มทร.อีสาน เตรียมเปิดศูนย์ 4 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงรับ AEC เดือน พ.ย.นี้ หวัง นศ.คณาจารย์ บุคลากร ตื่นตัวเรียนรู้ ภาษา วิถีชีวิต เข้าใจอัตลักษณ์ประเทศอาเซียน พร้อมปรับหลักสูตรกลุ่มสาขาบัญชี วิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ และวิทยาศาสตร์สุขภาพ เน้นมาตรฐานระดับสากล เปิดโอกาส นศ.ต่างชาติเข้าเรียน
ผศ.ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง รักษาราชการแทนอธิการบดี มทร.อีสาน เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยได้กำหนดนโยบาย เพื่อเปิด-ปิดภาคเรียน พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับทิศทางของประเทศอาเซียน โดยจะเริ่มปรับหลักสูตรในกลุ่มสาขาบัญชี วิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ และวิทยาศาสตร์สุขภาพให้มีความทันสมัย เทียบเท่ามาตรฐานสากล รองรับความต้องการของนักศึกษาไทย และต่างชาติ เนื่องจากกลุ่มสาขาดังกล่าว เป็นสาขาที่มหาวิทยาลัยมีความถนัด ชำนาญ และเป็นหนึ่งใน 7 สาขาอาชีพที่สามารถเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรี ขณะเดียวกัน ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในเรื่องอุตสาหกรรมสิ่งทอ วิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อบัณฑิตที่จบออกไปมีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน
ผศ.ดร.วิโรจน์ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยจะให้บริการแก่นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยเรียนรู้ ทำความเข้าใจวัฒนธรรม วิถีชีวิต ภาษา ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับประเทศอาเซียน เพื่อให้นักศึกษาตื่นตัว รับมือการเปลี่ยนแปลง และมีองค์ความรู้ เข้าใจอัตลักษณ์ของประเทศสมาชิกอาเซียนกลุ่มประเทศแม่น้ำโขง ตั้งแต่เวียดนาม พม่า ลาว กัมพูชา เพราะกลุ่มประเทศดังกล่าวมีความเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัย โดยในกลางเดือน พ.ย.นี้ มหาวิทยาลัยจะเปิดศูนย์ประเทศอาเซียนในวิทยาเขตต่างๆ นอกเหนือจากศูนย์ภาษาและศูนย์อาเซียนศึกษาที่เปิดในศูนย์กลางนครราชสีมา ได้แก่ วิทยาเขตกาฬสินธุ์ จะเปิดศูนย์เวียดนามศึกษา, สุรินทร์ เปิดศูนย์เขมรศึกษา, สกลนคร เปิดศูนย์ลาวศึกษา และขอนแก่น เปิดศูนย์พม่าศึกษา
ผศ.ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง รักษาราชการแทนอธิการบดี มทร.อีสาน เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยได้กำหนดนโยบาย เพื่อเปิด-ปิดภาคเรียน พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับทิศทางของประเทศอาเซียน โดยจะเริ่มปรับหลักสูตรในกลุ่มสาขาบัญชี วิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ และวิทยาศาสตร์สุขภาพให้มีความทันสมัย เทียบเท่ามาตรฐานสากล รองรับความต้องการของนักศึกษาไทย และต่างชาติ เนื่องจากกลุ่มสาขาดังกล่าว เป็นสาขาที่มหาวิทยาลัยมีความถนัด ชำนาญ และเป็นหนึ่งใน 7 สาขาอาชีพที่สามารถเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรี ขณะเดียวกัน ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในเรื่องอุตสาหกรรมสิ่งทอ วิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อบัณฑิตที่จบออกไปมีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน
ผศ.ดร.วิโรจน์ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยจะให้บริการแก่นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยเรียนรู้ ทำความเข้าใจวัฒนธรรม วิถีชีวิต ภาษา ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับประเทศอาเซียน เพื่อให้นักศึกษาตื่นตัว รับมือการเปลี่ยนแปลง และมีองค์ความรู้ เข้าใจอัตลักษณ์ของประเทศสมาชิกอาเซียนกลุ่มประเทศแม่น้ำโขง ตั้งแต่เวียดนาม พม่า ลาว กัมพูชา เพราะกลุ่มประเทศดังกล่าวมีความเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัย โดยในกลางเดือน พ.ย.นี้ มหาวิทยาลัยจะเปิดศูนย์ประเทศอาเซียนในวิทยาเขตต่างๆ นอกเหนือจากศูนย์ภาษาและศูนย์อาเซียนศึกษาที่เปิดในศูนย์กลางนครราชสีมา ได้แก่ วิทยาเขตกาฬสินธุ์ จะเปิดศูนย์เวียดนามศึกษา, สุรินทร์ เปิดศูนย์เขมรศึกษา, สกลนคร เปิดศูนย์ลาวศึกษา และขอนแก่น เปิดศูนย์พม่าศึกษา