเชีย เพราะไทยพึ่งพาการส่งออกไปตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยในปี 2556 คาดว่าการส่งออกไปตลาดอาเซียนจะขยายตัวร้อยละ 8.21 จากปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.43 เพื่อจะมาชดเชยตลาดหลักของไทย เพราะทั้งอียู ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ แม้ว่าจะมีมาตรการต่างๆ ออกมา แต่ต้องรอดูเกี่ยวกับการใช้มาตรการปรับเพดานหนี้สหรัฐฯ ที่จะประกาศวันที่ 1 มีนาคมนี้ ก่อน
ดังนั้น จึงเชื่อว่าหากตลาดหลักมีการปรับตัวดีน่าจะทำให้การส่งออกของไทยในช่วงครึ่งปีหลังปรับตัวดีขึ้นได้ แต่เชื่อว่ายังไม่ถึง 2 หลักอย่างแน่นอน โดยคาดว่าในไตรมาสแรกจะขยายตัวร้อยละ 3.5 มูลค่า 55,000-57,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ยังขยายตัวน้อยกว่าไตรมาสสุดท้ายของปี 2555
สำหรับปัจจัยเสี่ยงยังเป็นความผันผวนจากเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทยยังมีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่อง โดยคาดว่าการส่งออกของไทยไปตลาดหลักจะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.5 โดยสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.1 แต่ตลาดสหภาพยุโรป หรือ อียู จะลดลงร้อยละ 3.6
เช่นเดียวกับตลาดญี่ปุ่นที่ลดลงร้อยละ 3.1 และปัจจัยจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ทำให้ภาระต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาลดลง รวมทั้งแนวโน้มราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกลดลง และอัตราแลกเปลี่ยนมีทิศทางแข็งค่าขึ้น โดยมองว่าสินค้าที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดยังเป็นข้าวที่ราคาสูงกว่าคู่แข่ง ประกอบกับประเทศคู่แข่งอย่างพม่า กัมพูชา เพิ่มเป้าหมายการส่งออก และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ขาดแคลนแรงงาน และต้นทุนแรงงานสูงขึ้น รวมทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมกุ้งแช่เย็นและแช่แข็ง
ทั้งนี้ กรอบการส่งออกประเมินไว้ที่ร้อยละ 3.1-7.2 โดยตลาดสำคัญที่จะผลักดันการส่งออกยังเป็นตลาดอาเซียนและเอเชีย เพราะไทยพึ่งพาการส่งออกไปตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยในปี 2556 คาดว่าการส่งออกไปตลาดอาเซียนจะขยายตัวร้อยละ 8.21 จากปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.43 เพื่อจะมาชดเชยตลาดหลักของไทย เพราะทั้งอียู ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ แม้ว่าจะมีมาตรการต่างๆ ออกมา แต่ต้องรอดูเกี่ยวกับการใช้มาตรการปรับเพดานหนี้สหรัฐฯ ที่จะประกาศวันที่ 1 มีนาคมนี้ ก่อน
ดังนั้น จึงเชื่อว่าหากตลาดหลักมีการปรับตัวดีน่าจะทำให้การส่งออกของไทยในช่วงครึ่งปีหลังปรับตัวดีขึ้นได้ แต่เชื่อว่ายังไม่ถึง 2 หลักอย่างแน่นอน โดยคาดว่าในไตรมาสแรกจะขยายตัวร้อยละ 3.5 มูลค่า 55,000-57,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ยังขยายตัวน้อยกว่าไตรมาสสุดท้ายของปี 2555