นายกิตติ ตันเจริญ ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ กฟผ.ว่า ณ ปัจจุบันปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ กฟผ. มีอยู่ 44,062 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 72 ของความจุ น้อยกว่าปีที่แล้วร้อยละ 19 หรือ 10,203 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำที่สามารถใช้งานได้ 21,018 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มต้นการระบายน้ำฤดูแล้ง 2,808 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยอ่างเก็บน้ำทุกแห่ง (ยกเว้นเขื่อนวชิราลงกรณ์) มีปริมาณน้ำในอ่างน้อยกว่าปีที่แล้ว รวมทั้งเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่าปีที่แล้วมากถึง 8,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งนับว่าน้อยกว่าปีที่แล้วค่อนข้างมาก เนื่องจากปีนี้ฝนน้อย อยู่ในเกณฑ์ค่าเฉลี่ยเท่านั้น ต่างจากปีที่แล้ว ที่ฝนภาคเหนือมากกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 40
นายกิตติ กล่าวต่อไปว่า สำหรับแผนการระบายน้ำช่วงฤดูแล้ง เพื่อโครงการชลประทานเจ้าพระยา จำนวน 6,800 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยปัจจุบันระบายน้ำไปแล้ว 2,350 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 35 ของแผนทั้งหมด ยังเหลือปริมาณน้ำต้องระบายตลอดฤดูแล้งอีก 4,450 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่เขื่อนทั้งสองยังมีปริมาณน้ำใช้งานได้รวมกัน 7,108 ล้านลูกบาศก์เมตร เพียงพอที่จะระบายตลอดฤดูแล้งนี้
ปัจจุบันเขื่อนภูมิพลมีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ร้อยละ 59 มีปริมาณน้ำใช้งานได้ 4,098 ล้านลูกบาศก์เมตร มีแผนการระบายน้ำช่วงฤดูแล้ง 3,500 ล้านลูกบาศก์เมตร และได้ระบายน้ำไปแล้ว 1,176 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังเหลือปริมาณน้ำต้องระบายตลอดฤดูแล้งอีก 2,327 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ร้อยละ 62 มีปริมาณน้ำใช้งานได้ 3,010 ล้านลูกบาศก์เมตร มีแผนการระบายน้ำช่วงฤดูแล้ง 3,300 ล้านลูกบาศก์เมตร และได้ระบายน้ำไปแล้ว 1,174 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังเหลือปริมาณน้ำต้องระบายตลอดฤดูแล้งอีก 2,126 ล้านลูกบาศก์เมตร หลังสิ้นสุดการระบายน้ำฤดูแล้ง คาดว่าเขื่อนทั้งสองจะมีปริมาณน้ำใช้งานได้ในอ่างฯ ประมาณ 3,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
สำหรับการอุปโภคและบริโภคในช่วงต้นฤดูฝนที่มักจะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ส่วนอ่างเก็บน้ำทางภาคตะวันตก เขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ์ มีปริมาณน้ำในอ่างอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเขื่อนศรีนครินทร์มีน้ำอยู่ร้อยละ 87 และเขื่อนวชิราลงกรณ์มีน้ำอยู่ร้อยละ 83 รวมปริมาณน้ำใช้งานได้ในเขื่อนทั้งสอง 9,523 ล้านลูกบาศก์เมตร เพียงพอที่จะระบายเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง และผันมาช่วยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้อีกด้วย
นายกิตติ กล่าวต่อไปว่า สำหรับแผนการระบายน้ำช่วงฤดูแล้ง เพื่อโครงการชลประทานเจ้าพระยา จำนวน 6,800 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยปัจจุบันระบายน้ำไปแล้ว 2,350 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 35 ของแผนทั้งหมด ยังเหลือปริมาณน้ำต้องระบายตลอดฤดูแล้งอีก 4,450 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่เขื่อนทั้งสองยังมีปริมาณน้ำใช้งานได้รวมกัน 7,108 ล้านลูกบาศก์เมตร เพียงพอที่จะระบายตลอดฤดูแล้งนี้
ปัจจุบันเขื่อนภูมิพลมีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ร้อยละ 59 มีปริมาณน้ำใช้งานได้ 4,098 ล้านลูกบาศก์เมตร มีแผนการระบายน้ำช่วงฤดูแล้ง 3,500 ล้านลูกบาศก์เมตร และได้ระบายน้ำไปแล้ว 1,176 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังเหลือปริมาณน้ำต้องระบายตลอดฤดูแล้งอีก 2,327 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ร้อยละ 62 มีปริมาณน้ำใช้งานได้ 3,010 ล้านลูกบาศก์เมตร มีแผนการระบายน้ำช่วงฤดูแล้ง 3,300 ล้านลูกบาศก์เมตร และได้ระบายน้ำไปแล้ว 1,174 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังเหลือปริมาณน้ำต้องระบายตลอดฤดูแล้งอีก 2,126 ล้านลูกบาศก์เมตร หลังสิ้นสุดการระบายน้ำฤดูแล้ง คาดว่าเขื่อนทั้งสองจะมีปริมาณน้ำใช้งานได้ในอ่างฯ ประมาณ 3,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
สำหรับการอุปโภคและบริโภคในช่วงต้นฤดูฝนที่มักจะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ส่วนอ่างเก็บน้ำทางภาคตะวันตก เขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ์ มีปริมาณน้ำในอ่างอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเขื่อนศรีนครินทร์มีน้ำอยู่ร้อยละ 87 และเขื่อนวชิราลงกรณ์มีน้ำอยู่ร้อยละ 83 รวมปริมาณน้ำใช้งานได้ในเขื่อนทั้งสอง 9,523 ล้านลูกบาศก์เมตร เพียงพอที่จะระบายเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง และผันมาช่วยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้อีกด้วย