การเจรจาเพื่อจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิกที่มีอเมริกาเป็นโต้โผใหญ่ ซึ่งมีชื่อว่า “ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก” (Trans-Pacific Partnership หรือ TPP) กำลังจะเข้าสู่ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ ทำให้ความกดดันไปตกอยู่ที่บรรดาผู้นำ 11 ประเทศว่าจะต่อรองกันและยอมสละผลประโยชน์ภายในเพื่อแลกกับข้อตกลงขนาดใหญ่ที่คาดว่าจะกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลกันอย่างไร แต่ทั้งนี้เชื่อกันว่าหากพ้นจากปีหน้าไปแล้วโอกาสบรรลุการเจรจาก็จะน้อยเต็มที โดยถ้าอเมริกาไม่ได้มีข้อเสนอจูงใจมากพอแล้ว ภาคีในเอเชียหลายชาติอาจหันไปเอาจริงเอาจังกับความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจในภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership หรือ RCEP) ที่ครอบคลุมมหาอำนาจในภูมิภาค ตลอดจนออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ แต่ตัดสหรัฐฯและชาติในทวีปอเมริกาเหนือและใต้ออกไป
11 ประเทศที่เกี่ยวข้องในการเจรจาความตกลง TPP มีนัดพบกันสัปดาห์หน้าที่เมืองโอคแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งจะเป็นการเจรจารอบที่ 15 นับจากTPPแจ้งเกิดในเดือนมีนาคม 2010
ความที่บารัค โอบามา ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ อีกสมัยเรียบร้อยแล้ว จึงคาดหวังกันว่าผู้แทนการเจรจาของอเมริกาจะมีอิสระเสรีมากขึ้น ในการตอบสนองเสียงต่อรองเรียกร้องของหลายชาติ ที่จะให้แดนลุงแซมเปิดตลาดน้ำตาล ผลิตภัณฑ์นม รองเท้า เสื้อผ้า และตลาดอื่นๆ รองรับสินค้านำเข้า โดยไม่ต้องกังวลว่าจะกระทบต่อคะแนนเสียงของโอบามา
ทั้งนี้แม้การเจรจาTPPจะครบปีที่ 3 ในเดือนมีนาคมปีหน้า แต่ยังคงไม่มีเส้นตายอย่างเป็นทางการในการบรรลุข้อตกลงสุดท้ายแต่อย่างใด
กระนั้น เนื่องจากเหล่าผู้นำTPPต่างก็จะเข้าร่วมประชุมสุดยอดกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) ที่บาหลีต้นเดือนตุลาคม 2013 ดังนั้น ช่วงเวลาดังกล่าวจึงน่าจะกลายเป็นแรงกระตุ้นให้ประเทศภาคีทั้งหลายผลักดันให้ TPPบรรลุผล
เออร์เนสต์ โบเวอร์ ผู้อำนวยการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของ เซนเตอร์ ฟอร์ สเตรทเตจิก แอนด์ อินเตอร์เนชันแนล สตัดดีส์ ในวอชิงตัน ฟันธงว่า ปีหน้าคือช่วงเวลาชี้ชะตาข้อตกลงTPPจะสำเร็จหรือล้มเหลว เนื่องจากชาติเอเชียคงไม่สามารถจะอดทนรอได้นานกว่านั้น
11 ประเทศที่เกี่ยวข้องในการเจรจาความตกลง TPP มีนัดพบกันสัปดาห์หน้าที่เมืองโอคแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งจะเป็นการเจรจารอบที่ 15 นับจากTPPแจ้งเกิดในเดือนมีนาคม 2010
ความที่บารัค โอบามา ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ อีกสมัยเรียบร้อยแล้ว จึงคาดหวังกันว่าผู้แทนการเจรจาของอเมริกาจะมีอิสระเสรีมากขึ้น ในการตอบสนองเสียงต่อรองเรียกร้องของหลายชาติ ที่จะให้แดนลุงแซมเปิดตลาดน้ำตาล ผลิตภัณฑ์นม รองเท้า เสื้อผ้า และตลาดอื่นๆ รองรับสินค้านำเข้า โดยไม่ต้องกังวลว่าจะกระทบต่อคะแนนเสียงของโอบามา
ทั้งนี้แม้การเจรจาTPPจะครบปีที่ 3 ในเดือนมีนาคมปีหน้า แต่ยังคงไม่มีเส้นตายอย่างเป็นทางการในการบรรลุข้อตกลงสุดท้ายแต่อย่างใด
กระนั้น เนื่องจากเหล่าผู้นำTPPต่างก็จะเข้าร่วมประชุมสุดยอดกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) ที่บาหลีต้นเดือนตุลาคม 2013 ดังนั้น ช่วงเวลาดังกล่าวจึงน่าจะกลายเป็นแรงกระตุ้นให้ประเทศภาคีทั้งหลายผลักดันให้ TPPบรรลุผล
เออร์เนสต์ โบเวอร์ ผู้อำนวยการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของ เซนเตอร์ ฟอร์ สเตรทเตจิก แอนด์ อินเตอร์เนชันแนล สตัดดีส์ ในวอชิงตัน ฟันธงว่า ปีหน้าคือช่วงเวลาชี้ชะตาข้อตกลงTPPจะสำเร็จหรือล้มเหลว เนื่องจากชาติเอเชียคงไม่สามารถจะอดทนรอได้นานกว่านั้น