น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะออกเดินทางไปยังกรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 21 ระหว่างวันที่ 18-20 พฤศจิกายนนี้ โดยที่ประชุมผู้นำ 10 ประเทศ จะร่วมกันรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นความสำเร็จของอาเซียนในการร่วมกันแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
นอกจากนี้ ผู้นำจะประกาศเจตนารมณ์เริ่มต้นการจัดทำการเจรจาความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคระหว่าง 16 ประเทศ ประกอบด้วย อาเซียน 10 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี เชื่อว่าความร่วมมือนี้จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ภูมิภาคอาเซียน
ที่สำคัญ การประชุมอาเซียนครั้งนี้มีจุดเด่นอยู่ที่การประชุมอาเซียน-สหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 4 ซึ่งการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ของนายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจการเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคอาเซียนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะความร่วมมือกลุ่มประเทศแม่น้ำโขงตอนล่าง ที่เน้นความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี จะร่วมประชุมผู้นำอาเซียน กับประเทศคู่เจรจา ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ อินเดีย และสหรัฐอเมริกา การประชุมสุดยอดอาเซียน+3 และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก และยังจะมีการพบปะกับองค์การระหว่างประเทศ อาทิ ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารพัฒนาเอเชีย โดยการประชุมกับคู่เจรจา จะเน้นการทบทวนความร่วมมือและทิศทางในอนาคต
สำหรับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนพัฒนาการความคืบหน้าการทำงานที่ผ่านมา และให้ทิศทาง รวมทั้งแสวงหาแนวทาง เพื่อผลักประเด็นความร่วมมือที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกันต่อไป ทั้งในกรอบอาเซียน กับคู่เจรจา ตลอดจนเป็นโอกาสให้แลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องประเด็นในภูมิภาค และประเด็นระหว่างประเทศที่สำคัญ
ทั้งนี้ หัวข้อการหารือของการประชุมสุดยอดอาเซียน ประกอบด้วย การสร้างประชาคมอาเซียน ซึ่งรวมถึงการดำเนินการตามแผนงาน 3 เสา และแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงในอาเซียน ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยผู้นำอาเซียนจะรับรองในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งนับเป็นความสำเร็จของอาเซียนในการร่วมกันแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การแต่งตั้งเลขาธิการอาเซียนคนใหม่ สืบต่อจากนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน ที่จะครบวาระการดำรงตำแหน่งในสิ้นปีนี้ และการแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศ
ส่วนการประชุมกับคู่เจรจา จะเน้นการทบทวนความร่วมมือและทิศทางในอนาคต และการแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศ และการประชุม ASEAN Global Dialogue
นอกจากนี้ ผู้นำอาเซียน และประเทศคู่เจรจาเขตการค้าเสรีกับอาเซียน 6 ประเทศ หรือ อาเซียน+6 ได้แก่ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย จะประกาศการเริ่มต้นเจรจาความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ในระหว่างการประชุมครั้งนี้ด้วย
ในการประชุมครั้งนี้จะมีเอกสารผลลัพธ์ทั้งสิ้น 11 ฉบับ ที่สำคัญ ได้แก่ ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีน ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ปฏิญญาว่าด้วยการปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ เพื่อเพิ่มพูนสันติภาพ มิตรภาพ และความร่วมมือ ปฏิญญาพนมเปญว่าด้วยข้อริเริ่มการพัฒนาของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก และปฏิญญาร่วมว่าด้วยการประกาศการเริ่มเจรจาความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค เป็นต้น
นอกจากนี้ ผู้นำจะประกาศเจตนารมณ์เริ่มต้นการจัดทำการเจรจาความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคระหว่าง 16 ประเทศ ประกอบด้วย อาเซียน 10 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี เชื่อว่าความร่วมมือนี้จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ภูมิภาคอาเซียน
ที่สำคัญ การประชุมอาเซียนครั้งนี้มีจุดเด่นอยู่ที่การประชุมอาเซียน-สหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 4 ซึ่งการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ของนายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจการเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคอาเซียนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะความร่วมมือกลุ่มประเทศแม่น้ำโขงตอนล่าง ที่เน้นความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี จะร่วมประชุมผู้นำอาเซียน กับประเทศคู่เจรจา ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ อินเดีย และสหรัฐอเมริกา การประชุมสุดยอดอาเซียน+3 และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก และยังจะมีการพบปะกับองค์การระหว่างประเทศ อาทิ ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารพัฒนาเอเชีย โดยการประชุมกับคู่เจรจา จะเน้นการทบทวนความร่วมมือและทิศทางในอนาคต
สำหรับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนพัฒนาการความคืบหน้าการทำงานที่ผ่านมา และให้ทิศทาง รวมทั้งแสวงหาแนวทาง เพื่อผลักประเด็นความร่วมมือที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกันต่อไป ทั้งในกรอบอาเซียน กับคู่เจรจา ตลอดจนเป็นโอกาสให้แลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องประเด็นในภูมิภาค และประเด็นระหว่างประเทศที่สำคัญ
ทั้งนี้ หัวข้อการหารือของการประชุมสุดยอดอาเซียน ประกอบด้วย การสร้างประชาคมอาเซียน ซึ่งรวมถึงการดำเนินการตามแผนงาน 3 เสา และแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงในอาเซียน ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยผู้นำอาเซียนจะรับรองในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งนับเป็นความสำเร็จของอาเซียนในการร่วมกันแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การแต่งตั้งเลขาธิการอาเซียนคนใหม่ สืบต่อจากนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน ที่จะครบวาระการดำรงตำแหน่งในสิ้นปีนี้ และการแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศ
ส่วนการประชุมกับคู่เจรจา จะเน้นการทบทวนความร่วมมือและทิศทางในอนาคต และการแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศ และการประชุม ASEAN Global Dialogue
นอกจากนี้ ผู้นำอาเซียน และประเทศคู่เจรจาเขตการค้าเสรีกับอาเซียน 6 ประเทศ หรือ อาเซียน+6 ได้แก่ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย จะประกาศการเริ่มต้นเจรจาความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ในระหว่างการประชุมครั้งนี้ด้วย
ในการประชุมครั้งนี้จะมีเอกสารผลลัพธ์ทั้งสิ้น 11 ฉบับ ที่สำคัญ ได้แก่ ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีน ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ปฏิญญาว่าด้วยการปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ เพื่อเพิ่มพูนสันติภาพ มิตรภาพ และความร่วมมือ ปฏิญญาพนมเปญว่าด้วยข้อริเริ่มการพัฒนาของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก และปฏิญญาร่วมว่าด้วยการประกาศการเริ่มเจรจาความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค เป็นต้น