นายธรรมรัตน์ หวั่งหลี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากข้อมูลการค้าผลไม้ไทยมายังประเทศจีน ผ่านเส้นทางอาร์ 3 ที่ได้มีการลงนามพิธีสาร เรื่องข้อกำหนดในการตรวจสอบและกักกันโรค สำหรับการส่งออก-นำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่ 3 ระหว่างประเทศไทยและจีน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงควบคุมคุณภาพและตรวจสอบ กักกันโรค สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อเดือนเมษายน 2554 พบว่า ขณะนี้มีปริมาณนำเข้า และมูลค่าการค้าผลไม้ไทยในจีน ผ่านเส้นทางอาร์ 3 เชื่อมระหว่าง จ.เชียงราย ประเทศไทย ห้วยทราย - บ่อเต็น ประเทศลาว เข้าสู่โมฮาน มณฑลยูนนาน ประเทศจีน เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า เนื่องจากระยะทางในการขนส่งสั้น ใช้เวลาเพียง 2-3 วัน ทำให้ผลไม้มีความสด และสามารถกระจายผลไม้ไปยังตลาดอื่นๆ ได้โดยตรง
ปริมาณการส่งออกผลไม้ไทย ในปี 2554 จำนวน 51,895 ตัน มูลค่า 722,460,000 บาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2553 ที่ส่งออกเพียง 8,150 ตัน คิดเป็นมูลค่า 90,890,000 บาท
โดยผลไม้หลักของไทยที่มีการนำเข้าตามเส้นทางสายอาร์ 3 ได้แก่ มังคุด กล้วย ทุเรียน ส้มโอ ลำไย สับปะรด เงาะ ขนุน จากจำนวนทั้งหมดที่จีนอนุญาตให้ไทยส่งออกทั้งสิ้น 23 ชนิด ขณะนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เปิดเว็บไซต์ผลไม้ไทย www.thaifruit-online.com ช่วยผู้ค้า และผู้บริโภคผลไม้ไทยในมณฑลยูนนาน สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลในเว็บไซต์ และเพื่อให้ผู้บริโภคชาวจีนในภูมิภาคอื่นๆ มีโอกาสบริโภคผลไม้ไทยเพิ่มขึ้น
นายธรรมรัตน์ ยังกล่าวอีกว่า จากการหารือร่วมกับ นายวิชิต ชิตวิมาน กงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิง ทราบว่าจะมีการร่วมทุนกันระหว่างเอกชนไทย-จีน ในการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าเกษตรของไทยในนครคุนหมิง ซึ่งเป็น 1 ใน 5 แห่ง ของศูนย์กระจายสินค้ามณฑลยูนนาน ในเขตเศรษฐกิจใหม่ กำหนดสร้างเสร็จภายใน 5 ปี เป็นโอกาสสำคัญของสินค้าเกษตรไทยที่จะส่งออกไปยังประเทศจีนได้เพิ่มมากขึ้น
ปริมาณการส่งออกผลไม้ไทย ในปี 2554 จำนวน 51,895 ตัน มูลค่า 722,460,000 บาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2553 ที่ส่งออกเพียง 8,150 ตัน คิดเป็นมูลค่า 90,890,000 บาท
โดยผลไม้หลักของไทยที่มีการนำเข้าตามเส้นทางสายอาร์ 3 ได้แก่ มังคุด กล้วย ทุเรียน ส้มโอ ลำไย สับปะรด เงาะ ขนุน จากจำนวนทั้งหมดที่จีนอนุญาตให้ไทยส่งออกทั้งสิ้น 23 ชนิด ขณะนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เปิดเว็บไซต์ผลไม้ไทย www.thaifruit-online.com ช่วยผู้ค้า และผู้บริโภคผลไม้ไทยในมณฑลยูนนาน สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลในเว็บไซต์ และเพื่อให้ผู้บริโภคชาวจีนในภูมิภาคอื่นๆ มีโอกาสบริโภคผลไม้ไทยเพิ่มขึ้น
นายธรรมรัตน์ ยังกล่าวอีกว่า จากการหารือร่วมกับ นายวิชิต ชิตวิมาน กงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิง ทราบว่าจะมีการร่วมทุนกันระหว่างเอกชนไทย-จีน ในการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าเกษตรของไทยในนครคุนหมิง ซึ่งเป็น 1 ใน 5 แห่ง ของศูนย์กระจายสินค้ามณฑลยูนนาน ในเขตเศรษฐกิจใหม่ กำหนดสร้างเสร็จภายใน 5 ปี เป็นโอกาสสำคัญของสินค้าเกษตรไทยที่จะส่งออกไปยังประเทศจีนได้เพิ่มมากขึ้น