เจ้าหน้าที่ยามชายฝั่งบังกลาเทศ จำเป็นต้องส่งชาวโรฮิงญา ที่ลอยเรือมาขอความช่วยเหลือ 14 ลำ หรือ 550 คน ให้กลับสู่ทะเลอีกครั้งหนึ่ง แม้ชาวโรฮิงญาที่หนีตายมาจากรัฐยะไข่ ของพม่า อ้อนวอนให้ฆ่าทิ้งดีกว่าส่งกลับพม่า แต่เจ้าหน้าที่บังกลาเทศไม่อาจทำตามคำร้องขอได้ โดยให้ความช่วยเหลือได้เพียงการให้ขนมปังกรอบ และเชื้อเพลิงจำนวนหนึ่ง ก่อนส่งชาวโรฮิงญากลับไป เพราะทางการบังกลาเทศไม่สามารถรองรับชาวโรฮิงญาเป็นพลเมือง แม้จะนับถือศาสานาอิสลามก็ตาม
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีพ่อค้าแม่ค้าชาวโรฮิงญาที่ตกค้างอยู่ในบังกลาเทศจำนวนหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถกลับบ้านได้ เพราะขณะเดินทางมาค้าขายในบังกลาเทศ เกิดเหตุความรุนแรงที่บ้านเกิด ทำให้บ้านเรือนถูกเผาทำลาย และเกรงว่าจะไม่ปลอดภัยหากกลับไปยังรัฐยะไข่ ในขณะนี้
ขณะที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ หรือ UNHCR เรียกร้องให้รัฐบาลบังกลาเทศรับชาวโรฮิงญาลี้ภัยในประเทศ เพราะชาวโรฮิงญาส่วนใหญ่ที่ล่องเรือมาขอความช่วยเหลือเป็นเด็ก ผู้หญิง และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ
ทั้งนี้ บังกลาเทศมีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาอยู่ในค่ายลี้ภัย กว่า 300,000 คน และยกเลิกสถานะผู้ลี้ยภัย ตั้งแต่ปี 2535
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีพ่อค้าแม่ค้าชาวโรฮิงญาที่ตกค้างอยู่ในบังกลาเทศจำนวนหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถกลับบ้านได้ เพราะขณะเดินทางมาค้าขายในบังกลาเทศ เกิดเหตุความรุนแรงที่บ้านเกิด ทำให้บ้านเรือนถูกเผาทำลาย และเกรงว่าจะไม่ปลอดภัยหากกลับไปยังรัฐยะไข่ ในขณะนี้
ขณะที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ หรือ UNHCR เรียกร้องให้รัฐบาลบังกลาเทศรับชาวโรฮิงญาลี้ภัยในประเทศ เพราะชาวโรฮิงญาส่วนใหญ่ที่ล่องเรือมาขอความช่วยเหลือเป็นเด็ก ผู้หญิง และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ
ทั้งนี้ บังกลาเทศมีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาอยู่ในค่ายลี้ภัย กว่า 300,000 คน และยกเลิกสถานะผู้ลี้ยภัย ตั้งแต่ปี 2535