เจ้าหน้าที่นำรถแบ็กโฮ และรถแทรกเตอร์ เข้ารื้อถอนบ้านพักที่บ้านทะเลหมอกรีสอร์ต ของห้างหุ้นส่วนจำกัดบ้านทะเลหมอกรีสอร์ต พื้นที่ 65 ไร่ ใน อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา หลังเจรจาให้ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งที่นำรถยนต์ และเผายางรถยนต์ขวางทางเข้ายอมเปิดเส้นทาง นอกจากจุดนี้เจ้าหน้าที่ยังแบ่งกำลัง 96 ชุด รวม 4,000 นาย เข้ารื้อถอนบ้านพักอากาศที่บุกรุกอุทยานแห่งชาติทับลาน พร้อมกันอีก 8 จุด เป็นบ้านพัก และบ้านพักตากอากาศใน อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี และใน อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา อีก 1 จุด
สำหรับบ้านทะเลหมอกรีสอร์ตนั้น เป็นของ นายสมชาย วิชชาบุญศิริ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนร้องต่อศาลปกครอง ซึ่งศาลได้นัดไต่สวนในวันที่ 14 สิงหาคม ซึ่งนายสมชาย กล่าวว่า จะฟ้องร้องเรียกร้องความเสียหายทางแพ่ง รวมทั้งคดีอาญาในข้อหาละเมิด ส่วนมูลค่าความเสียหายนั้นประมาณ 307 ล้านบาท และหากรวมสัญญาเช่า 30 ปี เสียหายรวม 500 ล้านบาท
ด้าน นายดำรง พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปิดเผยว่า เหตุที่ต้องเข้ารื้อถอนรีสอร์ตในเวลากลางคืน เนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดการเผชิญหน้า ซึ่งทั้งหมดบุกรุกอุทยานแห่งชาติทับลาน และคดีถึงที่สุดแล้ว ตามมาตรา 22 พ.ร.บ.อุทยาน ส่วนทะเลหมอกรีสอร์ตที่เจ้าของจะฟ้องร้องให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากศาลชั้นต้นตัดสินจำคุกในรอลงอาญา และให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างมานานแล้ว และทางอุทยานฯ ได้ประกาศให้รื้อถอนหลายครั้งแต่ไม่เป็นผล ซึ่งหลังจากนี้จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง
นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่อีก 4,000 ไร่ ที่มีคดีที่จับแล้ว 418 คดี พื้นที่ 8,000 ไร่ ซึ่งเป็นป่าอุดมสมบูรณ์ ส่วนพื้นที่ที่ชาวบ้านทำกินประมาณ 36,000 ไร่ หากสามารถพิสูจน์สิทธิ์ได้สามารถทำกินได้ต่อไป
สำหรับบ้านทะเลหมอกรีสอร์ตนั้น เป็นของ นายสมชาย วิชชาบุญศิริ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนร้องต่อศาลปกครอง ซึ่งศาลได้นัดไต่สวนในวันที่ 14 สิงหาคม ซึ่งนายสมชาย กล่าวว่า จะฟ้องร้องเรียกร้องความเสียหายทางแพ่ง รวมทั้งคดีอาญาในข้อหาละเมิด ส่วนมูลค่าความเสียหายนั้นประมาณ 307 ล้านบาท และหากรวมสัญญาเช่า 30 ปี เสียหายรวม 500 ล้านบาท
ด้าน นายดำรง พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปิดเผยว่า เหตุที่ต้องเข้ารื้อถอนรีสอร์ตในเวลากลางคืน เนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดการเผชิญหน้า ซึ่งทั้งหมดบุกรุกอุทยานแห่งชาติทับลาน และคดีถึงที่สุดแล้ว ตามมาตรา 22 พ.ร.บ.อุทยาน ส่วนทะเลหมอกรีสอร์ตที่เจ้าของจะฟ้องร้องให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากศาลชั้นต้นตัดสินจำคุกในรอลงอาญา และให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างมานานแล้ว และทางอุทยานฯ ได้ประกาศให้รื้อถอนหลายครั้งแต่ไม่เป็นผล ซึ่งหลังจากนี้จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง
นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่อีก 4,000 ไร่ ที่มีคดีที่จับแล้ว 418 คดี พื้นที่ 8,000 ไร่ ซึ่งเป็นป่าอุดมสมบูรณ์ ส่วนพื้นที่ที่ชาวบ้านทำกินประมาณ 36,000 ไร่ หากสามารถพิสูจน์สิทธิ์ได้สามารถทำกินได้ต่อไป