นายอัมมาร์ สยามวาลา รักษาการประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ กล่าวถึงการลงนามบันทึกความเข้าใจ หรือ เอ็มโอยู ซื้อขายข้าวระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนว่า เป็นสิ่งที่รัฐบาลไม่สามารถนำไปใช้การดำเนินนโยบายบริหารจัดการข้าวได้จริง ขณะที่การรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังที่แนวโน้มปริมาณการรับจำนำข้าว ปี 2555 เพิ่มจาก 8.8 ล้านตัน เป็น 11.11 ล้านตัน และล่าสุดเพิ่มรอบพิเศษ ทำให้ยอดรับจำนำเพิ่มเป็น 13.31 ล้านตัน
ขณะที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ถูกกระทรวงการคลังปฏิเสธการค้ำประกันเงินกู้ เพราะเต็มเพดานแล้ว จึงทำให้ ธ.ก.ส.จะไม่ได้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งการรับจำนำข้าวที่เพิ่มมากขึ้น จึงอาจทำให้ ธ.ก.ส.มีปัญหาขาดสภาพคล่องเป็นระยะๆ
ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง กล่าวถึงการทำสัญญาซื้อขายข้าวแบบจีทูจี ที่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดข้อตกลง เป็นไปตามข้อตกลงที่ไทยทำกับประเทศคู่ค้า ที่ไม่อยากให้เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ
ส่วนกรณีการทำหนังสือทักท้วงของทีดีอาร์ไอเห็นว่า ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะทีดีอาร์ไอเคยเป็นผู้จัดทำนโยบายประกันรายได้เกษตรกร ให้กับรัฐบาลชุดก่อน แต่ยืนยันว่ารัฐบาลพร้อมให้ตรวจสอบจากทุกฝ่าย รวมทั้งในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งยืนยันว่า งบประมาณโครงการรับจำนำข้าวที่ 15,000 บาทต่อตัน ไม่ได้ทำให้เกิดภาวะการขาดทุนถึง 3 แสนล้านบาท ตามข้อกังวล แตกต่างจากโครงการรับประกันปี 52-53 ใช้งบถึง 60,000 ล้านบาท ปี 53-54 ใช้อีก 70,000 บาท และการรับจำนำตันละ 10,000 บาท ไม่เพียงพอต่อต้นทุนการปลูกข้าวของเกษตรกร
ขณะที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ถูกกระทรวงการคลังปฏิเสธการค้ำประกันเงินกู้ เพราะเต็มเพดานแล้ว จึงทำให้ ธ.ก.ส.จะไม่ได้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งการรับจำนำข้าวที่เพิ่มมากขึ้น จึงอาจทำให้ ธ.ก.ส.มีปัญหาขาดสภาพคล่องเป็นระยะๆ
ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง กล่าวถึงการทำสัญญาซื้อขายข้าวแบบจีทูจี ที่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดข้อตกลง เป็นไปตามข้อตกลงที่ไทยทำกับประเทศคู่ค้า ที่ไม่อยากให้เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ
ส่วนกรณีการทำหนังสือทักท้วงของทีดีอาร์ไอเห็นว่า ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะทีดีอาร์ไอเคยเป็นผู้จัดทำนโยบายประกันรายได้เกษตรกร ให้กับรัฐบาลชุดก่อน แต่ยืนยันว่ารัฐบาลพร้อมให้ตรวจสอบจากทุกฝ่าย รวมทั้งในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งยืนยันว่า งบประมาณโครงการรับจำนำข้าวที่ 15,000 บาทต่อตัน ไม่ได้ทำให้เกิดภาวะการขาดทุนถึง 3 แสนล้านบาท ตามข้อกังวล แตกต่างจากโครงการรับประกันปี 52-53 ใช้งบถึง 60,000 ล้านบาท ปี 53-54 ใช้อีก 70,000 บาท และการรับจำนำตันละ 10,000 บาท ไม่เพียงพอต่อต้นทุนการปลูกข้าวของเกษตรกร