นายกสมาคม รพ.เอกชน แนะ สพฉ.ต้องมีส่วนร่วมรับ-ส่ง ผู้ป่วยทั่วประเทศ ในกรณีรัฐบาลประกาศให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินเข้ารักษาในทุก รพ.
นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าวถึงกรณีที่ นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีนโยบายจะให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินทุกสิทธิการรักษา สามารถเข้ารับการรักษาได้ในทุกโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไข ว่า ตามกฎหมายแล้ว มาตรา 36 พ.ร.บ.สถานพยาบาล ระบุชัดเจนแล้วว่า กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ก็ให้โรงพยาบาลรับดูแลรักษาอยู่แล้ว ซึ่งในกรอบความคิดก็เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าว เนื่องเป็นหน้าที่ที่บุคลากรในสถานพยาบาลพึงมี ซึ่งตนเห็นด้วยในกรอบแนวคิด คือ เรื่องของการกำหนดนิยามของผู้ป่วยฉุกเฉินที่จะต้องให้บริการที่ชัดเจน ซึ่งขณะนี้ สธ.ระบุว่า ผู้ป่วยฉุกเฉินที่อยู่ต้องช่วยเหลือตามข้อกำหนดในนโยบายดังกล่าว ได้แก่ ผู้ป่วย สีแดง หมายถึงอาการหนัก ต้องช่วยเหลือทันที และ สีเหลือง อาการปานกลาง รอได้ในระยะเวลาหนึ่ง แน่นอนว่า ทางการแพทย์รับทราบดีว่า สถานการณ์ใดต้องให้ความช่วยเหลือ แต่สิ่งที่ สถานบริการสาธารณสุข เอกชน กังวล ก็คือ หากทาง รพ.เอกชน ซึ่งไม่ได้อยู่ในเครือข่ายบริการสิทธิใด สิทธิหนึ่งให้บริการรักษาจนรอดและพ้นวิกฤตแล้ว จะให้ส่งผู้ป่วยกลับไปสู่ รพ.ต้นสังกัดตามสิทธิได้เมื่อใด ซึ่งส่วนนี้ยังคลุมเครือ เนื่องจากโดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ที่ รพ.ต้นสังกัดจะรับกลับไป
นพ.เฉลิม กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ ในเรื่องการส่งต่อผู้ป่วยนั้น สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ควรที่จะเข้ามาบริการอย่างเต็มรูปแบบทั่วประเทศ เพื่อรับส่งผู้ป่วยแก่ รพ.ที่ใกล้ที่สุด เพื่อจะได้ลดภาระงานของ รพ.อื่นๆ ด้วย ไม่ใช่ต้องใช้รถพยาบาลจาก รพ.ทุกครั้ง จึงอยากให้ สธ.เร่งทำความเข้าใจเรื่องดังกล่าวโดยเร็ว ก่อนที่จะประกาศใช้ระบบดูแลผู้ป่วยร่วมกันในวันที่ 1 เม.ย.นี้
นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าวถึงกรณีที่ นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีนโยบายจะให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินทุกสิทธิการรักษา สามารถเข้ารับการรักษาได้ในทุกโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไข ว่า ตามกฎหมายแล้ว มาตรา 36 พ.ร.บ.สถานพยาบาล ระบุชัดเจนแล้วว่า กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ก็ให้โรงพยาบาลรับดูแลรักษาอยู่แล้ว ซึ่งในกรอบความคิดก็เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าว เนื่องเป็นหน้าที่ที่บุคลากรในสถานพยาบาลพึงมี ซึ่งตนเห็นด้วยในกรอบแนวคิด คือ เรื่องของการกำหนดนิยามของผู้ป่วยฉุกเฉินที่จะต้องให้บริการที่ชัดเจน ซึ่งขณะนี้ สธ.ระบุว่า ผู้ป่วยฉุกเฉินที่อยู่ต้องช่วยเหลือตามข้อกำหนดในนโยบายดังกล่าว ได้แก่ ผู้ป่วย สีแดง หมายถึงอาการหนัก ต้องช่วยเหลือทันที และ สีเหลือง อาการปานกลาง รอได้ในระยะเวลาหนึ่ง แน่นอนว่า ทางการแพทย์รับทราบดีว่า สถานการณ์ใดต้องให้ความช่วยเหลือ แต่สิ่งที่ สถานบริการสาธารณสุข เอกชน กังวล ก็คือ หากทาง รพ.เอกชน ซึ่งไม่ได้อยู่ในเครือข่ายบริการสิทธิใด สิทธิหนึ่งให้บริการรักษาจนรอดและพ้นวิกฤตแล้ว จะให้ส่งผู้ป่วยกลับไปสู่ รพ.ต้นสังกัดตามสิทธิได้เมื่อใด ซึ่งส่วนนี้ยังคลุมเครือ เนื่องจากโดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ที่ รพ.ต้นสังกัดจะรับกลับไป
นพ.เฉลิม กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ ในเรื่องการส่งต่อผู้ป่วยนั้น สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ควรที่จะเข้ามาบริการอย่างเต็มรูปแบบทั่วประเทศ เพื่อรับส่งผู้ป่วยแก่ รพ.ที่ใกล้ที่สุด เพื่อจะได้ลดภาระงานของ รพ.อื่นๆ ด้วย ไม่ใช่ต้องใช้รถพยาบาลจาก รพ.ทุกครั้ง จึงอยากให้ สธ.เร่งทำความเข้าใจเรื่องดังกล่าวโดยเร็ว ก่อนที่จะประกาศใช้ระบบดูแลผู้ป่วยร่วมกันในวันที่ 1 เม.ย.นี้