นางสดศรี สัตยธรรม คณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดเผยว่า หากรัฐบาลตัดสินใจที่จะทำประชามติเกี่ยวกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ค้างการลงมติในวาระ 3 นี้ จะต้องตรา พ.ร.ฎ.ในการทำประชามติตามกฎหมาย ซึ่งต้องใช้เวลา 90-120 วัน ก่อนการลงประชามติ เพื่อให้แต่ละฝ่ายนั้นได้แสดงความคิดเห็น และทาง กกต.จะจัดพิมพ์บัตรลงคะแนนด้วย ส่วนเรื่องของจำนวนเสียงที่มีความเข้าใจผิดกันนั้น ตามมาตรา 9 ของ พ.รบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ได้มีการกำหนดให้ผู้ที่ออกไปใช้สิทธิ์ต้องมีเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ โดยผลตัดสินนั้นจะไปอยู่ที่คะแนนของผู้ใช้สิทธิ์ ดังนั้นหากมีผู้มีสิทธิ์ 45 ล้านคน จะต้องมีผู้ไปใช้สิทธิ์เกินกว่า 22.5 ล้านคน โดยเสียงที่ขาดนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 11.25 ล้านเสียงเป็นต้น ซึ่งหากรัฐบาลมั่นใจว่า มีเสียงในมือน่าจะเดินหน้าทำประชามติ
อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้จะต้องใช้งบประมาณกว่า 5,000 ล้านบาท เพราะว่าจะต้องจัดทำประชามติ 2 ครั้ง ครั้งแรกนั้นเพื่อสอบถามว่า จะแก้ไขหรือไม่ และครั้งที่สอง เพื่อสอบถามหลังได้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วว่า จะรับร่างหรือไม่ แต่หากอีกกรณีหนึ่ง หากรัฐบาลเลือกที่จะเดินหน้าลงมติวาระ 3 เชื่อว่า รัฐบาลอาจจะประสบปัญหาเรื่ององค์ประชุม เพราะว่าทาง ส.ส.และ ส.ว.416 คน ที่ถูกร้องในคดีแก้รัฐธรรมนูญ อาจจะไม่มั่นใจ และอาจจะทำให้ร่างนี้ตกไป และต้องเสียเวลาในการเริ่มต้นใหม่
อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้จะต้องใช้งบประมาณกว่า 5,000 ล้านบาท เพราะว่าจะต้องจัดทำประชามติ 2 ครั้ง ครั้งแรกนั้นเพื่อสอบถามว่า จะแก้ไขหรือไม่ และครั้งที่สอง เพื่อสอบถามหลังได้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วว่า จะรับร่างหรือไม่ แต่หากอีกกรณีหนึ่ง หากรัฐบาลเลือกที่จะเดินหน้าลงมติวาระ 3 เชื่อว่า รัฐบาลอาจจะประสบปัญหาเรื่ององค์ประชุม เพราะว่าทาง ส.ส.และ ส.ว.416 คน ที่ถูกร้องในคดีแก้รัฐธรรมนูญ อาจจะไม่มั่นใจ และอาจจะทำให้ร่างนี้ตกไป และต้องเสียเวลาในการเริ่มต้นใหม่