บิลค่าไฟฟ้าแต่ละเดือน นอกจากจะมีค่าใช้ไฟฟ้าแล้วยังมีค่าบริการ ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. และการไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน. เรียกเก็บ เดือนละประมาณ 38 บาท ประชาชนบางส่วน โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มักจ่ายค่าบริการที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส ซึ่งต้องเสียค่าบริการ 7 - 15 บาท รวมแล้วประชาชนจะมีภาระจ่ายค่าบริการเพิ่มกว่า 50 บาท
ประชาชนบางส่วนจึงร้องเรียนให้ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ เรกกูเรเตอร์ แก้ปัญหาการจัดเก็บซ้ำซ้อน เบื้องต้น มีแนวคิดให้การไฟฟ้าฯ ทั้ง 2 แห่งออกค่าบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส แทน
ขณะที่ นายอาทร สินสวัสดิ์ ผู้ว่าการ กฟน.ระบุว่า ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากค่าบริการดังกล่าว เป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าจ้างบริษัทรับเหมาช่วงดูแลการออกบิล ค่าจดหน่วยไฟฟ้า ค่าจัดทำระบบและใบแจ้งหนี้ อาจต้องรับภาระแทน อาจต้องเรียกเก็บค่าไฟในกลุ่มอื่นแทน เช่น กลุ่มอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจ พร้อมยืนยันว่า ประชาชนมีเวลาจ่ายค่าไฟฟ้ายังจุดบริการของการไฟฟ้าฯ เนื่องจากมีช่วงห่างของการส่งใบแจ้งหนี้ และกำหนดชำระ ไม่จำเป็นต้องจ่ายที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส
ผู้ว่าการ กฟน.ระบุว่า ปัจจุบันมีผู้ชำระผ่านบัญชีธนาคาร ร้อยละ 30 ของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ในส่วนนี้ กฟน.จ่ายค่าบริการแทนผู้ใช้ไฟฟ้า บิลละ 5 บาท ที่เหลือร้อยละ 25 จ่ายผ่านสำนักงานเขตของการไฟฟ้าฯ และร้อยละ 10 จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส
ปัจจุบันมีผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ ประมาณ 17 ล้านครัวเรือน อยู่ในส่วนการดูแลรับผิดชอบของ กฟน.ทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 4 ล้านครัวเรือน ส่วนใหญ่จ่ายค่าไฟผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส และอีก 13 ล้านครัวเรือน อยู่ในความรับผิดชอบของ กฟภ.ส่วนใหญ่ส่งพนักงานเก็บค่าไฟฟ้าตามบ้าน
ประชาชนบางส่วนจึงร้องเรียนให้ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ เรกกูเรเตอร์ แก้ปัญหาการจัดเก็บซ้ำซ้อน เบื้องต้น มีแนวคิดให้การไฟฟ้าฯ ทั้ง 2 แห่งออกค่าบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส แทน
ขณะที่ นายอาทร สินสวัสดิ์ ผู้ว่าการ กฟน.ระบุว่า ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากค่าบริการดังกล่าว เป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าจ้างบริษัทรับเหมาช่วงดูแลการออกบิล ค่าจดหน่วยไฟฟ้า ค่าจัดทำระบบและใบแจ้งหนี้ อาจต้องรับภาระแทน อาจต้องเรียกเก็บค่าไฟในกลุ่มอื่นแทน เช่น กลุ่มอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจ พร้อมยืนยันว่า ประชาชนมีเวลาจ่ายค่าไฟฟ้ายังจุดบริการของการไฟฟ้าฯ เนื่องจากมีช่วงห่างของการส่งใบแจ้งหนี้ และกำหนดชำระ ไม่จำเป็นต้องจ่ายที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส
ผู้ว่าการ กฟน.ระบุว่า ปัจจุบันมีผู้ชำระผ่านบัญชีธนาคาร ร้อยละ 30 ของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ในส่วนนี้ กฟน.จ่ายค่าบริการแทนผู้ใช้ไฟฟ้า บิลละ 5 บาท ที่เหลือร้อยละ 25 จ่ายผ่านสำนักงานเขตของการไฟฟ้าฯ และร้อยละ 10 จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส
ปัจจุบันมีผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ ประมาณ 17 ล้านครัวเรือน อยู่ในส่วนการดูแลรับผิดชอบของ กฟน.ทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 4 ล้านครัวเรือน ส่วนใหญ่จ่ายค่าไฟผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส และอีก 13 ล้านครัวเรือน อยู่ในความรับผิดชอบของ กฟภ.ส่วนใหญ่ส่งพนักงานเก็บค่าไฟฟ้าตามบ้าน