เอดีบีระบุตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นของเอเชียขยายตัวเกือบ 9% ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ แต่เตือนว่าแนวโน้มการใช้นโยบายผ่อนคลายในตะวันตกอาจทำให้เงินทุนทะลักเข้าสู่ภูมิภาคนี้มากขึ้น เพิ่มความเสี่ยงที่ตลาดสินทรัพย์จะเกิดความผันผวนและภาวะฟองสบู่ ซึ่งผลลัพธ์ที่อาจตามมาคืออัตราผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งสูงเหมือนเมื่อครั้งวิกฤตการเงินโลกปี 2008/2009 หากเงินทุนไหลออกฉับพลัน
ในรายงานว่าด้วยตลาดพันธบัตรเอเชียที่ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เปิดเผยออกมาเมื่อวันจันทร์ (10) มีการระบุว่า สืบเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยใกล้ 0% ในประเทศพัฒนาแล้ว และการส่งสัญญาณอย่างต่อเนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการออกมาตรการกระตุ้นการเติบโตเพิ่มหากสถานการณ์เศรษฐกิจเลวร้ายลง กำลังก่อให้เกิดความกังวลในเรื่องที่จะมีเงินทุนจากโลกตะวันตกไหลทะลักเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่
“การไหลเข้าเหล่านี้อาจทำให้อัตราแลกเปลี่ยนผันผวนรุนแรง กระทบต่อการซื้อขายและการเติบโตของสินเชื่อ นำไปสู่ภาวะฟองสบู่ของราคาสินทรัพย์”
รายงานสำทับว่า ผู้วางนโยบายในเอเชียควรเตรียมพร้อมรับมือความเป็นไปได้ที่เงินทุนอาจไหลออกอย่างรวดเร็วพอๆ กับตอนไหลเข้า ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นอาจทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งทะยานเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในช่วงวิกฤตการเงินโลกปี 2008/2009
ทั้งนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าว อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอินโดนีเซียพุ่งขึ้นถึง 9% ขณะที่ของเกาหลีใต้ มาเลเซีย และไทยเพิ่มขึ้น 2%
นอกจากนั้น ขณะนี้ยังปรากฏสัญญาณการอ่อนตัวในตลาดแล้ว จากการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรในจีน อินโดนีเซีย และเวียดนามต่างขยับขึ้นในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม
ในรายงานว่าด้วยตลาดพันธบัตรเอเชียที่ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เปิดเผยออกมาเมื่อวันจันทร์ (10) มีการระบุว่า สืบเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยใกล้ 0% ในประเทศพัฒนาแล้ว และการส่งสัญญาณอย่างต่อเนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการออกมาตรการกระตุ้นการเติบโตเพิ่มหากสถานการณ์เศรษฐกิจเลวร้ายลง กำลังก่อให้เกิดความกังวลในเรื่องที่จะมีเงินทุนจากโลกตะวันตกไหลทะลักเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่
“การไหลเข้าเหล่านี้อาจทำให้อัตราแลกเปลี่ยนผันผวนรุนแรง กระทบต่อการซื้อขายและการเติบโตของสินเชื่อ นำไปสู่ภาวะฟองสบู่ของราคาสินทรัพย์”
รายงานสำทับว่า ผู้วางนโยบายในเอเชียควรเตรียมพร้อมรับมือความเป็นไปได้ที่เงินทุนอาจไหลออกอย่างรวดเร็วพอๆ กับตอนไหลเข้า ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นอาจทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งทะยานเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในช่วงวิกฤตการเงินโลกปี 2008/2009
ทั้งนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าว อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอินโดนีเซียพุ่งขึ้นถึง 9% ขณะที่ของเกาหลีใต้ มาเลเซีย และไทยเพิ่มขึ้น 2%
นอกจากนั้น ขณะนี้ยังปรากฏสัญญาณการอ่อนตัวในตลาดแล้ว จากการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรในจีน อินโดนีเซีย และเวียดนามต่างขยับขึ้นในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม