นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ได้เข้ายื่นหนังสือขอสนับสนุนการขึ้นค่าจ้าง 300 บาท ในอีก 70 จังหวัดที่เหลือ วันที่ 1 มกราคม 2556 ต่อนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยเชื่อว่าการปรับขึ้นค่าจ้างดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบธุรกิจเอสเอ็มอีมากนัก เนื่องจากรัฐบาล มีมาตราการส่งเสริมการลงทุน 829 โครงการ วงเงินกว่า 3 แสนล้านบาท พร้อมกับขู่ว่า หากวันที่ 1 มกคาคม ยังไม่ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ จะออกมาเคลื่อนไหวใหญ่ ขณะที่นายเผดิมชัย ยืนยันว่า จะไม่ทบทวนการปรับขึ้นค่าจ้าง แต่ยินดีที่จะรับฟังผลกระทบของธุรกิจเอสเอ็มอี เพื่อหามาตรการช่วยเหลือ
ขณะที่ตัวแทนของผู้ประกอบการ นำโดยนายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เช่นกัน โดยขอให้ชะลอปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ทั่วประเทศในต้นปีหน้า ออกไป 2-3 ปี เพราะผลจากการศึกษาพบว่า โรงงานขนาดเล็กจะได้รับผลกระทบ ต้นทุนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 25-28 จากที่ขณะนี้ โรงงานขาดทุนเฉลี่ยแล้ว เดือนละ 6-7 ล้านบาท ขณะที่มาตรการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ไม่ได้ช่วยเหลือเอสเอ็มอีในต่างจังหวัด ที่ใช้แรงงานมาก และหากรัฐบาลไม่ชะลอขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ควรออกมาตรการช่วยเหลือสภาพคล่อง และเยียวยาส่วนต่างค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ลดเงินนำส่งประกันสังคม แก่กลุ่มเอสเอ็มอี
ขณะที่ตัวแทนของผู้ประกอบการ นำโดยนายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เช่นกัน โดยขอให้ชะลอปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ทั่วประเทศในต้นปีหน้า ออกไป 2-3 ปี เพราะผลจากการศึกษาพบว่า โรงงานขนาดเล็กจะได้รับผลกระทบ ต้นทุนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 25-28 จากที่ขณะนี้ โรงงานขาดทุนเฉลี่ยแล้ว เดือนละ 6-7 ล้านบาท ขณะที่มาตรการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ไม่ได้ช่วยเหลือเอสเอ็มอีในต่างจังหวัด ที่ใช้แรงงานมาก และหากรัฐบาลไม่ชะลอขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ควรออกมาตรการช่วยเหลือสภาพคล่อง และเยียวยาส่วนต่างค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ลดเงินนำส่งประกันสังคม แก่กลุ่มเอสเอ็มอี