รศ.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา กล่าวถึงประเด็นปัญหาในประเทศพม่าในวงเสวนาประชาคมอาเซียน 2015: ภาพมายาคติกับความเป็นจริง ในหัวข้อ "ประชาคมอาเซียน 2015 กับปัญหาภายในของประเทศสมาชิก" ว่าในปัจจุบันพม่ามีการเปลี่ยนแปลง ด้านความมั่นคงทางการทหาร หลังปี 1988 เมื่อ พล.อ.เต็ง เส่ง ขึ้นเป็นผู้นำ มีการเปลี่ยนแปลงโดยการเพิ่มความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้มีความมสำคัญไม่น้อยไปกว่าความมั่นคงทางทหารและการเมือง และหากมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจเช่นนี้ต่อไป ความมั่นคงทางเศรษฐกิจจะกลายเป็นปัจจัยความมั่นคงอันดับต้นๆ ของประเทศ เช่นเมื่อไม่นานมานี้ พม่าได้ทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ โดยหันไปพึ่งประเทศมหาอำนาจทางตะวันตกมากขึ้น หลังถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจจากประเทศแถบยุโรป ซึ่งเรียกร้องให้พม่าเร่งพัฒนาประชาธิปไตย
อีกประการหนึ่งคือ การพัฒนานโยบายต่างประเทศ สืบเนื่องจากพม่าต้องการลดการคว่ำบาตร ในปี 2010 มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในพม่า ประกอบกับรัฐบาลใช้นโยบายปรับสมดุล ดึงมหาอำนาจตะวันตกอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งต้องการกลับเข้ามามีส่วนร่วมในภูมิภาคเอเชียอยู่แล้ว ขึ้นมาคานอำนาจกับจีน ทำให้ฐานสังคมการเกษตรเดิม ต้องเปลี่ยนเป็นสังคมเกษตรอุตสาหกรรม
ขณะที่ด้านที่มาของอำนาจรัฐของพม่า มีการเปลี่ยนแปลงไป แม้กลุ่มผู้นำจะยังคงเป็นกลุ่มทหารเสียส่วนมาก แต่เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด กลุ่มพรรคเอ็นแอลพีของอองซาน ซูจีบางส่วน ได้รับชัยชนะ นับว่าเป็นการเปิดพื้นที่ ปลดปล่อยนักการเมืองให้เป็นอิสระ และเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้ทั่วโลกเกิดกระแสตื่นพม่า
อย่างไรก็ตาม ปัญหาด้านโครงสร้างในพม่ายังคงมีอยู่ ได้แก่ ปัญหาความเป็นเอกภาพในการเมือง ซึ่งยังคงตกอยู่ในมือของทหาร ปัญหาความเหลือมล้ำในกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งพม่ามีความแตกต่างของชาติพันธุ์มาก มีการปะทะ และมีการหยุดยิงหลายครั้ง ซึ่งการหยุดยิงยังต้องการการทำข้อตกลงเพื่อกำหนดทิศทางความสงบ และผลประโยชน์ร่วมกันในอนาคต
ทั้งนี้ พม่ายังคงต้องปรับปรุงโครงสร้างของประเทศสู่มาตรฐานสากลอีกหลายด้าน เช่น ด้านสาธารณสุข การสื่อสาร การคมนาคม การยกระดับทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมหาวิทยาลัยของพม่าได้ถูกปิดไปนานแล้ว และต้องระวังเรื่องการเปิดประเทศอย่างรวดเร็ว เพราะอาจนำมาซึ่งภาวะเงินเฟ้อเหมือนที่เคยเกิดกับเวียดนาม
อีกประการหนึ่งคือ การพัฒนานโยบายต่างประเทศ สืบเนื่องจากพม่าต้องการลดการคว่ำบาตร ในปี 2010 มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในพม่า ประกอบกับรัฐบาลใช้นโยบายปรับสมดุล ดึงมหาอำนาจตะวันตกอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งต้องการกลับเข้ามามีส่วนร่วมในภูมิภาคเอเชียอยู่แล้ว ขึ้นมาคานอำนาจกับจีน ทำให้ฐานสังคมการเกษตรเดิม ต้องเปลี่ยนเป็นสังคมเกษตรอุตสาหกรรม
ขณะที่ด้านที่มาของอำนาจรัฐของพม่า มีการเปลี่ยนแปลงไป แม้กลุ่มผู้นำจะยังคงเป็นกลุ่มทหารเสียส่วนมาก แต่เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด กลุ่มพรรคเอ็นแอลพีของอองซาน ซูจีบางส่วน ได้รับชัยชนะ นับว่าเป็นการเปิดพื้นที่ ปลดปล่อยนักการเมืองให้เป็นอิสระ และเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้ทั่วโลกเกิดกระแสตื่นพม่า
อย่างไรก็ตาม ปัญหาด้านโครงสร้างในพม่ายังคงมีอยู่ ได้แก่ ปัญหาความเป็นเอกภาพในการเมือง ซึ่งยังคงตกอยู่ในมือของทหาร ปัญหาความเหลือมล้ำในกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งพม่ามีความแตกต่างของชาติพันธุ์มาก มีการปะทะ และมีการหยุดยิงหลายครั้ง ซึ่งการหยุดยิงยังต้องการการทำข้อตกลงเพื่อกำหนดทิศทางความสงบ และผลประโยชน์ร่วมกันในอนาคต
ทั้งนี้ พม่ายังคงต้องปรับปรุงโครงสร้างของประเทศสู่มาตรฐานสากลอีกหลายด้าน เช่น ด้านสาธารณสุข การสื่อสาร การคมนาคม การยกระดับทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมหาวิทยาลัยของพม่าได้ถูกปิดไปนานแล้ว และต้องระวังเรื่องการเปิดประเทศอย่างรวดเร็ว เพราะอาจนำมาซึ่งภาวะเงินเฟ้อเหมือนที่เคยเกิดกับเวียดนาม