นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. ชี้แจงความพร้อมในการเป็นหน่วยงานเบิกจ่ายกลาง เพื่อรองรับระบบการให้บริการเจ็บป่วยฉุกเฉินสำหรับประชาชนทุกคน โดยไม่ต้องสอบถามสิทธิ และไม่ต้องสำรองจ่าย ตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งเริ่มให้บริการ วันที่ 1 เมษายนนี้ ล่าสุด สปสช.กำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลเกือบ 200 รายการ ให้เป็นราคากลางในการเบิกจ่ายค่าบริการให้กับสถานพยาบาล สามารถส่งใบแจ้งหนี้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายมาที่ สปสช.ได้ทุก 15 วัน สปสช.พร้อมจ่ายเงินคืนให้สถานพยาบาล ภายใน 15 วัน
พร้อมกันนี้ จะมีการประชุมร่วมกับสถานพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชน อีกครั้งวันพรุ่งนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการให้บริการตรงกัน และป้องกันเรียกเก็บค่าบริการเพิ่มเติมจากผู้ป่วย
ขณะที่ นิยามของคำว่า เจ็บป่วยฉุกเฉิน ซึ่งแพทย์และผู้ป่วย มักเข้าใจไม่ตรงกัน ให้สถานพยาบาลยึดตามความหมาย ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน แบ่งเป็น ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต หมายถึงบุคคลที่มีอาการป่วยหรือบาดเจ็บกะทันหัน หากไม่ได้รับการรักษาทันทีมีโอกาสเสียชีวิตสูง หรือมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น ภาวะหัวใจหยุดเต้น หายใจไม่ออก หอบรุนแรง ภาวะช็อก ชักตลอดเวลา และเลือดออกมาก ส่วนผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน คือ บุคคลที่มีอาการป่วย หรือบาดเจ็บเฉียบพลัน หากไม่ได้รับการรักษาโดยเร็วจะเกิดภาวะแทรกซ้อนจนพิการหรือเสียชีวิต เช่น ไม่รู้สึกตัว ชัก เป็นอัมพาต หรือตาบอด หูหนวกทันที และเจ็บปวดมาก ทุรนทุราย
พร้อมกันนี้ จะมีการประชุมร่วมกับสถานพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชน อีกครั้งวันพรุ่งนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการให้บริการตรงกัน และป้องกันเรียกเก็บค่าบริการเพิ่มเติมจากผู้ป่วย
ขณะที่ นิยามของคำว่า เจ็บป่วยฉุกเฉิน ซึ่งแพทย์และผู้ป่วย มักเข้าใจไม่ตรงกัน ให้สถานพยาบาลยึดตามความหมาย ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน แบ่งเป็น ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต หมายถึงบุคคลที่มีอาการป่วยหรือบาดเจ็บกะทันหัน หากไม่ได้รับการรักษาทันทีมีโอกาสเสียชีวิตสูง หรือมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น ภาวะหัวใจหยุดเต้น หายใจไม่ออก หอบรุนแรง ภาวะช็อก ชักตลอดเวลา และเลือดออกมาก ส่วนผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน คือ บุคคลที่มีอาการป่วย หรือบาดเจ็บเฉียบพลัน หากไม่ได้รับการรักษาโดยเร็วจะเกิดภาวะแทรกซ้อนจนพิการหรือเสียชีวิต เช่น ไม่รู้สึกตัว ชัก เป็นอัมพาต หรือตาบอด หูหนวกทันที และเจ็บปวดมาก ทุรนทุราย