ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ของพม่า ยอมตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนหลังจากที่เคยปฏิเสธคำเรียกร้องของสหประชาชาติครั้งก่อน ทางโฆษกสหประชาชาติจึงได้ออกมาชื่นชมการตัดสินใจของรัฐบาล โดยกล่าวว่า การสอบสวนหาความจริงออกมา จะทำให้เกิดสันติภาพอย่างถาวรขึ้นในรัฐยะไข่
สำหรับคณะกรรมการที่รัฐบาลพม่าตั้งขึ้นมานั้น มีทั้งสิ้น 27 คน ประกอบด้วย ส.ส.จากพรรคการเมืองต่างๆ และองค์กรทางศาสนารวมอยู่ด้วย โดยข้อมูลจากการสอบสวนครั้งนี้ คณะกรรมการจะนำเสนอต่อรัฐบาลในเดือนหน้า
ทั้งนี้ เหตุจลาจลในรัฐยะไข่ของพม่าเริ่มต้นขึ้นเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เมื่อสตรีชาวพุทธคนหนึ่ง ถูกชายชาวมุสลิม 3 คน ข่มขืนแล้วฆ่า ชาวพุทธที่ไม่พอใจได้จัดชุมนุมประท้วงและแก้แค้นด้วยการสังหารชาวมุสลิมไป 10 คน แม้ผู้ที่ถูกสังหารจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการข่มขืนก็ตาม การตอบโต้กันด้วยกำลังจึงเกิดขึ้น และลุกลามไปทั่วรัฐยะไข่ มีการวางเพลิงเผาบ้านของทั้งสองฝ่ายวอดวายเป็นจำนวนมาก
ด้านสำนักข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นเอสซีอาร์ (UNSCR) ระบุว่า มีผู้พลัดถิ่นจากเหตุจลาจลดังกล่าวกว่า 80,000 คน
สำหรับชาวมุสลิมในรัฐยะไข่นั้น เป็นชาวโรฮิงญา และเป็นชนส่วนน้อยที่อพยพมาจากดินแดนที่ปัจจุบันนี้เป็นประเทศบังกลาเทศ โดยชาวพุทธในรัฐยะไข่มองชาวโรฮิงญาเหล่านี้ว่าเป็นพวกหลบหนีเข้าเมือง
สำหรับคณะกรรมการที่รัฐบาลพม่าตั้งขึ้นมานั้น มีทั้งสิ้น 27 คน ประกอบด้วย ส.ส.จากพรรคการเมืองต่างๆ และองค์กรทางศาสนารวมอยู่ด้วย โดยข้อมูลจากการสอบสวนครั้งนี้ คณะกรรมการจะนำเสนอต่อรัฐบาลในเดือนหน้า
ทั้งนี้ เหตุจลาจลในรัฐยะไข่ของพม่าเริ่มต้นขึ้นเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เมื่อสตรีชาวพุทธคนหนึ่ง ถูกชายชาวมุสลิม 3 คน ข่มขืนแล้วฆ่า ชาวพุทธที่ไม่พอใจได้จัดชุมนุมประท้วงและแก้แค้นด้วยการสังหารชาวมุสลิมไป 10 คน แม้ผู้ที่ถูกสังหารจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการข่มขืนก็ตาม การตอบโต้กันด้วยกำลังจึงเกิดขึ้น และลุกลามไปทั่วรัฐยะไข่ มีการวางเพลิงเผาบ้านของทั้งสองฝ่ายวอดวายเป็นจำนวนมาก
ด้านสำนักข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นเอสซีอาร์ (UNSCR) ระบุว่า มีผู้พลัดถิ่นจากเหตุจลาจลดังกล่าวกว่า 80,000 คน
สำหรับชาวมุสลิมในรัฐยะไข่นั้น เป็นชาวโรฮิงญา และเป็นชนส่วนน้อยที่อพยพมาจากดินแดนที่ปัจจุบันนี้เป็นประเทศบังกลาเทศ โดยชาวพุทธในรัฐยะไข่มองชาวโรฮิงญาเหล่านี้ว่าเป็นพวกหลบหนีเข้าเมือง