นายสุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 21 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ว่า จากการสังเกตการณ์การประชุมดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าประเทศมหาอำนาจหลายชาติให้ความสนใจประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการขยายตัวในทุกๆ ด้านของภูมิภาค
อย่างไรก็ตาม อาจเกิดปัญหาใหม่ๆ เข้ามาอีกเช่นกัน ทั้งประเด็นที่ไทยกำลังพิจารณาเข้าร่วมกรอบความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก หรือ ทีพีพี (TPP) ที่อาจมีเรื่องความมั่นคงเข้ามาเกี่ยวข้อง รวมถึงอาจเป็นการส่งสัญญาณว่าไทยให้ความสำคัญสหรัฐอเมริกามากกว่าจีน
นายสุรชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน แม้จะไม่ได้มีการพูดคุยเรื่องปัญหาความขัดแย้งเรื่องชาติพันธุ์ในพม่าโดยตรง แต่ภาพรวมยังเห็นผลลัพธ์ในเชิงบวกมากขึ้น เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่อาเซียนสร้างกรอบความร่วมมือเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ ยังเห็นถึงความชัดเจนของการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 หลังจากที่มีความเข้าใจว่าจะเริ่มในวันที่ 1 มกราคม 2558 ซึ่งหลายประเทศต้องเตรียมพร้อมอย่างหนักในการปรับตัวครั้งใหญ่
อย่างไรก็ตาม อาจเกิดปัญหาใหม่ๆ เข้ามาอีกเช่นกัน ทั้งประเด็นที่ไทยกำลังพิจารณาเข้าร่วมกรอบความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก หรือ ทีพีพี (TPP) ที่อาจมีเรื่องความมั่นคงเข้ามาเกี่ยวข้อง รวมถึงอาจเป็นการส่งสัญญาณว่าไทยให้ความสำคัญสหรัฐอเมริกามากกว่าจีน
นายสุรชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน แม้จะไม่ได้มีการพูดคุยเรื่องปัญหาความขัดแย้งเรื่องชาติพันธุ์ในพม่าโดยตรง แต่ภาพรวมยังเห็นผลลัพธ์ในเชิงบวกมากขึ้น เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่อาเซียนสร้างกรอบความร่วมมือเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ ยังเห็นถึงความชัดเจนของการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 หลังจากที่มีความเข้าใจว่าจะเริ่มในวันที่ 1 มกราคม 2558 ซึ่งหลายประเทศต้องเตรียมพร้อมอย่างหนักในการปรับตัวครั้งใหญ่