นายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมกุ้งไทยกำลังประสบปัญหา เนื่องจากประเทศคู่ค้าสำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ออกรายงานโดยระบุ ไทยเป็น 1 ในประเทศที่ใช้แรงงานเด็ก และแรงงานผิดกฎหมายในอุตสาหกรรมประมง มีระดับความรุนแรงในการเฝ้าระวังอยู่ Tier 2 และจะครบ 2 ปีติดต่อกันในสิ้นปีนี้ ซึ่งปกติแล้ว หากไม่มีรายงานความคืบหน้าการแก้ไขปัญหา ไทยจะถูกปรับลดชั้นไปอยู่ในบัญชี Tier 3 หรือประเทศที่ไม่ดำเนินการตามมาตรฐานแรงงานขั้นต่ำ และไม่ใช้ความพยายามแก้ไขปัญหา สิ่งที่ตามมาคือ การต่อต้านสินค้าประมงจากไทย
นายสมศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า แม้ไทยยังไม่ถูกจัดอยู่ในบัญชี Tier 3 แต่สหรัฐฯ เริ่มออกมาตรการกีดกันกุ้งไทยแล้ว โดยออกประกาศเมื่อวันที่ 26 กันยายน ที่ผ่านมา ห้ามหน่วยงานราชการทั้งหมดสั่งซื้อสินค้าจากไทย 5 ประเภท หนึ่งในนั้นคือ กุ้ง จึงเป็นสิ่งที่น่ากังวล เพราะการส่งออกกุ้งไทยได้ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไตรมาสสุดท้ายลดลงร้อยละ 8 ทำให้ปริมาณการส่งออกปีนี้ จะติดลบร้อยละ 6-7 ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 8 ปี โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐฯ ซึ่งมีสัดส่วนตลาดครึ่งหนึ่งของตลาดรวม มีปริมาณติดลบไปแล้วร้อยละ 25 ขณะที่ประเทศคู่แข่ง ทั้งเวียดนาม อินเดีย เอกวาดอร์ ต่างเพิ่มการผลิตมากขึ้น และลดราคาส่งออกลงมาแข่งกับไทย เพื่อชิงส่วนแบ่งการตลาดไป จึงเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง มิฉะนั้นจะกระทบอุตสาหกรรมกุ้งที่สร้างรายได้นับแสนล้านบาท
ขณะที่รายงานของทีดีอาร์ไอ และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ระบุว่า จากการศึกษาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของแรงงานในอุตสาหกรรมนี้ พบว่ามีรายได้ที่สูงกว่าค่าแรงขึ้นต่ำ
นายสมศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า แม้ไทยยังไม่ถูกจัดอยู่ในบัญชี Tier 3 แต่สหรัฐฯ เริ่มออกมาตรการกีดกันกุ้งไทยแล้ว โดยออกประกาศเมื่อวันที่ 26 กันยายน ที่ผ่านมา ห้ามหน่วยงานราชการทั้งหมดสั่งซื้อสินค้าจากไทย 5 ประเภท หนึ่งในนั้นคือ กุ้ง จึงเป็นสิ่งที่น่ากังวล เพราะการส่งออกกุ้งไทยได้ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไตรมาสสุดท้ายลดลงร้อยละ 8 ทำให้ปริมาณการส่งออกปีนี้ จะติดลบร้อยละ 6-7 ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 8 ปี โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐฯ ซึ่งมีสัดส่วนตลาดครึ่งหนึ่งของตลาดรวม มีปริมาณติดลบไปแล้วร้อยละ 25 ขณะที่ประเทศคู่แข่ง ทั้งเวียดนาม อินเดีย เอกวาดอร์ ต่างเพิ่มการผลิตมากขึ้น และลดราคาส่งออกลงมาแข่งกับไทย เพื่อชิงส่วนแบ่งการตลาดไป จึงเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง มิฉะนั้นจะกระทบอุตสาหกรรมกุ้งที่สร้างรายได้นับแสนล้านบาท
ขณะที่รายงานของทีดีอาร์ไอ และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ระบุว่า จากการศึกษาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของแรงงานในอุตสาหกรรมนี้ พบว่ามีรายได้ที่สูงกว่าค่าแรงขึ้นต่ำ